นักบิน

BRAND'S BRAIN CAMP

นักบิน

ผู้ขับและควบคุมการบินเพื่อนำผู้โดยสารไปส่งยังที่หมายให้ปลอดภัย ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย ตรงเวลา โดยนักบินจะต้องเตรียมพร้อมวิธีการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำการบินอยู่เสมอ

Air_Support_pana_68de20dc84

เตรียมความพร้อมก่อนนำเครื่องบินออกเดินทาง ดูแลควบคุมการบินให้ราบรื่นตลอดเส้นทาง และนำเครื่องลงจอดยังจุดหมายโดยปลอดภัย สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นที่ตั้ง

  • เดินทางไปที่สำนักงานก่อนผู้โดยสาร ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อเช็กข้อมูลสภาพอากาศ
  • ร่วมฟังชี้แจงกับลูกเรือ (แอร์โฮสเตสและสจ๊วต) เรื่องเส้นทางการบิน สภาพอากาศ ผู้โดยสาร ที่อาจมีกรณีพิเศษหรือบุคคลพิเศษ เช่น เที่ยวบินนี้จะมีผู้โดยสารที่มีความต้องการพิเศษ คือ มีอาการป่วยที่ต้องมีอุปกรณ์การแพทย์ติดตัวระหว่างเดินทาง เป็นต้น
  • ประสานงานกับหน่วยช่าง เรื่องการเตรียมเครื่องก่อนบิน เช่น การตรวจเช็กสภาพเครื่องบินทั่วๆ ตรวจเช็กสภาพน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ระบบนำร่องสื่อสารต่างๆ
  • รอผู้โดยสารขึ้นเครื่อง เข้าประจำที่นั่งคนขับและนำเครื่องออกเดินทางตามเวลาที่กำหนด
  • ปฏิบัติภารกิจควบคู่กับการสื่อสารรายงานกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นถึงรายละเอียดต่างๆ ตามระเบียบการบิน
  1. ผู้ประสานงานการบิน (Dispatcher) ผู้วางแผนทางเส้นทางการบินในเส้นทางที่ประหยัดที่สุดและปลอดภัยที่สุด
  2. ลูกเรือ (Cabin crew – สจ๊วตและแอร์โฮสเตส) ผู้ดูแลผู้โดยสาร
  3. ฝ่ายช่างการบินหรือช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน (Airframe Technician) ผู้ดูแลความพร้อมเครื่องก่อนบิน
  4. ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air traffic controler หรือ ATC) ตำรวจจราจรบนท้องฟ้า ผู้คอยกำหนดให้เครื่องบินขึ้นลงและออกเดินทางได้ตามเวลา
  5. เจ้าหน้าที่ภาคพื้น (Ground staff) ที่สนามบิน เรื่องของการดูแลผู้โดยสารหลังจากลงจากเครื่อง
  6. หน่วยแพทย์ (Medical team)
  7. หน่วยรักษาความปลอดภัย (Security guard) 
  8. ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (Immigration officer)
  9. หน่วยศุลกากร (Customs officer)
  • สังกัดตามบริษัทสายการบินต่างๆ ทั้งที่เป็นสายการบินพาณิชย์ (ขนส่ง, ขนของ) หน่วยงานการบินของราชการ กองทัพอากาศ ตำรวจ โรงเรียนสอนขับเครื่องบิน หรือแม้แต่บริษัทที่มีเครื่องบินของตัวเอง เช่น เฮลิคอปเตอร์
  • ห้องทำงานนักบิน (Cockpit) จะมีแผงควบคุมและอุปกรณ์สื่อสาร โดยนักบินจะต้องนั่งประจำที่และเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้พร้อมก่อนนำเครื่องขึ้นทุกครั้ง
  • ตารางการทำงานของนักบินจะขึ้นอยู่กับตารางการบินในแต่ละเดือนที่กำหนดโดยบริษัทที่สังกัด และเวลาของการบินในแต่ละเที่ยวบินก็จะขึ้นอยู่กับประเทศที่ไปและต้นทุนของบริษัท ทั้งนี้จะมีข้อกำหนดจำนวนชั่วโมงบินที่สามารถทำงานได้ต่อเดือนด้วย
  1. จบหลักสูตรการเป็นนักบิน มีความรู้เรื่องการทำงานของเครื่องบิน สภาพอากาศ ชนิดของลมและเมฆ เป็นต้น
  2. มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษ (คู่มือที่มากับเครื่องบินจะเป็นคู่มือภาษาอังกฤษและต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารกับผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ)
  3. มีทักษะการตัดสินใจที่เฉียบขาดและแม่นยำ ภายในเวลาอันสั้น 
  4. สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ สามารถจินตนาการเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิด
  • เส้นทางการเติบโตในสายอาชีพของนักบินจะเริ่มต้นที่การสอบเป็นนักเรียนทุนของสายการบินต่างๆ เพื่อเรียนพื้นฐานการบินเบื้องต้นด้วยเครื่องบินเล็ก (ฝึกบินประมาณ 80 – 200 ชั่วโมง) หลังจากนั้นจะเข้าไปเป็นนักบินฝึกหัดของสายการบินนั้นๆ โดยต้องทำการฝึกหัดอีกประมาณ 1 – 2 ปี แล้วใช้เวลาอีก 3 – 4 ปีเป็นผู้ช่วยนักบินอาวุโส เก็บประสบการณ์อีก 5 – 7 ปี แล้วสอบขึ้นไปเป็นนักบินที่หนึ่งหรือตำแหน่งที่เรียกว่ากัปตัน 
  • อาชีพนักบินสามารถต่อยอดไปเป็นช่าง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบิน หรือทำงานกับหน่วยงานทางอวกาศ ซึ่งประเทศไทยยังค่อนข้างจะขาดบุคลากรประเภทนี้
  • คุณค่าที่ได้จากการประกอบอาชีพนักบิน คือ ความภาคภูมิใจที่ได้นำส่งผู้โดยสารอย่างปลอดภัย ได้พบความท้าทายและประสบการณ์ใหม่ๆ จากการบินไปในแต่ละสถานที่ ในแต่ละเที่ยวบิน
  • คุณค่าของการเป็นนักบินต่อสังคม คือ การขับเครื่องพาผู้โดยสารไปส่งยังที่หมายโดยความปลอดภัยตรงเวลา และทำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เร็วมากขึ้น
  • ความท้าทายด้านสุขภาพ คือ นักบินจะต้องทำงานอยู่ในพื้นที่ที่มีออกซิเจนค่อนข้างน้อยเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผลต่อสุขภาพทั้งระบบการหายใจ หัวใจ กล้ามเนื้อแขนขา รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลาเพราะต้องขึ้นอยู่กับตารางการบินที่ถูกจัดในแต่ละเดือน ในขณะที่นักบินบางคนเจอผลกระทบด้านการแบ่งเวลาให้ครอบครัวและคนรอบข้าง เนื่องจากตารางเวลางานและวันหยุดที่อาจจะไม่ตรงกัน
  • ความท้าทายหนึ่งที่ชัดเจนมากในยุคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือ การจำกัดหรือลดจำนวนเที่ยวบินตามมาตราการการควบคุมโรค ทำให้นักบินหลายคนต้องปรับตัวรับมือกับความไม่แน่นอน ด้วยการทำอาชีพเสริม หรือเปลี่ยนสายงาน

ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนของนักบิน (ข้อมูล ณ 7 ก.พ. 64) อาจแบ่งตามระดับได้ ดังนี้
1) ผู้ช่วยนักบิน 100,000 – 150,000 บาท
2) นักบินทั่วไป 200,000 – 350,000 บาท
3) นักบินระดับบริหารขึ้นไป จะได้เป็นเงินเดือนประมาณ 400,000 บาทขึ้นไป 
โดยจะมีค่าตอบแทนและสวัสดิการส่วนอื่นๆ เพิ่มตามระเบียบของบริษัท เช่น ค่าชั่วโมงบิน ค่าเดินทาง ฯลฯ

– สืบค้นอินเตอร์เน็ทหาแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจด้วยคำค้นหาว่า “อยากเป็นนักบิน” หรือ “นักบิน” (https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99&rlz=1C1WHCN_enTH847TH847&oq=%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99&aqs=chrome..69i57j0i19i512l9.225j0j9&sourceid=chrome&ie=UTF-8)

– บันทึกไม่ลับของคนขับเครื่องบิน (https://www.facebook.com/pilotnotebook/?ref=page_internal)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • บางสถาบันเปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี/ หลักสูตรเฉพาะ เช่น

  • สถาบันการบิน
  • คณะการบิน
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมการบิน 
  • หลักสูตรวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ (นานาชาติ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการความปลอดภัยการบิน) 
  • หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี 
  • หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล
  • หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีการบินและการอำนวยการบิน
  • บางสายการบินเปิดรับวุฒิปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่ต้องสอบชิงทุน Student Pilot ของบริษัทหรือสายการบิน, ได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี เพื่อสอบ Qualified pilot

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567