ที่ปรึกษาทางด้านภาษี

BRAND'S BRAIN CAMP

ที่ปรึกษาทางด้านภาษี

ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรกับผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือหน่วยงาน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเสียภาษีเท่าที่จำเป็นและถูกต้องตามกฎหมาย

Tax_pana_155923f834
  • รับโจทย์สถานการณ์หรือธุรกิจของผู้ใช้บริการ แล้วคิด วิเคราะห์ ประกอบกับข้อมูลภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดเป็นแผนหรือคำแนะนำ
  • รับเอกสารและพูดคุยข้อมูลของผู้ใช้บริการ เช่น หากเป็นบุคคลที่อยากตั้งบริษัท ที่ปรึกษาด้านภาษีจะต้องสอบถามจุดประสงค์ในการตั้งบริษัท และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์
  • ตรวจสอบว่ามีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ บ้าง สืบค้นข้อมูลการทำสัญญารูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและลักษณะของธุรกิจ
  • ทำแผนสำหรับแนะนำและให้คำปรึกษาผู้ใช้บริการ
  1. นักบัญชี
  2. นักลงทุน
  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์
  4. นักกฎหมาย
  • สถานที่ทำงานมักเป็นรูปแบบออฟฟิศ สังกัดหน่วยงานต่างๆ เช่น แผนกที่ดูเรื่องภาษีโดยเฉพาะ รวมกับแผนกที่ปรึกษาด้านภาษีของบริษัทที่ทำบัญชี หรืออาจรวมอยู่ในแผนกกฎหมาย รับปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษี เป็นต้น
  • เวลาทำงานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่อาจมีช่วงเวลางานที่เข้มข้นตามผู้ใช้บริการ เช่น ส่วนใหญ่มักจะมาใช้บริการขอคำปรึกษาในเวลาที่กระชั้นชิดมาก หรืออาจเป็นบริษัทต่างประเทศ ที่เพิ่งได้รับรายงานจากบริษัทในเมืองไทยและจำเป็นต้องจัดการเรื่องภาษีโดยด่วน
  1. มีความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับกฎหมายภาษี กฎหมายเกี่ยวกับบัญชี กฎหมายระหว่างประเทศ
  2. มีทักษะการอ่านและตีความ สามารถอ่านกฎหมายและตีความได้ถูกต้องตามที่กฎหมายระบุ
  3. มีความเข้าใจในตัววัตถุประสงค์ของธุรกิจที่แท้จริง สามารถนำข้อมูลมาคิดวิเคราะห์ต่อได้
  4. มีทักษะการสื่อสารดี หากทำงานในหน่วยงานที่ผู้ใช้บริการเป็นชาวต่างชาติ จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษได้
  5. ใฝ่รู้ มีความอยากรู้ สงสัย ตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบ
  6. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการนำเสนอ
  7. สามารถทำงานภายใต้ความกดดันหรือภายในเวลาจำกัดได้
  • ความก้าวหน้าของสายอาชีพที่ปรึกษาด้านภาษี อาจเรียกชื่อตำแหน่งต่างกันตามโครงสร้างของแต่ละหน่วยงาน แต่โดยปกติจะมี
    1) ระดับ Junior Consultant ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ หา สืบค้นข้อมูล 
    2) ระดับ Senior Consultant ร่วมทีมดูแลโปรเจกต์ที่ยากขึ้น หรืออาจได้คุมโปรเจกต์ที่ไม่ซับซ้อนมาก
    3) ระดับ Manager ดูแลรับผิดชอบโปรเจกต์ใหญ่ และภาพรวมของทีมที่ปรึกษา 
    4) บางหน่วยงานอาจมีความก้าวหน้าถึงระดับเป็น Director หรือหุ้นส่วน 
    เมื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และสร้างชื่อเสียงมากพอ ที่ปรึกษาด้านภาษีบางคนอาจออกไปตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง บางคนเรียนจบบัญชีมาแต่พบว่าสนใจด้านกฎหมายก็สามารถเรียนนิติศาสตร์ เรียนต่อระดับเรียนปริญญาโท ซึ่งอาจย้ายสายงานไปเป็นทนายความหรือผู้พิพากษาก็ได้
  • เป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจ และเป็นที่ต้องการของสังคม โดยเฉพาะในยุคที่เทรนด์การประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ การทำธุรกิจที่มีความโปร่งใส ซึ่งนอกจากจะถูกกฎหมายแล้ว ยังมีภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ต่อคนที่ร่วมธุรกิจ เจ้าหน้าที่ ภาครัฐ หรือประเทศคู่สัญญาด้วย
  • เป็นอาชีพที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ได้รับความคาดหวังและความกดดันค่อนข้างสูง บางครั้งต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับให้คำแนะนำ
  • เงินเดือนประจำ มีระดับตั้งแต่ 25,000 – 30,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน

– เข้าร่วมการอบรมสัมมนาของหน่วยงานหรือบริษัท เช่น ธรรมนิติ (https://www.dst.co.th/index.php?lang=th)

– ลงคอร์สเรียน Taxation Law ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดสอน ทั้งเป็นใบประกาศนียบัตร หลักสูตร 6 เดือน 1 ปี หรือหลักสูตรปริญญา 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวณ
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาบัญชี 
  • คณะบริหารศาสตร์ หรือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชี 
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาบัญชี
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ สาขาการบัญชี
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ สาขาการบัญชี
  • สำนักวิชาการการบัญชีและการเงิน สาขาการบัญชี 
  • คณะเทคโนโลยีการจัดการ สาขาการบัญชี 
  • คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี
  • คณะบัญชี 
  • คณะนิติศาสตร์ 

 

ปริญญาโท เช่น

  • คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี 
  • คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี 
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
  • คณะการบัญชีและการจัดการ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี 
  • คณะบัญชี บัญชีมหาบัณฑิต
  • วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี 
  • คณะนิติศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร 

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี 
  • คณะการบัญชีและการจัดการ ปรัชญาดุษฎี สาขาวิชาการบัญชี 
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี 
  • คณะบัญชี บัญชีดุษฎีบัณฑิต
  • วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567