นักจิตวิทยานักกีฬา

BRAND'S BRAIN CAMP

นักจิตวิทยานักกีฬา

ผู้ฝึกสมรรถภาพทางจิตใจให้กับนักกีฬาเพื่อให้นักกีฬาแสดงความสามารถได้เต็มศักยภาพในการแข่งขัน 

นักจิตวิทยานักกีฬา
  • วิเคราะห์สมรรถภาพทางจิตใจของนักกีฬา เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบการฝึก
  • ฝึกทักษะทางจิตวิทยาการกีฬาให้กับนักกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ให้คำปรึกษาส่วนบุคคลกับนักกีฬา
  • ติดตามการแสดงความสามารถของนักกีฬาในสถานการณ์ต่าง ๆ
  • ศึกษาธรรมชาติของกีฬา กีฬาแต่ละชนิดมีความต้องการแตกต่างกันไป เช่น กฏ กติกา การฝึกซ้อม การแข่งขัน ซึ่งส่งผลต่อนักกีฬาแตกต่างกัน เช่น ความกดดัน ความเครียด สุขภาพจิต
  • พูดคุยกับโค้ช ทีมงาน ผู้บริหาร เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายหรือปัญหาของทีมหรือนักกีฬา ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน ขอบเขตและความต้องการที่อยากให้เกิด 
  • พูดคุยกับนักกีฬารายบุคคล ทำความเข้าใจนักกีฬาในมุมมองเฉพาะ รับฟังเพื่อทำความเข้าใจปัญหาหรือความต้องการรายบุคคล  และเลือกวิธีที่เหมาะสมในการฝึก
  • ให้คำปรึกษาแก่นักกีฬาและผู้เกี่ยวข้อง ปรับมุมมองของนักกีฬาที่มีต่อการตั้งเป้าหมาย หรือการรับมือกับปัญหา เพื่อฝึกวิธีคิดที่เหมาะสม เช่นการลดความกดดัน หรือเสริมความมั่นใจ ฝึกฝนทักษะการควบคุมความคิดและความตื่นตัวให้กับนักกีฬา
  • ติดตาม กระตุ้นการฝึก และการนำไปใช้ คอยติดตาม ช่วยเหลือสม่ำเสมอ ทำการฝึกที่ต่อเนื่อง และรวมไปถึงคอยตรวจสอบการนำทักษะไปใช้ทั้งในตัวนักกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมผลลัพธ์
  • ประเมินและปรับเปลี่ยนวิธีการ หมั่นประเมินและวัดผลความเปลี่ยนแปลง เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้นในการช่วยเหลือนักกีฬา
  1. นักกีฬา
  2. ผู้ฝึกสอนกีฬา
  3. นักโภชนาการกีฬา
  4. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาอื่นในทีม เช่น นักสรีวิทยา นักกายภาพ เป็นต้น
  • สถานที่ทำงาน อาจทำงานสังกัดอยู่ในหน่วยสถาบันการศีกษา มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์ องค์กรหรือสโมสรกีฬาอาชีพ 
  • เวลาทำงาน  เวลาทำงานตามบริบทการฝึกซ้อมของทีม อาจจะเข้างานทุกวัน หรือบางวัน เช่น 3 วันต่อสัปดาห์ และในวันที่แข่งขัน
  1. ความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการกีฬา 
  2. ความรู้และประสบการณ์ทางการกีฬาประเภทเฉพาะที่ใช้ในสายงาน ไม่จำเป็นต้องเป็นนักกีฬา แต่ต้องรู้กฏ กติกา การฝึกซ้อม การแข่งขัน 
  3. ทักษะในการให้คำปรึกษา และการสื่อสาร
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบ 
    • รายเดือนแบบ Part time 15,000 – 30,000 บาท ทำงาน 3 วัน และตอนที่นักกีฬาแข่งขัน
    • รายเดือนแบบ Full time อาจอยู่ที่ 25,000 บาท โดยประมาณ (โดยมีวุฒิปริญญาโท)
    • ให้คำปรึกษาส่วนบุคคลรายชั่วโมง 600 – 3,000 บาท ขึ้นอยู่กับประสบการณ์
    • โดยปกติจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติมในกรณีดูแลนักกีฬาในรายการแข่งขันต่างประเทศ
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักจิตวิทยานักกีฬา
    • อาชีพนักจิตวิทยาสามารถสังกัดได้ทั้งในหน่วยงานการศึกษา ในฐานะผู้ให้ความรู้ หรือดูแลนักกีฬาภายในสังกัด หรือสามารถทำงานร่วมกับองค์กรด้านกีฬา เพื่อทำงานร่วมกับทีม หรือโค้ชนักกีฬา ทั้งแบบเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือทำงานประจำกับต้นสังกัด
    • อาชีพนักจิตวิทยานักกีฬา หรืออาชีพนักจิตวิทยาในภาพรวมมีแนวโน้มไปในทางที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น และถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในวงการกีฬา อาจทำให้อาชีพนักจิตวิทยานักกีฬาเป็นที่ต้องการมากขึ้น 
  • ความท้าทายของอาชีพนักจิตวิทยานักกีฬา
    • ความแตกต่างทางบุคคล นักกีฬาแต่ละคน กีฬาแต่ละประเภท ทีม หรือการแข่งขันแต่ละครั้ง ส่งผลกับนักกีฬาแตกต่างกันออกไป นักจิตวิทยานักกีฬาจะต้องเปิดกว้างและเข้าใจปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เป็นอย่างดีเพื่อนำเสนอวิธีที่เหมาะสม
  • ช่องทางบทความ ที่เกี่ยวกับอาชีพ นักจิตวิทยานักกีฬา
  • พี่ต้นแบบอาชีพนักจิตวิทยานักกีฬา [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2568]