นักวิจัยนโยบายสาธารณะ

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิจัยนโยบายสาธารณะ

ผู้ศึกษาและวิจัยนโยบายสาธารณะ (Public policy) เพื่อนำมาพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

Research_paper_amico_15a3c639c2
  • ติดตามและศึกษา ผลการดำเนินนโยบายที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยกระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อประเมินผลนโยบาย  ถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ และอุปสรรคที่เกิดขึ้น
  • พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ ในด้านนโยบายสาธารณะ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ เช่น รัฐบาล กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกระทรวง
  1. กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย (Research objectives) และตั้งคำถามการวิจัย สมมุติฐาน ซึ่งอาจมาจากปัญหาเชิงนโยบาย ปัญหาสังคม โจทย์ของผู้ให้ทุนวิจัยหรือการหาแนวคิดนโยบายใหม่ ๆ เช่น ธุรกิจประเภทใดได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ? 
  2. ทบทวนวรรณกรรม (Literature review) โดยรวบรวมเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ว่าประเด็นดังกล่าว มีใครได้ทำการศึกษาไปแล้วบ้าง ผลเป็นอย่างไร ยังมีช่องว่างอะไรที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
  3. ออกแบบกระบวนการวิจัย (Research framework) โดยวางกระบวนการวิจัย เครื่องมือการวิจัยที่เหมาะสม และข้อมูลที่ต้องใช้ในการตอบโจทย์การวิจัย
  4. รวบรวมข้อมูล (Data collection) เพื่อนำมาใช้ในการวิจัย โดยแบ่งเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) คือรวบรวมผ่านการพัฒนาแบบสอบถาม ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากหน้างานจริง และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary) คือการรวบรวมจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ก่อน
  5. วิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล เพื่อตอบคำถามการวิจัย
  6. พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy recommendations) โดยนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นมาพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
  7. สื่อสารและขับเคลื่อนนโยบาย (Policy advocacy) เช่น รายงานทางโทรทัศน์ เว็บไซต์ข่าว บทความวารสารวิชาการ และการจัดสัมมนาสาธารณะสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  1. นักการเมือง
  2. นักเศรษฐศาสตร์
  3. นักวิเคราะห์ข้อมูล
  4. นักวิชาการ
  5. นักสื่อสารมวลชน
  6. นักสังคมศาสตร์
  • สถานที่ทำงาน  นักวิจัยนโยบายสาธารณะจะทำงานในหน่วยงานเกี่ยวข้องกับทำงานเชิงนโยบาย หรือ พัฒนาองค์ความรู้ในด้านนั้น เช่น สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิ  องค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ
  • เวลาทำงาน  โดยส่วนใหญ่มักทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 8.30 – 16.30 น.
  • อาจต้องทำล่วงเวลาในกรณีที่ต้องปิดเล่มวิจัย หรืออาจจะต้องเข้าร่วมงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารนโยบาย เช่น การเข้าร่วมงานสัมมนา ซึ่งอาจจัดขึ้นนอกเวลางาน
  1. ความรู้ในนโยบายและการบริหารงานของภาครัฐด้านนั้น ๆ เช่น ทำวิจัยด้านนโยบายการศึกษา ควรมีความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิดการพัฒนาการศึกษา หรือสถานการณ์ด้านการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  2. ความรู้ในเครื่องมือเชิงเทคนิคในการวิจัยนโยบายสาธารณะ เช่น เครื่องมือทางสถิติ/ เศรษฐมิติ (Econometrics) การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) การประเมินความคุ้มค่านโยบาย (Cost-benefit analysis) เป็นต้น
  3. ทักษะการวิจัยพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่การกำหนดกระบวนการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการบริหารโครงการวิจัย
  4. มีทัศนคติรักในการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง พร้อมเปิดรับข้อมูล แนวคิดใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
  • ผลตอบแทน: เริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 21,000 บาท ต่อเดือน สำหรับระดับการศึกษาปริญญาตรี และเริ่มต้น 24,000 บาท ต่อเดือน สำหรับระดับการศึกษาปริญญาโท
  • มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม สามารถช่วยพัฒนานโยบายที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง เช่น นโยบายด้านการศึกษา สาธารณสุข หรือสิ่งแวดล้อม
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักวิจัยนโยบายสาธารณะ 
    • เป็นนักวิจัยอาวุโส และทำงานได้หลายหน่วยงาน เช่น สถาบันวิจัย สถาบันอุดมศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ ที่ปรึกษาให้องค์กรภาคเอกชนที่ต้องทำงานกับภาครัฐ เป็นต้น
    • เป็นผู้บริหารโครงการวิจัย จากการเขียนโครงการและรับทุนพัฒนาโครงการเอง
    • เป็นผู้บริหารสถาบันวิจัย หากมีผลงานที่โดดเด่นและสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ หรือจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการต่างๆ 
    • เติบโตในสายงานระหว่างประเทศ อาจได้รับโอกาสทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) หรือธนาคารโลก (World Bank)
  • ความท้าทายของอาชีพนักวิจัยนโยบายสาธารณะ
    • สถานการณ์ทางการเมืองที่มีความเปลี่ยนแปลง อาจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และทำให้การทำงานในบทบาทนักวิจัยหรือประเด็นในการทำงานมีความยากลำบากขึ้น
    • ความท้าทายในเรื่องการหาทุนวิจัย บางครั้งนักวิจัยอาจไม่สามารถกำหนดประเด็นวิจัยได้ตามความต้องการหรือความจำเป็น ต้องขึ้นอยู่กับประเด็นความสนใจของผู้ให้ทุนด้วย 
    • ข้อจำกัดด้านทรัพยากร  บางครั้งงานวิจัยอาจประสบปัญหาด้านงบประมาณ เวลา และกำลังคน
  • ช่องทาง Facebook ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนักวิจัยนโยบายสาธารณะ 

 

  • หน่วยงานที่มีการทำงานวิจัยนโยบายสาธารณะ 
    • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute) https://tdri.or.th/
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ https://www.pier.or.th/ 
    • สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา (IPPD) https://ippd.or.th/

101 Pub https://101pub.org/