สัตวแพทย์

BRAND'S BRAIN CAMP

สัตวแพทย์

ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องสุขภาพ การเจ็บป่วย และการขยายพันธุ์ ให้กับทั้งสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และสัตว์ป่า

Veterinary_pana_ad05bbeb11
  • ดูแล ตรวจโรคหรืออาการบาดเจ็บให้กับสัตว์
  • รักษาโรคหรืออาการบาดเจ็บให้กับสัตว์ ด้วยการใช้ยา หรือการทำหัตถการ
  • ทำงานร่วมกับเจ้าของสัตว์เพื่อให้สัตว์ได้รับการดูแลหรือการรักษาที่ดีที่สุด
  • ผ่าชันสูตรสาเหตุการตายของสัตว์
  • ขั้นตอนการรักษา มีดังนี้
    • เริ่มต้นด้วยการพูดคุยกับเจ้าของถึงลักษณะและพฤติกรรมของสัตว์ที่พามา อาหารที่สัตว์กินเป็นประจำ และถามถึงปัญหาหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
    • ตรวจร่างกายสัตว์ให้ครบทุกระบบ เช่น วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ทั้งพฤติกรรมและอาการของสัตว์
    • วินิจฉัยโรค โดยอาจใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ ถ่ายภาพรังสี ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือปัญหาของสัตว์
    • ทำการรักษา โดยกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมกับสัตว์ เช่น การให้ยา การผ่าตัด ดูแลสัตว์ระหว่างการรักษา คอยติดตามอาการ รวมถึงให้คำแนะนำกับเจ้าของเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ในระหว่างการพักฟื้น
    • ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความรู้เรื่องการป้องกันโรค การดูแลสุขภาพสัตว์ แก่เจ้าของในการเลี้ยงดูสัตว์อย่างถูกวิธี
  1. พยาบาลดูแลสัตว์ (Veterinary Nurse) ที่เป็นผู้ช่วยคอยจับสัตว์ เจาะ เสียบ ดูด ทำความสะอาดแผล รวมถึงช่วยดูแลสัตว์ที่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือคลินิกภายหลังทำการรักษาแล้ว
  2. เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาล ที่ทำหน้าที่ช่วยพยาบาลในการจับสัตว์ และหยิบอุปกรณ์
  3. เจ้าหน้าที่ธุรการ ที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลการรักษาของสัตว์แต่ละตัว รวมถึงทำหน้าที่ประสานงานต่าง ๆ
  4. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่มีความรู้ตรงกับอาการป่วยหรือวิธีการรักษาที่ใช้
  • ทำงานในคลินิกรักษาสัตว์หรือโรงพยาบาลสัตว์
  • ในกรณีที่ไม่สามารถนำสัตว์มาที่คลินิกหรือโรงพยาบาลได้ สัตวแพทย์ก็ต้องออกนอกสถานที่ไปทำการรักษา
  • สภาพการทำงานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สัตว์เลี้ยงน่ารัก สุขภาพดี มาฉีดวัคซีนตามกำหนด ไปจนถึงสัตว์ป่วยที่มีทั้งเลือด หนอง อาเจียน อุจจาระ ปัสสาวะ
  • ชั่วโมงการทำงานของสัตวแพทย์คล้ายกับแพทย์สาขาอื่น โดยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ 6 – 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการจัดสรรของแต่ละโรงพยาบาล 
  • การทำงานเกินเวลาเป็นเรื่องปกติของสัตวแพทย์
  1. องมีใบประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ จากการเรียนคณะสัตวแพทย์ที่สัตวแพทยสภารับรอง
  2. มีความใจเย็น รอบคอบ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่หลากหลายของเคสที่เข้ามา
  3. รักสัตว์ ไม่กลัวสัตว์ทุกประเภท
  4. มีความช่างสังเกต
  5. มีทักษะด้านการคิด วิเคราะห์
  6. มีทักษะด้านการสื่อสาร เพราะต้องสื่อสารกับคนที่เป็นเจ้าของสัตว์ด้วย
  • ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน อยู่ในช่วง 15,000 – 300,000 บาท ซึ่งแตกต่างกันไปตามโรงพยาบาลหรือคลินิกที่สังกัด ประสบการณ์ และระยะเวลาการเข้าเวร
  • เส้นทางการเติบโตของอาชีพ มีดังนี้
    • สัตวแพทย์แผนกอายุรกรรม
    • สัตวแพทย์แผนกเฉพาะทางตามความสนใจและความถนัด
    • อาจจะได้เลื่อนขั้นไปดูแลในส่วนของงานบริหาร เช่น หัวหน้าแผนก หรือผู้บริหาร
    • เลือกออกมาเปิดคลินิกของตัวเอง หรือทำงาน  part time ให้กับโรงพยาบาล
    • ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกเพื่อทำงานเป็นอาจารย์ในสถานศึกษา
  • เมื่อศึกษาจบสัตวแพทย์ศาสตร์หลักสูตร 6 ปี สามารถเลือกศึกษาต่อเฉพาะทางได้เช่นเดียวกับแพทย์สาขาอื่น
  • สัตวแพทย์ยังสามารถทำงานในบริษัทเอกชนที่ขายยารักษาและอุปกรณ์การแพทย์ โดยทำงานเป็นพนักงานขาย (sale) หรือเป็นที่ปรึกษาการขาย รวมถึงทำงานในบริษัทเอกชนที่เป็นห้องทดลองต่าง ๆ ก็ได้
  • ในหน่วยงานราชการบางหน่วยงานก็มีสัตวแพทย์ทำงานอยู่ภายในเหมือนกัน เช่น กรมปศุสัตว์ องค์การอาหารและยา (อย.) หน่วยสุนัขทหาร หน่วยสุนัขตำรวจ เป็นต้น
  • ความท้าทายของอาชีพนี้ คือ เรื่องการทำงานที่อาจกระทบเวลาส่วนตัวในชีวิตเหมือนกับแพทย์สาขาอื่น ๆ 
  1. ช่องยูทูปที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพสัตวแพทย์
  2. facebook page “ที่นี่ สัตวแพทยสภา”
  3. ยูทูปเปอร์ด้านสัตว์ เช่น ช่อง Thai Exotic Channel, รายการเพื่อนรักสัตว์เอ๊ย ในช่อง Saranair Channel เป็นต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะสัตวแพทยศาสตร์

ปริญญาโท เช่น

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์ 
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ 

ปริญญาเอก เช่น

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์ 
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต 
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์ 
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ 
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์ 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567