นักพากย์หนัง, ซีรีย์, การ์ตูน

BRAND'S BRAIN CAMP

นักพากย์หนัง, ซีรีย์, การ์ตูน

ความหมายในระดับสากลปัจจุบันนี้ หมายถึง นักแสดงที่แสดงด้วยเสียง (Voice Actor) แทนการแสดงด้วยร่างกาย หรือการใช้เสียงแสดงให้เหมือนต้นฉบับ (Dubbing Artist) ทั้งน้ำหนัก จังหวะ ลีลา ทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ

Recording_pana_edfdbf63a6
  • เข้าใจคาแรกเตอร์ของตัวละครที่พากย์ เพื่อแสดงวิธีการพูดให้ตรงกับนิสัย ลักษณะการพูด และการแสดงของตัวละครนั้น หากเป็นงานพากย์ต่อเนื่องที่ไม่จบในวันเดียว ต้องสามารถจดจำคาแรกเตอร์นั้นๆ ได้ และกลับมาแสดงเสียงของตัวละครนั้น ๆ ได้เหมือนเดิม
  • แสดงด้วยน้ำเสียง อารมณ์ จังหวะ วิธีการพูด เพื่อถ่ายทอดเสียงของตัวละครให้ตรงกับการแสดงของตัวละคร
  • ติดต่อนัดหมาย
  • อ่านสคริปท์ อาจมีการอธิบายเรื่องราวก่อนหน้านี้เพื่อให้นักพากย์ทราบพื้นหลังตัวละครด้วย
  • พากย์เสียงให้ตรงกับการแสดง โดยแบ่งการพากย์เป็น 2 แบบ
    • พากย์รวม หรือพากย์ทีม คือ การพากย์ที่ผู้พากย์ตัวละครทุกตัวมาพากย์พร้อมกัน
    • พากย์เจาะ คือ การพากย์ที่ผู้พากย์ตัวละครแต่ละตัวมาพากย์เพียงลำพัง โดยพากย์เฉพาะส่วนที่ตัวละครของตนพูดเท่านั้น
  • ตรวจสอบคุณภาพเสียงและการแสดง
  1. วิศวกรเสียง (Sound Engineer) ผู้บันทึกเสียงพากย์
  2. ผู้กำกับเสียง ผู้อธิบายการแสดงของตัวละคร และกำกับการแสดงเสียง
  3. นักพากย์คนอื่น ๆ

ปัจจุบันแทบไม่มีตำแหน่งนักพากย์ที่เป็นงานประจำ การทำงานของนักพากย์จึงเหมือนการทำงานอิสระ (ฟรีแลนซ์) ที่ขึ้นอยู่กับงานที่รับมา

  • เวลาในการทำงานขึ้นอยู่กับเวลานัดของผู้จ้างงานและห้องบันทึกเสียง รวมถึงคิวการทำงานที่ว่างตรงกันของวิศวกรเสียง และนักพากย์คนอื่น ๆ ที่ต้องพากย์ร่วมกัน
  • ส่วนใหญ่เริ่มต้นการทำงานเวลา 10:00 น. 
  • จำนวนชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับจำนวนงานที่นัดหมายในวันนั้น ๆ บางงานอาจต้องใช้เวลาพากย์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง 
  • อาจสามารถกำหนดเวลารับงานของตนเองได้ เช่น รับงานเฉพาะวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ หรือรับงานเฉพาะช่วงเช้าหรือเย็น ทั้งนี้เวลาที่กำหนดไว้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับเวลาของผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ รวมถึงเวลาว่างของสถานที่บันทึกเสียงด้วย
  • สถานที่ทำงานคือห้องอัดเสียง สตูดิโออัดเสียงต่าง ๆ
  1. อ่านหนังสือได้แตกฉาน อ่านหนังสือคล่อง
  2. พูดแล้วเสียงปกติ ไม่มีข้อจำกัดในการออกเสียง พูดได้ชัดถ้อยชัดคำ 
  3. มีปฏิภาณไหวพริบ
  4. มีความชอบ หลงใหลในการพากย์เสียง กล้าแสดงออก
  5. มีความความอดทน อดกลั้น มีจิตใจที่เข้มแข็งในการผ่านอุปสรรคต่าง ๆ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องฝึกฝนทักษะและสั่งสมประสบการณ์ รวมถึงต้องมีโอกาสที่ดีในการได้รับงาน
  6. มีวินัย ตรงต่อเวลา
  7. มีทักษะการแสดงด้วยเสียง
  8. หากชอบดูภาพยนตร์ หรือมีความรื่นรมย์ในการเสพงานศิลปะ อาจทำให้ทำงานพากย์ได้ดี
  9. สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เพราะการพากย์ต้องใช้อารมณ์ในการแสดง หากมีเรื่องไม่สบายใจหรือเป็นกังวลที่ควบคุมไม่ได้ จะสามารถสัมผัสได้จากเสียงที่พากย์ออกมา ทำให้การแสดงไม่ดี มีอารมณ์อื่น ๆ ปนอยู่
  • เป็นอาชีพที่เปิดรับผู้คนหลากหลาย ทุกเพศ ทุกช่วงวัย ไม่จำกัดการศึกษา สถานภาพทางสังคม หรือสถานภาพทางเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หรือเรียนจบเฉพาะด้านเพื่อทำงานอาชีพนี้
  • เทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ทุกคนเข้าถึงการฝึกฝน ลงเสียงพากย์และส่งเป็นตัวอย่างเสียงให้กับสตูดิโอต่าง ๆ ได้ มีการแข่งขันสูง
  • เป็นอาชีพที่ไม่มีเส้นทางอาชีพที่จะเติบโตเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่เมื่อทำงานนานขึ้นจะมีความชำนาญ โอกาส รวมถึงรายได้ที่มากขึ้น 
  • รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนงานที่รับ และค่าตอบแทนต่อชิ้นที่ได้ตกลงไว้ อาจได้ค่าตอบแทนการพากย์ 1 ตอน ที่ราคา 1,200 บาท 
  • หากมีความชำนาญ จะสามารถพากย์ได้เสร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้รับงานต่อวันได้มากขึ้น
  • แต่เดิมค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับอายุการทำงานและความชำนาญ ปัจจุบันค่าตอบแทนมักเป็นอัตราเดียวกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อความที่ต้องพากย์
  • เนื่องจากไม่ใช่พนักงานประจำ จึงไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ หรือประกันสังคม
  • ไม่มีความแน่นอน หากเจ็บป่วยที่ทำให้ไม่มีเสียง เช่น มะเร็ง หวัด จะทำให้ไม่สามารถทำงานได้
  • เป็นอาชีพที่ต้องใช้ ตา หู และเสียง ซึ่งมีการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ หากมองไม่เห็นก็จะไม่สามารถอ่านบทได้ หูไม่ได้ยินก็ไม่สามารถฟังคิวหรือฟังคอมเมนท์ได้ คุณภาพเสียงอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัยหรือสุขภาพได้
  • ปัจจุบันมักกำหนดให้นักพากย์มีอายุใกล้เคียงกับตัวละครที่พากย์ เนื่องจากบริษัทต้นสังกัดของภาพยนตร์ต่างประเทศต้องการความสมจริง เช่น ตัวละครเด็กต้องใช้เสียงของเด็กจริง ๆ พากย์ ดังนั้นเมื่อนักพากย์อายุมากขึ้น งานจะถูกจำกัดให้มีน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเหลือตัวละครในวัยที่ตรงกับนักพากย์น้อยลง
  • แม้เป็นอาชีพที่มีรายได้มาก แต่ไม่สามารถทำงานได้ตลอดชีวิต ควรต้องวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และการเกษียณงานให้ดี
  • สามารถเป็นนักพากย์และประกอบอาชีพอื่นไปพร้อม ๆ กันได้ หรือสามารถต่อยอดอาชีพอื่น ๆ จากการเป็นนักพากย์ได้ เช่น เป็นผู้กำกับการแสดงเสียง เป็นผู้ผลิตเนื้อหาออนไลน์ (Youtuber หรือ Influencer) เป็นนักแสดง เปิดสตูดิโอบันทึกเสียง หรือทำงานต่าง ๆ ในสายบันเทิง
  • โควิด-19 ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป ทำให้การพากย์รวมหรือพากย์ทีม (นักพากย์หลาย ๆ คนมาพากย์พร้อมๆ กัน) น้อยลง เปลี่ยนเป็นการพากย์เดี่ยวหรือพากย์เจาะแทน (นักพากย์มาพากย์ทีละคน เฉพาะในส่วนที่ตัวละครที่ตนพากย์มีบทพูด)
  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไม่สามารถแสดงแทนมนุษย์ได้ เพราะการแสดงมีความซับซ้อน มีหลายรูปแบบ การแสดงออกถึงความเศร้ามีการแสดงออกจากอารมณ์ภายในที่ AI ไม่สามารถทำได้ แม้น้ำเสียงอาจทำให้ตรงกับวัยของตัวละครได้ แต่ไม่สามารถพูดหรือแสดงแบบคนวัยนั้นๆ ได้
  • งานส่วนมากบันทึกเสียงในกรุงเทพฯ มีการ Work from Home ช่วงโควิด-19 บ้าง แต่คุณภาพของเสียงจะไม่ดีเท่ากับการบันทึกเสียงในสตูดิโอ
  • ครูฝน ทีมพากย์

https://www.facebook.com/KruFonVoiceTrainer 

 

คอร์สฝึกการใช้เสียง

 

  • Cartoon Club Digital Academy

Facebook

https://www.facebook.com/CartoonClubChannel/

 

https://www.facebook.com/DubbingCorner

 

  • กลุ่ม Facebook ฝึกพากย์ต่าง ๆ

พิมพ์ “ฝึกพากย์”

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวณ
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปการแสดง วิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง 
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 
  • คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
  • สำนักสารสนเทศศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ดิจิทัล 

 

ปริญญาโท เช่น

จบ ป.ตรีสาขาทุกสาขา แต่ต้องศึกษาเกี่ยวกับทักษะภาษต่างประเทศ การใช้เสียงให้เหมาะสมกับตัวละคร ฝึกวิเคราะห์ตัวละคร ฝึกพากย์ตัวละครที่ถนัดหรือไม่ถนัดเพิ่มเติม

  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง
  • คณะวิทยาการจัดการ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
  • วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง
  • คณะวิทยาการจัดการ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 

*ข้อมูล ณ ปี 2567