นักวิทยาศาสตร์การกีฬา

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผู้เชี่ยวชาญที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักกีฬาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Fitness_tracker_amico_d77e501361
  • ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางร่างกายของนักกีฬา ศึกษาทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของนักกีฬา เพื่อปรับปรุงการฝึกซ้อมให้เหมาะสมที่สุด
  • ออกแบบแผนการฝึกซ้อมที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนตามความต้องการของนักกีฬาและทีม
  • ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เช่น  การฝึกซ้อม  อาหารการกินที่เหมาะสมกับนักกีฬา การฟื้นฟูสุขภาพหลังการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน 
  • วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและการออกกำลังกาย
  1. ประเมินนักกีฬา รวบรวมข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางร่างกายของนักกีฬา เช่น ความแข็งแรง ความเร็ว ความยืดหยุ่น ความอ่อนตัว และองค์ประกอบทางกายภาพอื่นๆ รวมถึงประเมินด้านสุขภาพจิต เช่น ความมั่นใจ ความกังวล 
  2. ออกแบบโปรแกรมฝึกซ้อม ที่ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพและจิตใจ โดยคำนึงถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ 
  3. ติดตามความก้าวหน้าของการฝึกซ้อม  และปรับปรุงแผนการฝึกซ้อมของนักกีฬาตามผลการวิเคราะห์ และปรับปรุงโปรแกรมฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าและความต้องการของนักกีฬา
  4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการติดตาม เพื่อหาแนวทางในการพัฒนานักกีฬาต่อไป
  5. ออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูร่างกาย สำหรับนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้นักกีฬากลับมาทำกิจกรรมทางกีฬาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  1. โค้ช หรือ ผู้จัดการทีมด้านการกีฬา
  2. แพทย์ประจำทีม
  3. นักโภชนาการ
  4. นักเทคนิคการแพทย์
  • สถานที่ทำงาน ทำงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา เช่น  สโมสรกีฬา ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ ค่ายฝึกอบรมกีฬา หรือโรงพยาบาลในแผนกเวชศาสตร์การกีฬา หรือบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬา เพื่อช่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กีฬา 
  • เวลาทำงาน ทำงานในเวลาที่ตรงกับเวลาฝึกซ้อมและการแข่งขันของทีมกีฬาที่ดูแล เนื่องจากต้องทำงานร่วมกับนักกีฬาซึ่งอาจต้องมีการฝึกซ้อมในเวลาที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเวลาทำงานจึงมีความยืดหยุ่นสูง และอาจต้องทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วย
  1. ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น สรีรวิทยาการกีฬา จิตวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์ และโภชนาการสำหรับนักกีฬา
  2. ทักษะการออกแบบโปรแกรมฝึกซ้อม  เพื่อออกแบบโปรแกรมฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงเป้าหมายและความสามารถของนักกีฬา
  3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบและการประเมิน เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน และปรับปรุงแผนการฝึกซ้อม
  4. ทักษะการสื่อสาร เพื่อสื่อสารความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักกีฬา โค้ช และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้อย่างเข้าใจง่าย
  5. ทักษะการทำงานเป็นทีม  เพื่อทำงานร่วมกับบุคลากรด้านอื่น ๆ เช่น โค้ช แพทย์ และนักกายภาพบำบัด
  • ผลตอบแทน เริ่มต้นโดยทั่วไป อาจอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 30,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและสถานที่ทำงาน และจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 
  • ค่าตอบแทนพิเศษ นอกจากเงินเดือนประจำแล้ว นักวิทยาศาสตร์การกีฬาอาจได้รับค่าตอบแทนพิเศษอื่นๆ เช่น ค่าคอมมิชชันจากการขายโปรแกรมฝึกซ้อม หรือค่าตอบแทนจากการให้คำปรึกษา
  • ความต้องการสูง  ปัจจุบันวงการกีฬามีการแข่งขันสูง ทำให้องค์กรต่างๆ ทั้งสโมสร กีฬาอาชีพ ศูนย์ฝึกกีฬา และมหาวิทยาลัย ต่างต้องการนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาช่วยพัฒนานักกีฬา ทำให้มีโอกาสในการทำงานค่อนข้างมาก
  • โอกาสและการเติบโตในอาชีพของ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
    • นักวิทยาศาสตร์การกีฬาระดับเริ่มต้น
    • นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีประสบการณ์การทำงาน
    • นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความชำนาญในสาขาที่เฉพาะเจาะจง
    • หัวหน้าทีมกีฬา
    • ผู้บริหารในองค์กรการกีฬา
  • ความท้าทายของอาชีพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
    • วงการกีฬาเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาต้องสามารถปรับตัวและเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา
    • การทำงานกับนักกีฬาอาชีพมีความรับผิดชอบสูง เพราะผลลัพธ์ของการทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของนักกีฬาโดยตรง
    • เผชิญความกดดัน ต้องทำงานกับทีมและนักกีฬาภายใต้ความดันของการแข่งขัน โค้ช หรือผู้ติดตาม
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น
    • Thai BTEC Sports. (2022, February 14). Sports Career EP.1: นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Scientist) [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=TICemNI2k_0 
    • SWU Sports Science. (2021, November 21). เส้นทางอาชีพนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง. [Video] https://www.facebook.com/watch/?v=610007763481161

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • คณะพลศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา

 

ปริญญาโท เช่น

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา

 

ปริญญาเอก เช่น

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567