อาจารย์นิติศาสตร์

BRAND'S BRAIN CAMP

อาจารย์นิติศาสตร์

ผู้ทำหน้าที่สอน วิจัย และให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย โดยมุ่งสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ พัฒนานักกฎหมายรุ่นใหม่ และมีบทบาทในการผลักดันประเด็นกฎหมายร่วมกับสังคม พร้อมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และตั้งคำถามต่อกฎหมายที่มีอยู่ผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียนและการบริการวิชาการภายนอก

อาจารย์นิติศาสตร์
  • การสอนวิชากฎหมาย สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในระดับปริญญาตรี-โท-เอก รวมถึงหลักสูตรอบรมภายนอก เช่น กฎหมายแพ่ง อาญา มหาชน และระหว่างประเทศ พร้อมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และจริยธรรม
  • การทำวิจัยทางวิชาการ ศึกษา วิเคราะห์ และตีพิมพ์งานวิจัยกฎหมาย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ เสนอทางออกเชิงนโยบาย และใช้เป็นผลงานทางวิชาการ
  • การบริการวิชาการแก่สังคม ให้คำปรึกษา จัดอบรม หรือร่วมเป็นวิทยากรในประเด็นร่วมสมัย เช่น สิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติ หรือกฎหมายใหม่
  • การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ออกแบบหลักสูตรให้ทันสมัย เชื่อมโยงกับวิชาอื่น และตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี
  • เป็นกรรมการสอบและประเมินงานวิชาการ ตรวจวิทยานิพนธ์ สอบความรู้ และให้คำแนะนำเชิงลึกแก่ผู้เรียนในระดับสูง
  • การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ เขียนบทความ ออกสื่อ จัดเวทีเสวนา หรือใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อสื่อสารกฎหมายให้สังคมเข้าใจง่าย
  • ดูแลงานการจัดการทั่วไปของคณะ ช่วยจัดการเรื่องทั่วไปของนักศึกษาและงานคณะ เช่น ระบบทะเบียน การให้คำปรึกษาทั่วไป การประสานงานในงานกิจกรรมหรืองานวิชาการ
  1. เตรียมและจัดการสอน กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และเตรียมเนื้อหาและเอกสารประกอบการสอน (หรือการบรรยายเมื่อถูกเชิญเป็นวิทยากร) เช่น PowerPoint, เอกสารอ่านประกอบ, กรณีศึกษาสำหรับอภิปราย 
  2. วางแผนตารางเรียนและกิจกรรม กำหนดจำนวนครั้งที่สอน เช็ควันหยุด สลับวิชากับอาจารย์คนอื่น วางแผนเนื้อหาที่ต้องสอนในแต่ละสัปดาห์ และพิจารณาเชิญวิทยากรในบางหัวข้อ
  3. สอนและให้คำปรึกษา ดำเนินการสอนในห้องเรียน ทั้งแบบบรรยายและอภิปรายกลุ่ม พร้อมให้คำปรึกษารายบุคคลเรื่องการเรียน วิทยานิพนธ์ หรือความก้าวหน้าในอาชีพ
  4. ปรับปรุงเนื้อหาจาก feedback เช็คผลการสอนจากฟีดแบ็คของนักศึกษาและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อปรับการสอนหรืออัปเดตสไลด์และบทเรียนให้ทันสถานการณ์
  5. จัดทำเอกสารและประเมินผล ออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ตรวจเปเปอร์ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และจัดทำเอกสารตามระบบประกันคุณภาพ
  6. ทำงานวิจัย เสนอหัวข้อ ขอทุน จัดทำแผนการศึกษา ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามหรือรีวิววรรณกรรม เขียนบทความและส่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
  7. พัฒนาตนเองทางวิชาชีพ อ่านหนังสือ อัปเดตความรู้กฎหมาย เข้าร่วมอบรม สัมมนา หรือศึกษาต่อระดับสูงเพื่อเพิ่มศักยภาพในฐานะนักวิชาการ
  1. อาจารย์มหาวิทยาลัย ในสาขาแขนงอื่น
  2. เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย
  • สถานที่ทำงาน เช่น คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน, สถาบันวิจัยด้านกฎหมาย  
  • เวลาทำงาน วันจันทร์–ศุกร์ เวลาราชการ 8:00–16:00 น. หรือตามตารางสอน หยุดวันเสาร์–อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามเวลาทำงานจริงขึ้นอยู่กับภาระงาน ทั้งการสอน วิจัย และงานบริการวิชาการ มีความยืดหยุ่นสูง
  • อาจมีงานนอกเวลาในกรณีเป็นวิทยากรของการอบรม การประชุม หรือกิจกรรมพิเศษ 
  1. ความรู้ด้านกฎหมาย ต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขากฎหมายที่สอน เช่น กฎหมายแพ่ง, กฎหมายอาญา, กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น
  2. ทักษะการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ สามารถอธิบายเนื้อหาซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ทั้งในห้องเรียนและเวทีวิชาการ
  3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางกฎหมายที่เป็นระบบ
  4. ทักษะการวิจัยและเขียนทางวิชาการ รู้วิธีตั้งคำถามวิจัย เขียนบทความวิชาการ และตีพิมพ์ในวารสารทางกฎหมาย
  5. ความรู้ด้านนโยบายและสังคม เข้าใจบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อกฎหมายและสิทธิมนุษยชน
  6. ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ อ่านเอกสารกฎหมายต่างประเทศ ตีพิมพ์ผลงาน และสื่อสารในเวทีวิชาการนานาชาติได้
  7. ทักษะการให้คำปรึกษา ช่วยนักศึกษาแก้ปัญหาทางวิชาการหรือแนะแนวสายอาชีพ
  • ผลตอบแทน 
    • อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ (วุฒิป.โท-ป.เอก) ประมาณ 20,000–35,000 บาท/เดือน ขึ้นอยู่กับวุฒิและตำแหน่ง
    • อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 25,000 บาท/เดือนขึ้นไป โดยบางแห่งจ่ายตามจำนวนคาบเรียน
    • รายได้เสริมจากงานวิจัย การให้คำปรึกษา การอบรมภายนอก หรือการตีพิมพ์บทความ
    • ค่าตำแหน่งและเงินวิจัย มีรายได้เพิ่มจากการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์พิเศษ หรือหัวหน้าภาค
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพอาจารย์นิติศาสตร์
    • เติบโตในสายอุดมศึกษา เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาค คณบดี รองอธิการบดี อธิการบดีหรือผู้บริหารมหาวิทยาลัย
    • เป็นนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำงานร่วมกับองค์กรรัฐ เอกชน หรือองค์กรนานาชาติด้านนโยบายและกฎหมาย
    • ขยายบทบาทสู่เวทีสาธารณะ เป็นวิทยากร นักเขียนบทความ ผู้ให้ความเห็นทางกฎหมายในสื่อหรือเวทีนโยบาย
    • ไปสอนหรือทำวิจัยต่างประเทศ ผ่านทุน Visiting Scholar หรือทุนขององค์กรวิจัย
    • ทำควบคู่กับอาชีพอื่น เช่น เป็นทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญในศาล หรือกรรมการกฎหมาย
  • ความท้าทายของอาชีพอาจารย์นิติศาสตร์
    • แรงกดดันจากการแสดงความเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะในประเด็นอ่อนไหวต่ออำนาจรัฐ ภาคสังคม และกรณีระหว่างประเทศ
    • การต้องรักษาความเป็นกลาง ต้องแยกความคิดเห็นส่วนตัวออกจากเนื้อหาวิชาการ เพื่อความน่าเชื่อถือและเปิดกว้าง
    • ภาระงานหลากหลาย ต้องบริหารเวลาให้ดีระหว่างการสอน วิจัย บริการวิชาการ และงานบริหารในคณะ
    • การทำงานกับนิสิตหลากหลาย ต้องมีทักษะในการถ่ายทอดที่เข้าถึงง่าย สื่อสารให้คนหมู่มากเข้าใจ และรับมือกับนักศึกษาต่างพื้นฐาน
    • การแข่งขันในวงวิชาการ ต้องมีผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และผ่านกระบวนการประเมินที่เข้มข้น
    • ความคาดหวังสูง สังคมและนักศึกษามักคาดหวังให้อาจารย์รู้และออกความเห็นในประเด็นสาธารณะในหลากหลายเรื่อง
    • การอัปเดตความรู้ ต้องตามให้ทันประเด็นกฎหมายใหม่ ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพอาจารย์นิติศาสตร์
  • พี่ต้นแบบอาชีพอาจารย์นิติศาสตร์ [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2568]