นักวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk management specialist)

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk management specialist)

ผู้ทำหน้าที่ประเมินปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดผลเสียต่อบริษัทหรืองค์กรได้ โดยภาพรวม ทั้งการสูญเสียทรัพย์สิน ชื่อเสียง คุณภาพพนักงาน หรือแม้แต่ความปลอดภัยทางภัยพิบัติ 

นักวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk management specialist)
  • สร้างเกณฑ์ตัวบ่งชี้ความเสี่ยง KRI (Key Risk Indicator)  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ในการติดตามและเฝ้าระวังระดับความเสี่ยงขององค์กร เช่น ความเสี่ยงด้านระบบล่ม อาจกำหนดเป็นสีเขียว (ปกติ) แปลว่าระบบล่มไม่เกิน 10 นาที สีเหลือง   (เฝ้าระวัง) ล่ม 11-30 นาที/เดือน (ต้องรีบตรวจสอบ) สีแดง (อันตราย) ล่มเกิน 30 นาที/เดือน (ต้องรีบแก้ไขใหญ่)
  • คอยติดตามผล และประเมินความเสี่ยงจาก KRI อยู่เสมอเพื่อป้องกันเหตุก่อนจะเกิดความเสี่ยง
  • ทำแผนบรรเทาความเสี่ยง (Mitigate Risk) เพื่อเตรียมรับความเสี่ยงที่เล็งเห็นได้ และนำปฏิบัติใช้จริงตามสมควร
  • ทวนวิเคราะห์ความเสี่ยงประจำปี โดยทั้งทบทวนความเสี่ยงเก่า และประเมินความเสี่ยงใหม่เพิ่มเติม
  • วางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan) เพื่อป้องกันการหยุดชะงัก รวมถึงจัดทำการซักซ้อมเพื่อเตรียมรับมือ
  • เป็นตัวกลางและหาทางรองรับร่วมกับฝ่ายกฎหมาย และแจ้งทีมงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดมาตรการจัดการเมื่อเจอความเสี่ยง
  1. ทบทวนความเสี่ยง โดยอาจเป็นความเสี่ยงเก่า หรือเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้นใหม่รายปี ตามสถานการณ์หรือจากการอ่านวิจัยเพิ่มเติม
  2. จัดทำตัวชี้วัด KRI  วัดประเมินความเสี่ยงแต่ละตัว และตั้งเกณฑ์ชี้วัดระดับความเสี่ยง เพื่อให้ทราบเมื่อเกิดความเสี่ยงสูงหรือต่ำ โอกาสในการเกิด และประเมินความเสียหาย และสร้างมาตรการรองรับ
  3. วิเคราะห์ความเสี่ยงร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำความเสี่ยงที่เจอไปพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง เช่น อัตราการหมุนเวียนของพนักงานสูง ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือปรึกษาฝ่ายกฎหมายเกี่ยวกับ PDPA 
  4. เฝ้าสังเกตความเสี่ยง คอยสังเกตการณ์ความเสี่ยงสม่ำเสมอ เตรียมแผนการรองรับ และรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเล็งเห็นปัญหา
  5. ทำตามมาตรการป้องกัน ปฏิบัติตามแผนหรือมาตรการรองรับเมื่อเกิดความเสี่ยง
  1. นักบัญชี
  2. เจ้าหน้าที่การเงิน
  3. นักกลยุทธ์
  4. ทรัพยากรบุคคล
  5. นักกฎหมาย
  6. ผู้ตรวจสอบภายใน
  • สถานที่ทำงาน โดยทั่วไปนักวิเคราะห์ความเสี่ยงทำงานได้ในธุรกิจทุกประเภทที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ปฏิบัติการ กลยุทธ์ หรือชื่อเสียง เช่น  สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์/กองทุนรวม บริษัทประกันภัย บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารความเสี่ยง  บริษัทเทคโนโลยี โดยมักทำงานในออฟฟิศหรือสำนักงานขององค์กร และมักทำงานในระบบ Hybrid  เช่น WFH 3 วันต่อสัปดาห์
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 8.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์​  หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  1. ทักษะและความรู้ในการประเมินความเสี่ยงและสร้างเมทริกซ์ในการวัดประเมินได้
  2. ทักษะและความรู้ในการดูงบทางการเงิน หรือความรู้ด้านการบัญชีและเศรษฐศาสตร์ (หากทำงานกับความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative Risk)  
  3. ความรู้ด้านสถิติ และการจัดการข้อมูลชุดใหญ่จำนวนมาก โดยเฉพาะ SQL
  4. ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)
  5. ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณและสมเหตุผล
  6. การสื่อสารประสานงาน นักวิเคราะห์ความเสี่ยงต้องมีทักษะด้านการประสานงานที่ดี เพราะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ เป็นปกติทั้งการหารือความเสี่ยง จัดตั้งมาตรการ และรายงานความเสี่ยงทั้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยงข้องและต่อผู้บริหารระดับสูง
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรับผิดชอบ และประเภทของความเสี่ยง
    • เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับนักวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ ประมาณ 25,000 – 40,000 บาท/เดือน 
    • เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับนักวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ ประมาณ 35,000 – 45,000 บาท/เดือน 
    • สำหรับตำแหน่ง Senior หรือ APV หรือทำงานในบริษัทใหญ่ อาจมีรายได้ 40,000 – 70,000 บาท/เดือน หากเป็นองค์กรภาครัฐ อาจมีรายได้ สูงถึง 100,000 บาท/เดือน
    • สำหรับตำแหน่งสูง หรือระดับผู้อำนวยการ สูงได้ถึง 150,000 – 200,000 บาท/เดือน
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักวิเคราะห์ความเสี่ยง
    • เติบโตในสายงาน เส้นทางอาชีพของสายงานนักวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นขั้นชัดเจน โดยเริ่มต้นจาก นักวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับต้น (Junior Risk Analyst / Risk Analyst) นักวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับกลาง (Senior Risk Analyst / Specialist Risk Analyst) ผู้จัดการความเสี่ยง (Risk Manager) ผู้อำนวยการ/หัวหน้าฝ่ายบริหารความเสี่ยง (Head of Risk / Director of Risk Management) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง (Chief Risk Officer – CRO)
    • เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง  สามารถเลือกเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต, ความเสี่ยงด้านตลาด, ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ, ความเสี่ยงด้านไซเบอร์, ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ หรือความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
    • ความต้องการสูง  ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, ประกันภัย, บริษัทผลิต, เทคโนโลยี, ค้าปลีก หรือแม้แต่ภาครัฐ ล้วนต้องเผชิญความเสี่ยงและต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยบริหารจัดการ
    • โลกที่ผันผวน  สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, ภัยพิบัติธรรมชาติ, การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ, และเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ทำให้องค์กรตระหนักถึงความจำเป็นในการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น
  • ความท้าทายของอาชีพนักวิเคราะห์ความเสี่ยง
    • เป็นงานที่ต้องเจอความเปลี่ยแปลงตลอด  โลกของธุรกิจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีความเสี่ยงใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น ความเสี่ยงจาก AI, ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ, ภัยคุกคามไซเบอร์ที่ซับซ้อนขึ้น  ทำให้ต้องคอยติดตามและหาทางรับมือกับปัญหาด้วยความกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่เสมอ 
    • ข้อมูลไม่สมบูรณ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงมักต้องใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์อนาคต แต่บางครั้งข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เพียงพอ ทำให้การประเมินและการสร้างแบบจำลองทำได้ยาก
    • การตัดสินใจที่มีผลกระทบสูง  คำแนะนำของนักวิเคราะห์ความเสี่ยงอาจมีผลอย่างมหาศาลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการเงินขององค์กร ความผิดพลาดอาจนำไปสู่ความสูญเสียใหญ่หลวงได้
    • การจัดการวิกฤต ในสถานการณ์วิกฤตจริง เช่น ระบบล่ม, การละเมิดข้อมูล, วิกฤตเศรษฐกิจต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูงและใช้ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
    • กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น  อุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการเงิน มีกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (เช่น Basel III, IFRS 17, PDPA) นักวิเคราะห์ความเสี่ยงต้องติดตามและทำให้องค์กรปฏิบัติตามได้
  • ช่องทางความรู้ที่เกี่ยวกับอาชีพนักวิเคราะห์ความเสี่ยง
  • พี่ต้นแบบอาชีพนักวิเคราะห์ความเสี่ยง [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568]