นักข่าว/ผู้สื่อข่าว

BRAND'S BRAIN CAMP

นักข่าว/ผู้สื่อข่าว

ผู้รวบรวมและเรียบเรียงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อสื่อสารให้กับประชาชนผ่านสื่อต่างๆ

Journalist_pana_31b67b9380
  • เสาะแสวงหาข่าวด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมเพื่อฟังแถลง ฯลฯ 
  • ติดตามและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับข่าวที่ได้รับมอบหมายหรือสารคดีเฉพาะเรื่อง
  • เขียนและเรียบเรียงข่าวตามรูปแบบการเสนอข่าวที่ถูกต้อง โปร่งใส เพื่อส่งให้บรรณาธิการพิจารณาก่อนทำการตีพิมพ์หรือเผยแพร่โดยการออกอากาศ
  • นำเสนอข่าว รายงานเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง ตลอดจนนำเสนอการความคิดเห็น การวิเคราะห์ ต่อข่าวที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งในรูปแบบรายงานสดจากพื้นที่จริง หรือนำเสนอข่าวที่เรียบเรียงมาแล้ว เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ ผ่านช่องทางต่างๆ
  • ผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญหรือมอบหมายให้ทำข่าวสาขาใดสาขาหนึ่งเป็นพิเศษ อาจได้รับการเรียกชื่อหรือว่าจ้างตามสายงานที่ปฏิบัติ เช่น ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม ผู้สื่อข่าวการเมือง ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เป็นต้น
  • เป็นสื่อกลางในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการให้ผู้บริโภค
  1. กำหนดประเด็นข่าว รับประเด็นข่าวจากบรรณาธิการ หรือนักข่าวอาจนำประเด็นที่เกิดขึ้นไปเสนอกับบรรณาธิการเอง 
  2. ประชุมทีม วางแผน เพื่อแจกแจงงานกันในทีม
  3. เสาะแสวงหาข่าวด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลงพื้นที่ สัมภาษณ์แหล่งข่าว 
  4. นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบข้อเท็จจริง ความถูกต้อง ประเมินความน่าเชื่อถือก่อนเรียบเรียง
  5. นำข่าวมาเรียบเรียง นำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความข่าว สคริปต์สำหรับผู้ประกาศข่าว การลำดับภาพและเสียง 
  6. ทำการรายงานข่าว เผยแพร่ในช่องทางต่างๆ 
  1. ช่างภาพ
  2. บรรณาธิการข่าว
  3. นักวิชาการ
  • สถานที่ทำงานของ “นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)” ทำงานทั้งในและนอกสถานที่ ขึ้นอยู่กับบทบาทงานของตนเอง เช่น เป็นผู้ประกาศข่าวในสำนักข่าว ประจำสถานีวิทยุและโทรทัศน์ นักข่าวประจำสำนักหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ข่าว ฯลฯ หากเป็นนักข่าวภาคสนามก็ต้องมีการออกไปทำข่าวในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งถ้าหากเป็นข่าวเร่งด่วนก็อาจจะต้องพร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
  • โดยทั่วไป เวลาทำงานของอาชีพ “นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)” มักจะไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอน ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์และการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด นักข่าวจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะทำงานในเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น กลางคืนหรือช่วงเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้น ยกเว้นผู้สื่อข่าวในองค์กรสื่อสารมวลชนของรัฐบาล จะมีเวลาทำงานตามเวลาราชการ คือ จันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น. และผู้สื่อข่าวประจำสถานีโทรทัศน์ หรือวิทยุที่มีต้องมีการลงตารางบันทึกเทปไว้ล่วงหน้า
  1. ความรู้ทางด้านกฎหมายและจริยธรรมสื่อ
  2. มีความทันโลก ทันเหตุการณ์ ติดตามสถานการณ์ของสังคมตลอดเวลา
  3. ทักษะการสืบค้น การค้นคว้า ติดตาม
  4. ทักษะการสื่อสาร ทั้งการฟังพูด อ่าน เขียน 
  5. ทักษะการใช้ภาษา การใช้โวหารเพื่อสื่อความ 
  6. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 
  7. ทักษะในการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ 
  8. ปรับตัวเก่ง สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายประเภท ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งข่าว รวมถึงสามารถทำงานในพื้นที่ที่อาจมีความยากลำบาก หรือพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่ประสบภัยทางธรรมชาติ พื้นที่กันดาร พื้นที่สงคราม
  • ผลตอบแทนของ “นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)” เริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 30,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับองค์กรที่สังกัด
  • ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในองค์กรสื่อสารมวลชนของรัฐบาลจะได้รับค่าจ้างอัตราตามวุฒิการศึกษา เช่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมการข่าว เริ่มที่ปริญญาตรี 15,000 บาท 
  • ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในองค์กรสื่อมวลชนภาคเอกชน ค่าตอบแทน สวัสดิการจะสูงกว่า เนื่องจากมีชั่วโมงทำงานที่ยาวนานกว่าผู้สื่อข่าวในหน่วยงานของรัฐ โดยผู้สื่อข่าวในสื่อของเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนขั้นต่ำประมาณ 18,000 บาท ไม่รวมค่ายานพาหนะประจำเดือนเดือนละอีกประมาณ 2,000 – 4,000 บาท และสามารถเบิกค่าเลี้ยงรับรอง ค่าใช้จ่ายในการหาซื้อและค้นคว้าหาข้อมูล โดยจะพิจารณาเพิ่มเงินเดือนขึ้นไปเรื่อยๆตามความสามารถและประสบการณ์
  • นักข่าวอิสระจะได้ค่าตอบแทนการเขียนข่าวเรื่องละประมาณ 2,000 ถึง10,000 บาท ตามความสำคัญและความยากง่ายของข่าว
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของอาชีพ “นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)”  
    • ผู้ปฏิบัติงานในอาชีพผู้สื่อข่าว เมื่อชำนาญในการหาข่าว สร้างแหล่งข่าว การประกาศข่าวและพัฒนาการทำข่าวจนเป็นที่น่าเชื่อถือของสำนักข่าว  ประมาณ 1 – 2 ปี ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
    • หัวหน้าข่าว  
    • นักข่าวอาวุโส 
    • ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว
    • บรรณาธิการข่าว
  • ผู้สื่อข่าวเป็นอาชีพที่สามารถสร้างผู้ติดตามและชื่อเสียงได้ ทำให้มีโอกาสในการสร้างรายได้มากขึ้น เช่น ได้รับค่าตัวในการออกอีเวนต์ต่างๆ 
  • ปัจจุบันผู้สื่อข่าวมีช่องทางออนไลน์เป็นของตัวเอง เพื่อนำเสนอข่าวในรูปแบบของตัวเอง ทำให้ไม่ต้องพึ่งสำนักข่าวมากขึ้น 
  •  ความท้าทายของอาชีพ “นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)” 
    • ต้องแข่งขันกับผู้สื่อข่าวจากสำนักอื่นๆ ตลอดเวลา เพื่อให้สำนักงานข่าวของตนได้ข่าวที่ไว และน่าสนใจกว่าสำนักข่าวอื่นๆ 
    • ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทำให้คนสามารถนำเสนอเรื่องราวของตนเองผ่านอินเทอร์เน็ตได้ นักข่าวจะต้องคอยอัพเดตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกสังคมออนไลน์ด้วยอีกทาง 
    • อาจต้องเดินทางไกล เป็นระยะหลายวันเพื่อติดตามทำข่าว 
    • ต้องติดต่อสื่อสารกับบุคคลหลากหลายความคิด หลากหลายวัฒนธรรมทั้งที่เป็นแหล่งข่าว และผู้ชม 
  • ความเสี่ยงของ “นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)” 
    • อาจต้องเจอกับสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยทั้งจิตใจ ร่างกายและชีวิต เช่น การทำข่าวในพื้นที่เสี่ยงภัย การรายงานในพื้นที่สงคราม การติดตามข่าวอาชญากรรมที่สังคมจับตามอง การทำข่าวที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งจากกลุ่มผู้มีอิทธิพล เป็นต้น
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ”นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (ทำข่าว)” 
    • We Mahidol. (2021, October 26). อาชีพ ผู้สื่อข่าว (NEWS Reporter) | MU Careers Service [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=3albUDFtadI 
    • Manoottangwai. (2020, October 19). ประเทศสงคราม กรุณา บัวคำศรี จากเด็กชายแดนสู่นักข่าวหญิงผู้เดินทางไปทั่วโลก | มนุษย์ต่างวัยทอล์ก EP.8 [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=yXJMOLzzpFE 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อศึกษา (นานาชาติ)
  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ 
  • คณะการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาการผลิตสื่อสร้างสรรค์ 
  • คณะดนตรีและการแสดง สาขาวิชาการจัดการผลิตสื่อและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
  • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน
  • วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสร้างสรรค์เนื้อหาและงานข่าว
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบรอดคาสติงและสื่อสตรีมมิง
  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ

 

ปริญญาโท เช่น

จบ ป.ตรี สาขาใดก็ได้ แต่ต้องศึกษาความรู้เกี่ยวเกี่ยวกับ ด้านภาษา การสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล การคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล หาโอกาสฝึกงานหรือทำงานเกี่ยวกับนักข่าว / การเขียนข่าว ฝึกฝนจากการใช้สื่อโซเชียลของตนเองในการรายงานข่าวหรือเขียนข่าว เพิ่มเติม

  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศึกษา
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อและเนื้อหา 
  • คณะการสื่อสารมวลชน ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารบูรณาการ วิชาเอกสื่อสารศึกษา
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสาร วิชาเอกสื่อและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์

 

ปริญญาเอก เช่น 

  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศึกษา
  • คณะการสื่อสารมวลชน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการสื่อสารบูรณาการ 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567