เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม

BRAND'S BRAIN CAMP

เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม

บริหารโครงการและดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ขององค์กร โดยมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับชุมชนและสังคม พร้อมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 

Reforestation_pana_d92839991f
  • ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  
  • ออกแบบและกิจกรรมด้านความยั่งยืนร่วมกับ ลูกค้า คู่ค้า และพันธมิตรองค์กรต่าง ๆ ตั้งแต่การจัดทำตารางเวลาการจัดกิจกรรม วางแผนการใช้งบประมาณและทรัพยากร
  • ดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงตามแผน  
  • ดูแลภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นไปในทางที่ดี 
  • ติดตามและประเมินผลด้วยวิธีต่าง ๆ  ได้แก่ การทำรายงานความยั่งยืนของบริษัท ประเมินผลความสำเร็จของกิจกรรม  สรุปบทเรียนหรือแนวทางปรับปรุงกิจกรรม 
  1. วางแผนโครงการและกิจกรรมเพื่อสังคม  ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชน กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการให้ตอบโจทย์กลยุทธ์บริษัทและความยั่งยืนด้านต่าง ๆ  รวมถึงวางแผนงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็น
  2. นำเสนอโครงการที่ออกแบบกับผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  เพื่อรับฟังข้อเสนอ และขออนุมัติ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับทีมภายในบริษัทเพื่อสนับสนุนโครงการ และติดต่อองค์กรภายนอกและชุมชนที่เกี่ยวข้อง
  4. สื่อสารและประชาสัมพันธ์  จัดทำเนื้อหาและสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้กับกลุ่มเป้าหมาย และเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์องค์กร  ที่วางแผนไว้
  5. ดำเนินโครงการและจัดกิจกรรม ควบคุมดูแลให้กิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมาย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน 
  6. วัดและประเมินผลโครงการ ทำรายงานประเมินความสำเร็จขององค์กร และเก็บข้อมูลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาในอนาคต 
  7. ผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมผ่านสื่อเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
  1. ฝ่ายสื่อสารองค์กร
  2. ผู้บริหารองค์กร
  3. ข้าราชการที่เกี่ยวกับการพัฒนาความยั่งยืน เช่น กระทรวงทรัพยากร กระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
  4. ผู้สื่อข่าว
  5. ช่างภาพ
  6. ผู้จัดงานอีเวนต์และซัพพลายเออร์ 
  • สถานที่ทำงาน  อาชีพนี้มีโอกาสทำงานในหลายอุตสาหกรรมทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน  เช่น ธนาคาร บริษัทพลังงาน อาหารและเครื่องดื่ม สื่อสารโทรคมนาคม และบริษัทข้ามชาติ โดยทำงานทั้งในสำนักงานและพื้นที่ภาคสนามเพื่อจัดกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคม เช่น การปลูกป่า การพัฒนาชุมชน หรือโครงการอาสาสมั 
  • เวลาทำงาน  เข้าออฟฟิศตามนโยบายของแต่ละองค์กร  โดยทำงานวันจันทร์-ศุกร์ ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ หรือวันอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมกับชุมชน 
  • บางครั้งอาจต้องทำงานในช่วงวันหยุดหรือเวลากลางคืน ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม
  1. ทักษะการวางแผนและการจัดการ เพื่อออกแบบกิจกรรมและบริหารเวลา ทรัพยากรให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร
  2. ทักษะการสื่อสาร เพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานและพูดคุยกับชุมชน รวมถึงการเขียนรายงานและการนำเสนอ
  3. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการออกแบบกิจกรรมให้ตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรและชุมชน 
  4. ความรู้ด้านประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ความรู้เกี่ยวกับ SDGs และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการเข้าใจปัญหาของชุมชน
  • ผลตอบแทน  เริ่มต้น 30,000-50,000 บาทต่อเดือน อยู่ที่ประสบการณ์และตำแหน่ง 
  • ความต้องการในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น องค์กรธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) ต่างให้ความสำคัญกับ CSR มากขึ้น เนื่องจากกฎระเบียบเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนที่เข้มงวดขึ้น
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม 
    • ระดับเริ่มต้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR Coordinator/Officer)
    • ระดับกลาง  ผู้จัดการโครงการ CSR (CSR Project Manager)
    • ระดับสูง  ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและกิจกรรมเพื่อสังคม (Director of Sustainability & CSR)
    • โอกาสในการปรับเปลี่ยนสายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงการ  นักสื่อสารและผู้จัดการแคมเปญเพื่อสังคม 
    • การทำงานกับองค์กรระดับโลก เช่น UN, UNESCO, และองค์กรเพื่อสังคมข้ามชาติ ช่วยเพิ่มทักษะและโปรไฟล์ในตลาดแรงงาน
  • ความท้าทายของอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม 
    • ข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากร หากอยู่ในบริษัทขนาดเล็ก บางบริษัทอาจจะไม่ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากนัก จึงอาจมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคมต้องออกไปหาแหล่งทุนอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรม
    • การทำงานกับชุมชนที่มีความต้องการหลากหลาย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคมจำเป็นที่จะต้องศึกษาต้นทุน และความต้องการของชุมชนนั้นให้ดีเสียก่อนที่จะออกแบบกิจกรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
    • การหาจุดสมดุล  ต้องหาจุดสมดุลระหว่างประโยชน์ขององค์กรและความยั่งยืนของชุมชน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม 
  • ช่องทาง เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเจ้าหน้าที่กิจกรรมเพื่อสังคม