ผู้ประกอบการ Start up

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้ประกอบการ Start up

ผู้ประกอบการ Startup คือ ผู้เห็นปัญหาหรือความต้องการในการใช้ชีวิตของผู้คน เห็นวิธีการแก้ปัญหาและเห็นโอกาสในการนำมาทำเป็นธุรกิจที่มีผลตอบแทนให้เติบโตต่อไปได้ โดยเป็นผู้เริ่มต้นกิจการและสร้างทุกสิ่งให้เกิดขึ้น

Startup_life_pana_f17e14efb9

ในภาพรวม คือ การทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นตามที่บริษัทต้องการให้ได้ โดยรายละเอียดจะเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปตามประเภทของธุรกิจ สถานการณ์ และระดับการเติบโตของบริษัท ดังนี้

  • ช่วงเริ่มต้นบริษัท ต้องทำทุกอย่างให้เกิดขึ้นเพื่อให้บริษัทเริ่มดำเนินการได้ ทั้งยื่นขอเปิดบริษัท หาทีมงาน ดำเนินงาน ทำการขายหรือการตลาดเบื้องต้น โดยต้องรู้รายละเอียดทุกอย่างและทุกเรื่องของบริษัท 
  • เมื่อมีพนักงานในบริษัทมากขึ้น ผู้ประกอบการ Startup จะเปลี่ยนบทบาทหัวหน้าที่คอยสร้างระบบการทำงาน ควบคุมสั่งงาน ดูภาพรวมการดำเนินงานของบริษัท และเริ่มออกไปทำความรู้จักและหาพันธมิตรทางธุรกิจ
  • เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นมาก ลักษณะงานของผู้ประกอบการ Startup จะเป็นการบริหารและกำหนดทิศทางของบริษัท เช่น การวางเป้าหมาย (Mission) และวิสัยทัศน์ (Vision) ของบริษัท การวางแผนกลยุทธ์ในด้านต่างๆ เป็นต้น
  • เมื่อบริษัทดำเนินไปได้อย่างลงตัวแล้ว ผู้ประกอบการ Startup อาจมองหาปัญหาใหม่ ความต้องการใหม่ เพื่อเริ่มต้นสร้างธุรกิจใหม่ต่อไป

ช่วงหาปัญหาที่ต้องการแก้

  • หาปัญหาที่ต้องการแก้ เลือกปัญหาที่เหมาะกับตนเอง สำรวจและทบทวนตนเองว่าสนใจและอยากทำหรือไม่
  • สำรวจความเป็นไปได้ เช่น ตลาดใหญ่พอหรือไม่ สามารถทำเงินได้หรือไม่ เป็นต้น
  • เขียนโจทย์ของปัญหาที่ต้องการแก้ให้ชัด อะไรคือสิ่งที่ต้องแก้ไขที่แท้จริงในปัญหานั้น

 

ช่วงคิดหาทางแก้ปัญหา

  • หาว่าทางแก้ปัญหา (Solution) คืออะไร เป็นวิธีทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม ถูกต้องแล้วหรือไม่
  • หาแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาสร้างสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาออกสู่ตลาด

 

ช่วงลงมือแก้ปัญหาให้สำเร็จ

  • เมื่อมั่นใจว่าตั้งโจทย์และวิธีแก้ที่ถูกต้องแล้ว จึงลงมือสร้างสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหา (ผลิตสินค้าหรือบริการ) ออกมาให้ใช้ได้จริง โดยหาคนที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้มาทำงานให้เรา เช่น หากสิ่งที่แก้ปัญหาคือแอปพลิเคชันที่ช่วยให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการทางการแพทย์เบื้องต้นได้ ก็ต้องไปหาโปรแกรมเมอร์และทีมงานมาสร้างแอปพลิเคชันตามที่ได้คิดไว้

 

เมื่อแก้ปัญหาสำเร็จแล้ว

  • ตรวจสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด ลองดูว่ามีคนใช้งานสินค้าหรือบริการ (สิ่งที่สร้างออกมาเพื่อแก้ปัญหา) ของเราหรือไม่ ต้องทำแผนการตลาดอย่างไร สร้างภาพลักษณ์สินค้า (Branding) อย่างไร เพื่อให้ผู้คนรับรู้และเข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการของเรา
  • พิสูจน์ว่าสินค้าเป็นที่ต้องการจริงๆ แล้วจึงหาวิธีขยายการผลิตและเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่าสินค้ายังไม่เป็นที่ต้องการ จะต้องเก็บข้อมูลผลตอบรับ (Feedback) และกลับไปแก้เพื่อพัฒนางานต่อ
  1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านที่ต้องการจะแก้ปัญหา (Domain Expert) เช่น อยากแก้ปัญหาเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ต้องหาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ที่มีความรู้และทักษะในด้านการดูแลผู้สูงอายุ หรืออยากเปิดร้านอาหาร ผู้เชี่ยวชาญหรือ Domain Expert ในด้านนี้ คือ เชฟ พ่อครัว แม่ครัว เป็นต้น
  2. ผู้ที่ทำงานในฝ่ายต่าง ๆ ที่มีหน้าที่สนับสนุนทีมงานและบริษัท อาจขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีฝ่ายงานหลัก ดังนี้
    1. ฝ่ายจัดการทั่วไป 
    2. ฝ่ายบัญชี
    3. ฝ่ายการเงิน 
    4. ฝ่ายกฎหมาย 
    5. ฝ่ายการบริหารและจัดการพนักงาน 
    6. ฝ่ายการตลาด 
    7. ฝ่ายการสื่อสารองค์กร
  3. นักลงทุน แหล่งเงินทุน เจ้าของเงินทุน ซึ่งอาจมีข้อกำหนดในการให้ทุนของบริษัทแตกต่างกันออกไป

รูปแบบการทำงาน จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเภทของธุรกิจและรูปแบบการทำงานของบริษัท

  • หากประเภทของธุรกิจเป็นแบบที่ต้องทำในสถานที่เฉพาะ เช่น ในโรงงาน ก็จำเป็นต้องไปทำงานในสถานที่นั้นๆ 
  • อาจมีสำนักงานของตัวเองเพื่อใช้นั่งทำงาน หรือเลือกใช้บริการเช่าพื้นที่นั่งทำงานร่วมกับผู้อื่น (Co-Working Space) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรืออาจทำงานจากที่บ้านของแต่ละคนได้ ถ้าไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานร่วมกันตลอดเวลา แต่จะต้องมีระบบนัดหมายการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าของงานให้ทีมรับรู้
  • ผู้ประกอบการ Startup มักจะทำงานตลอดเวลา ทำให้ไม่มีเวลาเริ่มหรือเลิกงานที่แน่ชัด (โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นบริษัท) แต่เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นจนมีระบบการทำงานที่ชัดเจนแล้ว ผู้ประกอบการ Startup อาจต้องแบ่งเวลาเพื่อวางแผนและดูแลงานหลายส่วนพร้อมกัน
  • เวลาทำงานของผู้ประกอบการ Startup อาจจะต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการให้บริการแก่ลูกค้า เช่น เปิดบริการในวันเสาร์ อาทิตย์ ผู้ประกอบการอาจต้องเข้าเตรียมงานในคืนวันศุกร์หรือเข้ามาทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์ที่เป็นวันเปิดให้บริการ เป็นต้น
  1. ทักษะในการสื่อสาร ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพูดอธิบายให้ทีมในบริษัทตนเองเข้าใจตรงกัน รวมถึงการพูดอธิบายให้ลูกค้าหรือนักลงทุนที่อาจยังไม่มีความรู้ในสิ่งที่เราต้องการจะขายให้เข้าใจได้ ว่าเรากำลังจะขายอะไร มีประโยชน์ช่วยเขาได้อย่างไร ต้องสื่อสารโน้มน้าวใจเขาให้มั่นใจและซื้อหรือลงทุนกับเราได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะแม้ว่าจะทำของออกมาดีและมีประโยชน์แค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ของชิ้นนั้นก็จะกลายเป็นของที่ไม่ก่อประโยชน์ในทันที
  2. ไม่มีจำกัดอายุหรือวุฒิการศึกษา จะเรียนจบอะไรมาก็ได้ อายุเท่าไรก็ได้ ขอเพียงมีมุมมองการเห็นปัญหา เห็นโอกาส มีทักษะ และมีทุนในการเริ่มธุรกิจ
  3. มีความพร้อมและมีสถานภาพทางการเงินและทรัพยากร ที่สามารถรับความเสี่ยงและความท้าทายได้จากการขาดทุนในการดำเนินธุรกิจได้ 
  4. มองโลกในแง่ดี เห็นว่ามีโอกาสและความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ
  5. สนใจเรื่องนวัตกรรม มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการแก้ปัญหา
  6. มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจหรือการบริหารเบื้องต้น และมีความสนใจ สนุกกับการทำธุรกิจ
  7. พัฒนาตนเองต่อเนื่อง สนใจหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา
  8. มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ สำหรับใช้เพื่อการสื่อสาร ติดต่อ ขยายธุรกิจ และใช้ในการหาความรู้เพิ่มเติม หากมีทักษะความรู้ในภาษาที่สาม ก็จะเป็นข้อได้เปรียบ
  • ผลตอบแทนไม่มีเป็นตัวเลขตายตัว ถ้าธุรกิจประสบความสำเร็จและสามารถดำเนินไปได้ ผลตอบแทนที่ได้ก็มีโอกาสจะมากกว่าเงินเดือนจากการทำงานประจำ แต่ในอีกมุมหนึ่งหากธุรกิจไม่สำเร็จ เสียหาย หรือขาดทุน ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินเหลือเลย
  • ผลตอบแทนที่ได้มา เป็นการแลกกับความเสี่ยงและสิ่งที่ไม่ได้คาดหวัง ซึ่งหากเทียบกับผลตอบแทนในรูปแบบเงินเดือนแล้ว ผลตอบแทนจากการประกอบการมีความเสี่ยงที่สูงกว่ามาก
  • มีความเสี่ยงในด้านเวลาที่ลงไปในการทำธุรกิจ หากใช้เวลาสิบปีในการสร้างธุรกิจ แต่สุดท้ายธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ ก็ถือว่าเป็นการเสี่ยงลงทุนเวลาสิบปี ที่อาจใช้ไปกับการทำอย่างอื่น ที่ได้ผลที่ต้องการมากกว่า
  • แม้ว่าจะล้มลุกคลุกคลาน ไม่สามารถทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้ในตอนนี้ แต่ประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำธุรกิจจะเพิ่มความสามารถและความรู้ของตนเองได้
  • อาชีพนี้ไม่มีเส้นทางในสายอาชีพ (Career Path) แต่อาจจะเป็นการเติบโตในแง่ขนาดของธุรกิจที่แสดงถึงการเติบโตในอาชีพ
  • การขยายขนาดธุรกิจ อาจทำได้สองทาง
  1. การเพิ่มเงินทุนบริษัทด้วยการเพิ่มหุ้นและขายหุ้น
  2. การขยายฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้น
  • การแก้ปัญหาได้สำเร็จถือเป็นความสุข ความสนุก และการได้พิสูจน์ตัวเอง ส่วนการแก้ปัญหาที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนอื่นดีขึ้นได้ ทำให้เกิดเป็นผลกระทบทางสังคมที่มีคุณค่า
  • แนวโน้มในอนาคต
    • เป็นอาชีพที่มีโอกาสในการทำธุรกิจตลอดเวลา ยิ่งสังคมมีการเปลี่ยนแปลงเท่าไรยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่ในช่วงโควิดก็มีโอกาสมาก
    • โอกาสการถูกแทนที่ด้วย AI น่าจะช้ากว่าอาชีพอื่นๆ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องริเริ่มคิดหาคำตอบเป็นคนแรก ซึ่งศักยภาพของระบบ AI จะยังทำไม่ได้ และด้วยตัวงานที่ไม่มีความแน่นอน ต้องอาศัยระบบความคิด ต้องพร้อมใช้มันสมองคิดวางแผน ปรับ และเปลี่ยนแผนตลอดเวลา ในขณะที่ AI จะสามารถทำงานได้ดีกับงานที่มีลักษณะเป็นแบบแผนแน่นอน

ลงทุนแมน

Website

https://www.longtunman.com/

Facebook Page

https://www.facebook.com/longtunman/

YouTube

https://www.youtube.com/channel/UCtFf0Mb7MaluoPuyYonfaPQ

Blockdit

blockdit.com/longtunman

Instagram

instagram.com/longtunman

Twitter

twitter.com/longtunman

 

The Secret Sauce

Website

https://thestandard.co/podcast_channel/thesecretsauce/

YouTube

https://www.youtube.com/channel/UC9WlLtavtOylaWHDl6Uk00Q

Facebook Page

https://www.facebook.com/TheSecretSauceTH

 

Podcast

How I Built This with Guy Raz

 

การประกวด 

อยากแนะนำให้ไปลองซ้อมสนามจริงดูว่าการคิดการสร้างธุรกิจมีกระบวนการอะไรบ้าง แต่การที่จะพัฒนาให้กลายเป็นธุรกิจจริงได้ค่อนข้างเป็นไปได้น้อย เพราะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่าง ควรศึกษาทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนเริ่มธุรกิจ