นักพิสูจน์อักษร

BRAND'S BRAIN CAMP

นักพิสูจน์อักษร

ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ สะกด วรรณยุกต์ และการใช้คำในเอกสารต่างๆ เพื่อให้เอกสารเหล่านั้นสมบูรณ์และมีความถูกต้องทางภาษา

Editorial_commision_pana_7fb7d26d7d
  • โดยทั่วไปเป็นการทำงานกับเอกสารที่มีการจัดทำฉบับปริ๊น เช่น หนังสือ วารสาร โปสเตอร์ และแบบออนไลน์ในเว็บไซต์
  • อ่านเอกสารที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบและแก้ไข
  • ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้คำ วรรณยุกต์ การสะกด และการใช้ภาษา
  • อาจต้องมีการสืบค้นข้อมูลเพิ่ม หากเป็นเอกสารที่มีศัพท์เฉพาะในวงการนั้นๆ หรือคำศัพท์พิเศษ
  • แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบ
  • ตรวจสอบเอกสารอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าได้แก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดแล้ว
  1. บรรณาธิการ (Editor)
  2. นักเขียน (Writer)
  • สถานที่ทำงานของนักพิสูจน์อักษรจะเป็นการเข้าออฟฟิศของบริษัท หากเป็นฟรีแลนซ์จะสามารถรับงานมาทำที่บ้านได้
  • เวลาทำงานของนักพิสูจน์อักษรที่สังกัดบริษัท โดยทั่วไปจะประมาณ 8 – 9 ชั่วโมงต่อวัน และอาจมีการทำงานล่วงเวลาบ้างในช่วงที่มีงานด่วน
  1. มีความรู้และทักษะทางภาษาไทยด้านการใช้คำ วรรณยุกต์ การสะกด การวางประโยค และการใช้ภาษาในเอกสารหลากหลายรูปแบบ (หากถนัดภาษาอังกฤษด้วยจะเป็นประโยชน์มาก)
  2. ซื่อตรง รักษามาตรฐานการตรวจสอบเอกสาร
  3. มีความรอบคอบ ใส่ใจในรายละเอียด
  4. ช่างสังเกต
  5. ความจำดี ช่างจดจำ
  6. มีสมาธิดี จดจ่อ
  7. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและอินเตอร์เน็ทได้
  • โอกาสการเติบโตในสายงานอาชีพนี้ จะแบ่งตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ 
    – จูเนียร์ ทำหน้าที่แก้ไขเอกสารและบทความที่อยู่ในระดับพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบคำผิด คำใช้ผิด และคำต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม 
    – ซีเนียร์ ทำหน้าที่ดูแลการทำงานของนักพิสูจน์อักษรระดับจูเนียร์ และรับผิดชอบการตรวจสอบเอกสารที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดที่มากขึ้น รวมถึงเป็นผู้ประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    – อาจขยับขึ้นเป็นรองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ ที่ดูแลภาพรวมงานทั้งหมดต่อไป
  • แนวโน้มของเทคโนโลยี AI อาจมีผลกระทบที่เป็นประโยชน์กับอาชีพนักพิสูจน์อักษร ด้านการตรวจหาและแก้ไขคำสะกดผิด อาชีพนี้ถือว่ายังเป็นที่ต้องการของสังคม โดยเฉพาะในวงการหนังสือ ที่ต้องอาศัยความเข้าใจในภาษาและการใช้คำต่างๆ จากหลากหลายด้าน ทั้งความถูกต้องทางไวยากรณ์ คำสะกดที่ถูกต้อง การใช้คำที่สอดคล้องกับบทความ และความสมเหตุสมผลของเนื้อหาในบทความ รวมถึงเมื่อเจอจุดที่ไม่แน่ใจ ก็จะต้องหารือร่วมกับนักเขียนหรือบรรณาธิการด้วย
  • ความเสี่ยงที่นักพิสูจน์อักษรอาจพบ เช่น ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับตา ตาแห้ง สายตาสั้น และอาการออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากน้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน และอาจมีความกดดันในงานสูง เพราะคาดหวังว่าจะไม่มีจุดที่ต้องแก้ไขหรือคำผิดอีกเมื่อตรวจงานจนส่งเรียบร้อยแล้ว
  • ค่าตอบแทนของนักพิสูจน์อักษร จะขึ้นอยู่กับบริษัทหรือองค์กรที่สังกัด ระดับความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ โดยเฉลี่ยเงินเดือนของนักพิสูจน์อักษรจะอยู่ระหว่าง 15,000 – 30,000 บาทต่อเดือน และมีสวัสดิการพื้นฐานตามที่บริษัทกำหนด แต่หากเป็นฟรีแลนซ์จะได้ค่าตอบแทนตามความยากง่ายของงาน ปริมาณงาน และระยะเวลาทำงาน
  • อ่านหนังสือ เพื่อเรียนรู้พื้นฐานที่ดี ทำความเข้าใจหลักการรวมถึงวิธีการทำงานของนักพิสูจน์อักษร การอ่านเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มพูนคลังศัพท์

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะมนุษยศาสตร์ 
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
  • คณะศิลปศาสตร์ 
  • คณะอักษรศาสตร์ 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567