เภสัชกร

BRAND'S BRAIN CAMP

เภสัชกร

บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรคผ่านการให้ยา

Pharmacist_pana_e29411b4da
  • จ่ายยาให้กับผู้ป่วย ตามใบสั่งหรือคําสั่งของแพทย์  หรือตามความจำเป็น
  • จัดเตรียมและจัดการยา เช่น ตรวจสอบคุณภาพยา การสั่งซื้อนำเข้ายา การจัดเก็บรักษายา
  • ให้คำแนะนำและคำปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้ยา การรักษาและความปลอดภัยของยา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและใช้ยาอย่างถูกต้อง
  1. (เทียบกับโรคหรืออาการของโรคที่แพทย์วินิจฉัย) และประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย
  2. ตรวจสอบปริมาณของยาและข้อมูลทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิธีการใช้, และความถี่ในการใช้ยา
  3. ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัยแก่ผู้ป่วย และตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับยา
  4. ทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการยาและการให้คำปรึกษาเพื่อการติดตามและประเมินผล
  5. ตรวจนับ สั่งซื้อ ตรวจสอบคุณภาพ และจัดเก็บยาให้ถูกต้องและเป็นระบบ 
  6. หรือทำการเตรียมยาและสารเคมีทางการแพทย์ตามคำสั่ง
  1. พยาบาล
  2. แพทย์
  3. นักเทคนิคทางการแพทย์
  4. ผู้แทนบริษัทเครื่องมือ ผู้แทนบริษัทยา
  • ทำงานได้ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน  คลินิก ร้านขายยา โรงงานผลิตยา ฯลฯ 
  • เวลาในการทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของหน่วยงานที่สังกัด ในร้านขายยา หรือบริษัทผลิตยา อาจมีเวลาเข้าออกงานชัดเจน ส่วนการทำงานในโรงพยาบาล มักทำงานในระบบกะที่เปลี่ยนเป็นกะ (กะละ 8 ชั่วโมง)
  1. ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของยาและสารเคมีทางการแพทย์ รวมถึงกระบวนการผลิตและคุณสมบัติของยาต่างๆ
  2. ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ (อ่าน, เขียน)
  3. ทักษะในการจัดการยา รวมถึงการนับ, เตรียม, และบรรจุยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 60,000 บาทต่อเดือน 
  • สามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งการทำงานสายการสอนในโรงเรียนแพทย์ บรรจุเข้ารับข้าราชการในโรงพยาบาลรัฐหรือกระทรวงสาธารณสุข และสามารถทำงานในสังกัดเอกชนอย่างโรงพยาบาลเอกชน หรือเปิดร้านขายยาเป็นของตัวเอง
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “เภสัชกร” มีดังนี้
    • สายงานในโรงเรียนแพทย์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์
    • สายงานในโรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข
      • เภสัชกร (เลื่อนขั้นตามระบบราชการ)
      • หัวหน้าหน่วยเภสัชกรรม
    • สายงานบริษัทเอกชน
      • ผู้แทนยา (ดีเทลยา),เภสัชกรควบคุมคุณภาพ (QC),เภสัชกรประจำร้านยา
      • หัวหน้าหรือผู้จัดการ
      • ผู้บริหาร 
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “เภสัชกร” คือ 
    • ต้องมีความระมัดระวังในการจัดการยาและสารเคมีทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่อสุขภาพ 
    • ต้องสื่อสารให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะสามารถใช้ยาได้ถูกต้องด้วยตัวเอง 
    • เภสัชกรประจำร้านยาอาจต้องรับมือกับผู้ป่วยที่ซื้อยาด้วยตัวเอง ซึ่งอาจให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน และนำไปสู่การจ่ายยาผิดได้ 
    • เภสัชกรต้องคอยอัปเดตติดตามผลการศึกษาตัวยาต่างๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง คุณโทษของยา ซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • ความเสี่ยงของอาชีพ “เภสัชกร” คือ 
  • ความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องจากการจ่ายยาผิด หรือการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิต
  • งานในโรงพยาบาลเป็นงานที่ค่อนข้างหนัก เภสัชกรต้องทำงานในโรงพยาบาลอย่างหนัก ภาระงานมาก มีเวลาพักผ่อนน้อย เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น หมอ หรือ พยาบาล ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพเภสัชกร

thaicyberu. (2016, March 8). บันไดสายอาชีพ ตอน เภสัชกร [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=CeY1VrWpw9M