เชฟทำขนม/เบเกอรี่

BRAND'S BRAIN CAMP

เชฟทำขนม/เบเกอรี่

ผู้สร้างสรรค์ขนมเบเกอรี่ (ปาติซิเย) ให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพด้วยส่วนผสมตามสูตรที่วางไว้ กรรมวิธีการทำที่สะอาด มีมาตรฐาน รสชาติดี และรูปลักษณ์สวยงาม น่ารับประทาน 

pastry_chef_pana_a3869d4566
  • ผลิตและสร้างสรรค์ไอเดียทำขนมเบเกอรี่ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน รวมถึงตรงใจผู้บริโภค
  1. รับมอบหมายและตรวจทานว่ามีขนมอะไรบ้างที่จะต้องทำหรือต้องรับผิดชอบ (กรณีเป็นร้านเบเกอรี่ อาจประเมินว่าร้านควรเพิ่มเติมขนมประเภทใดลงในตู้หน้าร้านบ้าง)
  2. เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำขนมประเภทนั้นๆ 
  3. ลงมือทำ โดยขั้นตอนและวิธีการจะต่างกันไปตามประเภทของขนม ทั้งการผสมวัตถุดิบ นวด คน อบ พัก ฯลฯ นอกจากความรู้ด้านการทำขนมแล้ว ยังต้องคอยบริหารจัดการด้วย เช่น ทยอยล้างอุปกรณ์ในช่วงพักขนม หรือใช้เวลาในระหว่างอบขนมอย่างหนึ่ง ไปเตรียมผสมส่วนผสมของขนมอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น เพื่อให้สามารถจัดสรรงานได้เหมาะกับเวลาที่มีจำกัด เพราะจะต้องนำจัดใส่ตู้หน้าร้านก่อนร้านเปิด หรือบรรจุและขนส่งออกไปให้ร้านต่างๆ ก่อนที่ร้านจะเปิด
  4. รักษาความสะอาดของครัวทำขนมและจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับพร้อมใช้ในวันต่อๆ ไป
  5. สืบค้นและค้นคว้าไอเดียสำหรับนำมาพัฒนาสูตรขนมใหม่ๆ หรือสูตรขนมเดิมให้ดีขึ้น
  1. พนักงานขาย เพื่อรับรู้ว่าเราขายขนมอะไรไปบ้างและต้องทำขนมอะไรเพิ่มเติม ลูกค้าเป็นอย่างไรชอบแบบไหน
  2. ฝ่ายจัดซื้อ เพื่อแจ้งว่าต้องการวัตถุดิบอะไรบ้างในการทำขนม ต้องการปริมาณเท่าใด ต้องการเมื่อไร
  3. เจ้าของร้าน เพื่อรายงานผลการทำงาน
  4. ครีเอทีฟ หรือที่ปรึกษาร้านอาหาร เพื่อหารือไอเดียการปรับขนมเพื่อเพิ่มโอกาสการขายหรือพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น ตีมการทำเค้กสำหรับวางหน้าตู้ในช่วงเทศกาล เป็นต้น
  • อาชีพเชฟเบเกอรี่สามารถสังกัดอยู่ในหลายประเภทธุรกิจ ทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ โรงแรม หรือทำงานที่บ้านเพื่อจัดส่งขนมให้ร้านค้า เป็นต้น
  • ช่วงเวลาการทำงานจะมีการแบ่งกะทำงาน แต่โดยปกติหากสังกัดร้าน จะมีชั่วโมงการทำงานประมาณ 8 – 9 ชั่วโมง/ วัน
  1. รักในการทำขนมเบเกอรี่ สนใจศาสตร์การทำเบเกอรี่
  2. มีความคิดสร้างสรรค์ 
  3. มีความละเอียดรอบคอบ 
  4. มีความรับผิดชอบ มีวินัยการทำงาน
  5. รักความสะอาด 
  6. รักการเรียนรู้และพร้อมพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
  7. มีทักษะการบริหารงานและจัดการเวลา 
  8. มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • เชฟทำขนมเริ่มแรกอาจได้รับมอบหมายให้ประจำสเตชั่นเล็กๆ ช่วยเตรียมวัตถุดิบ หรือทำเมนูที่ไม่ยุ่งยากมาก แต่เมื่อสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ จะได้เลื่อนขั้นการทำงานที่รับผิดชอบเมนูที่ซับซ้อนขึ้นไปจนถึงการคิดค้าสูตรเมนูใหม่ๆ จนได้เป็น Executive Pastry Chef
  • การต่อยอดในวิชาชีพอื่นๆ สามารถพัฒนาไปเป็นได้ทั้ง Food stylist ที่ปรึกษา นักคิดค้นสูตร ผู้ประกอบการเจ้าของร้านเบเกอรี่ ฯลฯ
  • ความท้าทายในอาชีพนี้ ได้แก่ – วันทำงานและวันหยุด รวมถึงช่วงเวลาพักอาจไม่ตรงกับคนทำงานอาชีพอื่น เพราะช่วงที่ลูกค้ามักต้องการขนมหวานส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาพักผ่อน เช่น ช่วงพักกลางวัน วันหยุด ช่วงเทศกาล – ปัญหาด้านสุขภาพ เพราะงานในครัวเป็นงานที่ค่อนข้างหนัก การทำงานลักษณะเดิมซ้ำๆ หรือต้องยกกล่องวัตถุดิบที่มีน้ำหนักเป็นประจำ อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อที่แขน มือ หลัง ได้ จึงจำเป็นต้องสังเกตร่างกายตัวเอง แบ่งเวลาออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพให้พร้อมทำงานเสมอ
  • ค่าตอบแทนกรณีเป็นพนักงานประจำ อาจอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับการประเมินศักยภาพที่มีเทียบกับฐานเงินเดือนของร้าน และจะมีค่าบริการให้เพิ่มตามสัดส่วนที่แต่ละร้านกำหนด
  • ผลที่ได้นอกเหนือจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง คือการรับรู้ว่างานที่ทำมีส่วนในทุกๆ ช่วงเวลาความสุขของลูกค้า ทั้งวันเกิด วันครบรอบ วันแต่งงาน ฯลฯ
  • ศึกษาการทำงานของเชฟเบเกอรี่จาก Youtube เช่น https://www.youtube.com/@MiaBakes

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี/ หลักสูตรเฉพาะ เช่น

  • เปิดรับวุฒิ ป.ตรีสาขาทุกสาขา แต่ควรจบหลักสูตรอบรมด้านการทำขนมเพิ่มเติมเช่น
    • การทำเบเกอรี่เบื้องต้น
    • การทำขนมเค้กและขนมอบมืออาชีพขั้นสูง
    • หลักสูตรการประกอบขนมอบ ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567