ศัลยแพทย์

BRAND'S BRAIN CAMP

ศัลยแพทย์

แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของร่างกาย รักษาโรค หรือเพื่อการตกแต่งร่างกาย

Plastic_surgery_pana_3d212977d7
  • วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่ต้องมีการผ่าตัด เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม 
  • ชี้แจงกระบวนการผ่าตัด ผลลัพธ์หลังการผ่าตัด และคำแนะนำที่จำเป็นต่อผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย 
  • ดำเนินการผ่าตัดหรือศัลยกรรมตกแต่งร่างกายตามความเชี่ยวชาญของตน 
  • ดูแลผู้ป่วย ติดตามและประเมินผลการรักษาหลังการผ่าตัด 
  • ให้คำแนะนำและเอาใจใส่ต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย หลังการผ่าตัดหรือรักษาทางศัลยกรรม 
  • ศึกษา ค้นคว้า ทำงานวิจัยในวงการแพทย์ ในสาขาที่เชี่ยวชาญ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
  • การประเมินผู้ป่วย พูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อประเมินประวัติการรักษา โรคประจำตัว การใช้ยา และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด
  • วางแผนการผ่าตัด เลือกวิธีการผ่าตัด ยาชา และยาสลบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • อธิบายขั้นตอนการผ่าตัด อธิบายรายละเอียดของการผ่าตัด แจ้งความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และตอบคำถามของผู้ป่วยเกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัด  
  • เตรียมผู้ป่วย  ศัลยแพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาบางชนิด และแจ้งรายละเอียดการเตรียมร่างกายผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด เช่น อาบน้ำสระผม งดอาหารก่อนผ่าตัด เป็นต้น
  • การผ่าตัด ทำการผ่าตัดตามแผนที่วางไว้ โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมกับเคสของผู้ป่วย  
  • การดูแลผู้ป่วย  ศัลยแพทย์จะต้องติดตามสัญญาณชีพและอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดการผ่าตัดเพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัย รวมถึงดูแลให้ผู้ป่วยฟื้นจากยาสลบอย่างปลอดภัย 
  • การติดตามผลและให้คำแนะนำ ทั้งช่วงที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลและผู้ป่วยที่พักรักษาตัวที่บ้าน เพื่อตรวจดูแผลผ่าตัด ติดตามอาการ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังผ่าตัด
  • วิสัญญีแพทย์
  • วิสัญญีพยาบาล
  • เภสัชกร
  • อายุรแพทย์
  • นักเทคนิคทางการแพทย์
  • โดยทั่วไปศัลยแพทย์จะทำงานในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งอาจแบ่งเป็นแผนกหรือหน่วยงานย่อยตามความเชี่ยวชาญ เช่น ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมหัวใจ ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยแพทย์เด็ก ฯลฯ  หรือทำงานประจำสถานพยาบาลอื่นๆ เช่น คลินิกศัลยกรรมเสริมความงาม 
  • ศัลยแพทย์จะทำงานตามเวลาราชการของโรงพยาบาล (โดยทั่วไปคือ 8.00-16.00 น.) หรือตามเวลาทำงานของสถานพยาบาลนั้น ๆ
  • ศัลยแพทย์อาจต้องทำงานนอกเวลาปกติเพื่อดูแลผู้ป่วย โดยจะต้องเข้าเวรทั้งในเวลากลางวัน กลางคืน และวันหยุด เพื่อให้มีแพทย์พร้อมให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยเวลาเวรอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและความจำเป็น
  • มีความรู้ทางการแพทย์ที่แม่นยำ ถูกต้อง เช่น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา โรคและความผิดปกติของร่างกาย ยาและผลข้างเคียง 
  • ทักษะการผ่าตัดที่แม่นยำและละเอียดอ่อน
  • ทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกับทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
  • ทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถพูดคุยกับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทีมแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ศัลยแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีความต้องการสูงในประเทศไทยและต่างประเทศ โอกาสในการประกอบอาชีพมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสนใจและความเชี่ยวชาญของบุคคล เช่น ประสาทศัลยแพทย์ ศัลยแพทย์หัวใจ กุมารศัลยศาสตร์ (หมอผ่าตัดเด็ก)
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 150,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่สังกัด โดยศัลยแพทย์บางคนอาจมีรายได้เพิ่มเติมจากการเปิดคลินิกเป็นของตัวเอง 
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “ศัลยแพทย์” มีดังนี้
    • สายงานในโรงเรียนแพทย์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์
    • สายงานในโรงพยาบาลรัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข
      • นายแพทย์ปฏิบัติการ 
      • นายแพทย์ชำนาญการ
      • นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
      • นายแพทย์เชี่ยวชาญ
      • นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
  • สายงานโรงพยาบาลเอกชน
    • นายแพทย์ปฏิบัติการ
    • หัวหน้าแผนก หรือขึ้นเป็นตำแหน่งผู้บริหาร
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “ศัลยแพทย์” คือ 
    • การผ่าตัดเป็นงานที่เต็มไปด้วยความกดดัน ศัลยแพทย์ต้องมีความแม่นยำและเชี่ยวชาญสูง และต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและแม่นยำเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย โดยเฉพาะในวินาทีชีวิตของผู้ป่วย  เช่น ผู้ป่วยบาดเจ็บสาหัส 
    • บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย ต้องประสบกับการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง จากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย ทำให้ผู้ที่เป็นแพทย์อาจต้องทำงานมากว่า 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ 
    • การผ่าตัดมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ศัลยแพทย์ต้องเผชิญกับโอกาสของความผิดพลาดและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด 
    • การถูกฟ้องร้องจากผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย กรณีที่ผลการผ่าตัดไม่เป็นไปตามความคาดหวัง
    • ความเครียดจากความกดดันในการรักษาผู้ป่วย การสูญเสียผู้ป่วย หรือการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน
    • ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานหนัก อยู่เวรติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพศัลยแพทย์
    • Mahidol Channel มหิดล แชนแนล. (2021, March 16). เบื้องหลังการทํางานของ “หมอผ่าตัด” [หาหมอ by Mahidol Channel] [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=gnNKP5F0pAw
    • We Mahidol. (2021, September 9). หมอศัลยกรรมตกแต่ง อาชีพนี้ทําอะไร | We Mahidol [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=1Ey4-DbKwwo

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต 
  • (ปัจจุบันมีโอกาสสำหรับนักเรียนทุกสายการเรียน แต่จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะ สามารถสอบวัดระดับและผ่านเกณฑ์คัดเลือกต่างๆ ตามที่กำหนดด้วย)

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ 

ปริญญาโท เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านฯ สาขาศัลยศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านฯ สาขาศัลยศาสตร์เฉพาะทาง 

*ข้อมูล ณ ปี 2567