นักกายภาพบำบัดนักกีฬา

BRAND'S BRAIN CAMP

นักกายภาพบำบัดนักกีฬา

ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมิน ฟื้นฟู และป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬา เพื่อให้นักกีฬากลับไปเล่นได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บซ้ำ

นักกายภาพบำบัดนักกีฬา
  • การประเมินและวินิจฉัยการบาดเจ็บ 
  • ออกแบบแผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคล ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ  ดำเนินการกายภาพบำบัดตามโปรแกรมของแต่ละบุคคล  
  • ออกแบบโปรแกรมป้องกัน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำด้วยการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะจุดและสมรรถภาพโดยรวม
  • ทำงานร่วมกับทีมแพทย์ โค้ช นักโภชนาการ และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการ การจัดการความเครียด และการดูแลตนเอง
  1. การตรวจประเมินเบื้องต้นและวินิจฉัย  ซักประวัติถามอาการ ลักษณะการบาดเจ็บ ประวัติการบาดเจ็บก่อนหน้า กีฬาที่เล่น ตรวจร่างกาย วิเคราะห์และวินิจฉัยเพื่อระบุปัญหาที่แท้จริงของการบาดเจ็บ
  2. วางแผนการรักษา เช่น การใช้เครื่องมือ, การนวด และโปรแกรมออกกำลังกายบำบัดที่เหมาะสมกับแต่ละระยะของการฟื้นฟู
  3. ดำเนินการกายภาพบำบัด  โดยแบ่งเป็น ระยะเฉียบพลัน ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เน้นการลดปวด ลดบวม ลดการอักเสบ  การประคบเย็น  การป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ ระยะฟื้นฟู คือ การเตรียมความพร้อมของร่างกายให้นักกีฬากลับไปแข่งขันได้อย่างปลอดภัยและเต็มศักยภาพสูงสุด เช่น การยืดกล้ามเนื้อ  ออกกำลังกายเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ และ ระยะกลับสู่กีฬา เช่น การทดสอบความพร้อมทางร่างกายก่อนกลับไปเล่นกีฬาอย่างเต็มที่
  4. ประเมินความก้าวหน้า ตรวจสอบอาการ การเคลื่อนไหว และสมรรถภาพของนักกีฬาอย่างสม่ำเสมอ
  5. ปรับแผนการรักษา  หากพบว่าการฟื้นฟูไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือมีอาการเปลี่ยนแปลง จะปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม
  6. ให้คำแนะนำ เมื่อนักกีฬาฟื้นตัวแล้ว จะให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ และออกแบบโปรแกรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬาในระยะยาว
  1. แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา 
  2. โค้ชหรือผู้ฝึกสอนกีฬา 
  3. นักโภชนาการ 
  4. นักจิตวิทยาการกีฬา
  5. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
  6. ผู้จัดการทีมกีฬา 
  7. นักกีฬา 
  • สถานที่ทำงาน ทำงานในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกีฬา คลินิกกายภาพบำบัด  หรือ  สโมสรกีฬา หรือศูนย์ฝึกซ้อมทีมชาติ  นอกจากนี้อาจทำงานในสนามซ้อมหรือสถานที่แข่งขัน โดยจะมีห้องสำหรับนักกายภาพเตรียมให้ หากทำงานเป็น Part Time ก็จะมีการเดินทางไปหานักกีฬาเฉพาะเวลาตามตกลง
  • เวลาทำงาน ส่วนใหญ่ทำงานเวลาราชการ หรือนโยบายของแต่ละองค์กร แต่อาจมีการดูแลนักกีฬาอาชีพหรือทีมนอกเวลา  โดยวันหยุดจะขึ้นอยู่กับตารางการซ้อมของนักกีฬาและประเภทของกีฬา
  • หากมีการทำงานล่วงเวลาจะนักกายภาพบำบัดจะคิดค่ารักษาเป็นรายชั่วโมง
  • ความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และการเคลื่อนไหว
  • ความรู้เฉพาะทางด้านกายภาพบำบัดและกีฬา เช่น เทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัด  เวชศาสตร์การกีฬา  จิตวิทยาการกีฬาเบื้องต้น การวิเคราะห์และประเมินอาการบาดเจ็บ การออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูที่เหมาะสม
  • ความเข้าใจในลักษณะของกีฬาหลากหลายประเภท
  • ทักษะการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น ultrasound, laser therapy
  • ทักษะการสื่อสารและการให้กำลังใจ
  • ความเข้าใจด้านโภชนาการ
  • ผลตอบแทน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทหน่วยงาน/ประเภทงานได้ ดังนี้ 
    • ภาครัฐ รายได้เริ่มต้น 15,000 – 30,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับวุฒิและใบประกอบวิชาชีพ) ทำงานล่วงเวลา (OT) ชั่วโมงละประมาณ 100 บาท
    • ภาคเอกชน 40,000 – 100,000 บาท/เดือน (ขึ้นกับประสบการณ์) โดยมีรายได้เฉลี่ย 1,200 บาท/วัน 
    • รายได้เสริม หากดูแลนักกีฬาอาชีพอาจมีค่าตอบแทนเพิ่มเติม เช่น ค่าต่างประเทศหรือโบนัสตามผลการแข่งขัน หรือรับดูแลเคสพิเศษแบบ Home Visit รายชั่วโมงเริ่มที่ 800 – 1,200 บาท
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักกายภาพบำบัดนักกีฬา
    • เติบโตในสายงานกายภาพบำบัดกีฬา เช่น จากนักกายภาพบำบัดทั่วไป สู่การเป็นนักกายภาพบำบัดเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา, หัวหน้าฝ่ายกายภาพบำบัดของสโมสร, ทีมชาติ หรือหน่วยงานกีฬาระดับประเทศ รวมถึงสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือการป้องกันการบาดเจ็บในนักกีฬา หากมีทักษะภาษาอังกฤษ ก็สามารถร่วมงานกับทีมกีฬาต่างประเทศ หรือองค์กรระดับโลก
    • ขยายสู่อาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักกายภาพบำบัดอิสระ (Freelancer), เจ้าของคลินิก, Performance Coach, นักวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย หรือขยับไปทำงานร่วมกับฝ่ายพัฒนานักกีฬาและทีมงานเบื้องหลังด้านกีฬา (Sport Development / Sport Science Team
    • ต่อยอดสู่งานสายการสอน เช่น วิทยากร อาจารย์ หรือเปิดคอร์สออนไลน์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ด้านการดูแลนักกีฬาให้กับคนรุ่นใหม่
  • ความท้าทายของอาชีพนักกายภาพบำบัด 
    • ต้องประเมินร่างกายอย่างแม่นยำภายใต้เวลาและความกดดันสูง
    • ต้องแข่งกับเวลา เพื่อให้นักกีฬากลับมาซ้อมหรือแข่งได้ทัน
    • ต้องเข้าใจจิตใจของนักกีฬาในช่วงฟื้นตัว และให้กำลังใจที่เหมาะสม
    • ทำงานไม่เป็นเวลา ตารางการทำงานยืดหยุ่น บางครั้งต้องเดินทางตลอด
    • ความคาดหวังจากทีมและนักกีฬาอาจสูง ต้องมีทักษะการรับมือกับแรงกดดันอย่างมืออาชีพ
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ นักกายภาพบำบัดนักกีฬา (Sports Physiotherapist)
    • We Mahidol. (2022, May 21). อาชีพ นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา | MU Careers Service  [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=qPgHZwxDHyk 
    • Spring News. (2015, Oct 5). “นักกายภาพบำบัด” ตัวแปรสำคัญวงการกีฬาไทย – Springnews  [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=YpcVFtnApeE