วิศวกรซอฟต์แวร์

BRAND'S BRAIN CAMP

วิศวกรซอฟต์แวร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์

Software_engineer_pana_385b1b7c1c
  • วางแผนและออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน
  • เขียนและพัฒนาซอฟแวร์โดยใช้ภาษาโปรแกรมต่างๆ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่มีความสมบูรณ์และประสิทธิภาพ
  • ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สูงและปลอดภัย
  • ดูแลและปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานในระยะยาว
  1. วางแผนและออกแบบซอฟต์แวร์ตามความต้องการของลูกค้า หรือตามความต้องการขององค์กร
  2. พัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้ภาษาโปรแกรมที่เหมาะสมเช่น Java, C++, Python เป็นต้น
  3. หลังจากพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จสิ้น วิศวกรซอฟต์แวร์จะทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงหากพบข้อบกพร่องหรือปัญหาที่ต้องแก้ไข
  4. การทำรายงานโปรเจกต์ ทำเอกสารประกอบซอฟต์แวร์ เพื่อนําเสนอคุณสมบัติใหม่หรือการแก้ไขปรับปรุงแก่ลูกค้าหรือฝ่ายที่ต้องนำซอฟแวร์ไปใช้งาน
  5. ทำหน้าที่ตรวจสอบและบำรุงรักษาหลังจากซอฟต์แวร์เริ่มใช้งาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอัพเดทซอฟต์แวร์ตามความต้องการ
  1. วิศวกรฮาร์ดแวร์ 
  2. นักทดสอบซอฟต์แวร์ (tester)
  3. นักออกแบบ UX UI
  • สถานที่การทำงานของอาชีพ “วิศวกรซอฟต์แวร์” ส่วนใหญ่ทำงานในองค์กรกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีที่มีฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น  บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริษัทเทคโนโลยี 
  • เวลาทำงานของ “วิศวกรซอฟต์แวร์” อยู่ช่วงเวลาปกติคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • อาจมีการทำงานล่วงเวลาในบางกรณี เช่น เมื่อโครงการมีกำหนดส่งหรือมีการแก้ไขเร่งด่วน 
  • ถ้าเป็นการทำงานแบบอิสระ (ฟรีแลนซ์) จะสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และสามารถระบุช่วงเวลาการทำงานได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากความเร่งด่วนของงาน
  • ความรู้และทักษะในการเขียนโปรแกรมในภาษาต่างๆ เช่น Java, Python, C++, JavaScript ฯลฯ 
  • ความรู้และทักษะเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การทดสอบและปรับปรุงซอฟต์แวร์  การตรวจสอบคุณภาพ และการแก้ไขข้อบกพร่อง
  • ความรู้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการคำนวณ
  • ทักษะการคิดเป็นระบบ
  • ผลตอบแทนของอาชีพ “วิศวกรซอฟต์แวร์” ในประเทศไทยระดับเริ่มต้นประมาณ 40,000 – 100,000 บาทต่อเดือน 
  • ซอฟต์แวร์กลายเป็นสิ่งสำคัญในทุกองค์กร ทุกประเภทธุรกิจ ทำให้อาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “วิศวกรซอฟต์แวร์” สามารถแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
    • ระดับเริ่มต้น Junior Software Engineer รับผิดชอบงานเขียนโปรแกรมทดสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด ทำงานร่วมกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์
    • ระดับกลาง Software Engineer วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ 
    • ระดับสูง Senior Software Engineer ดูแลทีมพัฒนาซอฟต์แวร์และเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ 
    • ระดับสูงสุด Chief Technology Officer (CTO) ผู้บริหารสูงสุดที่บริหารสายงานเทคโนโลโลยี
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “วิศวกรซอฟต์แวร์”
    • สามารถสื่อสารภาษาเชิงเทคนิคให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าเข้าใจ 
    • การจัดการเวลาและการส่งมอบงานตามกำหนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
    • วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานแบบอิสระ (ฟรีแลนซ์) มีการแข่งขันในอาชีพนี้ค่อนข้างสูง
  • ความเสี่ยงที่สำคัญในการทำงานเป็น “วิศวกรซอฟต์แวร์”
    • ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับการทำงานในระยะเวลานาน เช่น ปัญหาสายตา ออฟฟิศซินโดรม
  • YouTube ที่มีเนื้อหาแนะนำเกี่ยวกับ “วิศวกรซอฟต์แวร์”
  • คณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเกี่ยวกับ “วิศวกรซอฟต์แวร์” 
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  
    • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
    • มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิทยาการสารสนเทศ 
    • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี 
    • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 
    • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ