นักฟิสิกส์

BRAND'S BRAIN CAMP

นักฟิสิกส์

ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสสาร พลังงาน และ  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ตั้งแต่เรื่องของอนุภาคเล็ก ๆ อย่างอะตอม ไปจนถึงจักรวาล

physicist_cover_0fd53ef878
  • วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์ เพื่อค้นพบความรู้ใหม่ ๆ และพัฒนาทฤษฎีทางฟิสิกส์ให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
  • พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยการนำความรู้ทางฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ เช่น วัสดุนาโน พลังงานแสงอาทิตย์ เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ดำเนินการทดลองเพื่อตรวจสอบทฤษฎี หรือเพื่อสำรวจปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในธรรมชาติ
  • เขียนบทความวิชาการหรือผลการวิจัย เพื่อเผยแพร่ สื่อสาร กับคนในสายงานต่างๆ 
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เช่น เพื่อหาเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น
  2. วางแผน ออกแบบการทำงานวิจัยหรือการทดลอง
  3. ดำเนินการทดลองหรือการวิจัยตามแผนการที่ได้กำหนดไว้
  4. เก็บข้อมูล วัดผล หรือทดสอบสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์
  5. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการทดลองหรือการวิจัย เพื่อตรวจสอบสมมติฐานและสรุปผลลัพธ์ที่ได้
  6. เผยแพร่ผลงานให้ผู้คนในสังคมได้รับทราบเรื่องที่ได้ศึกษาและค้นคว้า
  1. วิศวกร
  2. นักวิทยาศาสตร์เคมี
  3. นักธรณีวิทยา
  4. อาจารย์มหาวิทยาลัย
  5. นักข่าว/ผู้สื่อข่าว
  • สถานที่ทำงานของนักฟิสิกส์ค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่สังกัดและลักษณะงานที่ทำ โดยทั่วไปแล้ว นักฟิสิกส์จะทำงานในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ และบริษัทเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, บริษัทพลังงาน เป็นต้น
  • นักฟิสิกส์จะทำงานในห้องปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นสถานที่หลักสำหรับการทดลองและวิจัย ซึ่งอาจตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หรือโรงงานอุตสาหกรรม และอาจต้องมีการเดินทางไปยังสถานีวิจัยในพื้นที่ห่างไกล
  • โดยทั่วไปแล้ว นักฟิสิกส์จะทำงานประมาณ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ก็อาจมีการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้ หากมีโครงการวิจัยที่ต้องเร่งรีบ หรือมีเหตุจำเป็นอื่นๆ
  1. ความรู้ในหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ เช่น กลศาสตร์ ไฟฟ้า แม่เหล็ก ความร้อน แสง และอะตอม
  2. ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล แก้สมการ และสร้างแบบจำลองทางฟิสิกส์ได้ เช่น แคลคูลัส พีชคณิตเชิงเส้น และสถิติ
  3. ความรู้พื้นฐานในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น เคมี ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจำเป็นในการทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ
  4. ทักษะการทดลอง สามารถออกแบบและดำเนินการทดลองได้ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
  5. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น MATLAB, Python หรือโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
  6. ทักษะการเขียนโปรแกรม สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ หรือวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 18,000 – 50,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์” มีดังนี้
    • นักวิจัย
    • หัวหน้าทีมวิจัย 
    • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “นักฟิสิกส์” คือ 
    • ทฤษฎีและหลักการทางฟิสิกส์อาจมีความซับซ้อนและยากต่อการเข้าใจ ต้องใช้เวลาในการศึกษาและประยุกต์ใช้ให้เข้าใจ
    • การทดลองและการวิจัยในสาขาฟิสิกส์อาจต้องใช้เวลานานและทรัพยากรมากทำให้ต้องใช้เงินลงทุนสูง ประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์น้อยอย่างประเทศไทยอาจจะมีตำแหน่งงานด้านนี้น้อย
    • การสื่อสารความรู้ทางฟิสิกส์ให้ผู้อื่นเข้าใจอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากความซับซ้อนของเนื้อหาและภาษาทางวิทยาศาสตร์
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
    • การวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักมีความไม่แน่นอน ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
    • อาจต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น ห้องปฏิบัติการที่มีสารเคมีอันตราย
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพนักฟิสิกส์
    • TruePlookpanya Channel. (2020, May 14). I AM ฉัน(จะ)เป็น : นักฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์.[Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=6XbocamBYjg

thaicyberu. (2016, March 8). บันไดสายอาชีพ ตอน นักฟิสิกส์ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=l0ACAd1_oSE