จิตแพทย์

BRAND'S BRAIN CAMP

จิตแพทย์

แพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาคนไข้ที่มีอาการผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความผิดปกติทางด้านสมอง ระบบประสาท พันธุกรรม หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Psychologist_amico_3f18688c40
  • วินิจฉัยอาการและตรวจสภาพจิต (Mental Status Examination) ด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเหมาะสมกับคนไข้
  • บำบัดรักษา ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจด้วยการสั่งยา และ ทำจิตบำบัด (Psychotherapy) เพื่อช่วยให้คนไข้ทำความเข้าใจถึงตัวตน ปัญหา และที่มา ซึ่งจะช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างที่คนไข้ต้องการ
  • ให้คำปรึกษา สนับสนุนให้ผู้เข้ารับบริการเข้าใจปัญหาของตนเองอย่างลึกซึ้ง และร่วมกันค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา
  • ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล เภสัชกร เพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาหรือช่วยเหลือคนไข้
  • ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อพัฒนาวิธีการบำบัดและเครื่องมือทางจิตวิทยาที่เหมาะสม
  1. รวบรวมข้อมูลเพื่อวินิจฉัยโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตรวจร่างกาย พูดคุยสอบถาม สังเกต ดูข้อมูลผลตรวจสภาพทางจิต (Mental Status Examination) และประวัติสุขภาพ เป็นต้น
  2. วางแผนการรักษา (อาจวางแผนร่วมกับแพทย์หรือผู้ชำนาญเฉพาะทางสาขาอื่นๆ หรือร่วมกับคนไข้) โดยอาจเป็นได้ทั้งการสั่งยา ,การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) ที่เหมาะสมกับคนไข้ หรือบางรายอาจต้องใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไป 
  3. ดำเนินการรักษา รักษาคนไข้ตามแผนที่ได้วางไว้
  4. ติดตามผลการรักษา เช่น นัดคนไข้มาติดตามผลเพื่อปรับเพิ่ม – ลดขนาดยา เดินตรวจดูอาการของคนไข้ในตอนเช้าและเย็น เป็นต้น
  1. นักสังคมสงเคราะห์
  2. นักจิตวิทยา 
  3. พยาบาลทั่วไป และ พยาบาลเฉพาะทางจิตเวช 
  4. เภสัชกร 
  5. แพทย์สาขาอื่นๆ 
  6. นักกิจกรรมบำบัด
  • สถานที่ทำงาน จิตแพทย์สามารถทำงานได้ทั้งในสถานพยาบาลของภาครัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัย และยังสามารถเปิดคลินิกส่วนตัวนอกเวลาทำการได้อีกด้วย 
  • เวลาทำงาน โดยทั่วไปแล้วจิตแพทย์ในประเทศไทยมักทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการจัดเวรของแต่ละโรงพยาบาล 
  • อาจต้องทำงานนอกเวลาเพื่อรองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 
  1. ความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวช เข้าใจธรรมชาติของโรคทางจิตเวชต่างๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคสองขั้ว โรคจิตเภท และโรคทางจิตเวชอื่นๆ
  2. ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดรักษา สามารถเลือกวิธีการบำบัดที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย เช่น การใช้ยา การบำบัดด้วยการพูดคุย การบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า ฯลฯ
  3. ทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจกับคนไข้ เช่น การรับฟังอย่างตั้งใจ การให้คำปรึกษา
  4. ความสนใจ เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้งจิตใจ ครอบครัว และสังคม
  • ผลตอบแทน  ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่สังกัด หากสังกัดอยู่โรงพยาบาลรัฐจะได้ค่าตอบแทนเริ่มต้นที่ 50,000 บาทขึ้นไป หากสังกัดโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ 120,000 – 300,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแพทย์แต่ละคน
  • โอกาสและเส้นทางการเติบโตของอาชีพจิตแพทย์ 
    • การทำงานในโรงพยาบาล จะมีการเลื่อนขั้นตามระบบของแต่ละโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสายงาน โดยสามารถเลื่อนขั้นขึ้นเป็นจิตแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Subspecialist) ได้ เช่น  จิตเวชเด็กและวัยรุ่น , จิตเวชผู้สูงอายุ หรือ จิตเวชคนไข้ยาเสพติด เป็นต้น
    • หากมีความสามารถในการบริหารร่วมด้วย สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นตำแหน่งผู้บริหารโรงพยาบาลได้ 
    • สามารถเป็นอาจารย์ตามสถาบันการศึกษาเพื่อสอนวิชาทางจิตแพทย์หรือจิตวิทยาได้
    • สามารถเปิดคลินิกส่วนตัวได้ 
  • ความท้าทายของอาชีพจิตแพทย์
    • ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับอารมณ์ของคนไข้  ซึ่งมีสภาวะทางจิตที่หลากหลาย บางครั้งคนไข้อาจมีอารมณ์รุนแรงและเสี่ยงอันตราย เช่น มีอาการอยากฆ่าตัวตายหรือเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเอง หรือ ผู้อื่น
    • ต้องสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ สามารถรับฟังปัญหาของคนไข้ได้โดยไม่นำมาบั่นทอน หรือ นำเก็บไปคิดเป็นเรื่องของตนเอง
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพจิตแพทย์
    • Ramathibodi Psychiatry. (2018, November 17). ตามติดชีวิต แพทย์ประจําบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=sJMZAqS67pg
    • TruePlookpanya Channel. (2022, September 27). How to จิตแพทย์รามา สํารวจชีวิตเด็กจิตแพทย์ เค้าเรียนอะไร? [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=TD_5uFCLV8g