สูตินรีแพทย์

BRAND'S BRAIN CAMP

สูตินรีแพทย์

สูตินรีแพทย์ไม่ได้ทำคลอดเพียงย่างเดียว อาชีพนี้จะดูแลเรื่องของผู้หญิงด้วย ตั้งแต่ก่อนเป็นสาว เข้าวัยสาว โอกาสการมีบุตร วัยทอง ฯลฯ เรียกได้ว่าเรื่องทุกเรื่องของผู้หญิงตั้งแต่เกิดจนแก่

Gynecology_consultation_pana_0226cb1877

สูตินรีเวชจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ฝากครรภ์ ก็ตรงไปตรงมา ขั้นตอนก็จะฝากครรภ์ แล้วก็ทำคลอด อันนี้ก็เป็นหนึ่งเส้นทางของหมอสูติ 
  2. ส่วนนรีเวชก็จะดูว่าเป็นโรคอะไร ขั้นตอนก็จะเป็นการซักประวัติ ตรวจร่างกาย แล้วก็ส่งใช้ Lab บางอย่างตรวจเพิ่ม ถ้ารู้ว่าเป็นอะไรก็ทำการรักษา ซึ่งการรักษาก็มีหลายอย่าง เช่น ใช้ยา ผ่าตัดเป็นต้น 

 

นอกจากนี้ก็อาจจะมีงานที่เราให้ความรู้ เช่น ออกไปโรงเรียนต่างๆ หรือที่ทำงานเพื่อให้ความรู้คุมว่ากำเนิดทำอย่างไร  การป้องกันทำอย่างไร ตามแต่โครงการของโรงพยาบาลนั้นๆ จะจัดให้มีดำเนินการขึ้น

อาชีพนี้ทำงานร่วมกับ

  • พยาบาล
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น วิสัญญีแพทย์, กุมารแพทย์, อายุรแพทย์, ศัลยแพทย์ เป็นต้น

เพราะงานของเราเรียกได้ว่าเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary) ต้องทำงานเป็นทีม โดยจะเป็นทีมใหญ่หรือไม่ก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ถ้าคลอดลูกปกติก็จะมีแค่เรากับพยาบาล แต่ถ้าสมมติว่าผ่าตัดแล้วมีภาวะแทรกซ้อนก็จะมีศัลยแพทย์มาช่วยดูแลด้วย  หรือถ้าเป็นการทำคลอดเด็กที่มีปัญหา กุมารแพทย์ก็จะมารอดูแลเลยคือเด็กคลอดปุ๊บ กุมารแพทย์ก็รับหน้าที่ทันที เป็นต้น

สถานที่ทำงานของสูตินรีแพทย์ก็จะเหมือนกับแพทย์ทั่วไป คือ ประจำอยู่ในโรงพยาบาลโดยจะประจำอยู่ในแผนกสูตินรีทำงานในห้องคลอด ห้องผ่าตัด การราวด์หวอด และตรวจผู้ป่วยนอก (สับเปลี่ยนไปตามตารางงานในแต่ละวัน)

ส่วนสภาพของการทำงานของสูตินรีแพทย์ก็จะเลอะหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เวลาทำคลอดเลือดจะออกมาเยอะมาก จะมีน้ำคร่ำ และเนื่องจากช่องที่เด็กจะคลอดออกมากับทวารจะใกล้กัน ดังนั้นในบางกรณีก็จะมีอุจจาระออกมาก่อนเด็กออก เรียกได้ว่าสูตินรีแพท์จะเจอเรื่องเหล่านี้จนเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ถ้ามองเป็นช่วงเวลา ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ไม่มีความแตกต่างกัน คือ ต้องนั่งประจำตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น ในทุกๆ วัน เหมือนพนักงานเงินเดือนทั่วไป ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ อยู่ที่ความสมัครใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ต้องมาเพราะคนไข้ไม่มีวันหยุด เขาป่วยทุกวันเราก็ต้องมาดูแลทุกวัน

  1. ต้องเป็นคนที่เข้าใจผู้หญิงทั้งในเรื่องของนิสัย พฤติกรรม และกลไกการทำงานของร่างกาย
  2. ต้องเป็นคนที่สุขภาพแข็งแรง อันนี้ก็แทบจะทุกแพทย์เพราะกรณีที่ต้องรับเหตุฉุกเฉิน เข้าเวร ตี 2 ตี 3 ร่างกายเราก็ต้องไหว
  3. ต้องเป็นคนที่อดทน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (ไม่ได้หมายความว่าต้องคุยเก่ง คุยเก่งหรือคุยไม่เก่งไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องมีความเข้าใจคนอื่น เข้ากับคนอื่นได้ดี) มีการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ

เส้นทางในอาชีพของแพทย์ก็จะมีอยู่ไม่กี่อย่าง ตัวอย่างเช่น 

  • อย่างแรกเลยก็คือการเป็นแพทย์เชี่ยวชาญก็จะเป็นแพทย์ที่ทำหน้าที่ตรวจและดูแลรักษาผู้ป่วยไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเกษียณอายุ เส้นทางนี้ก็จะเป็นการสะสมและพัฒนาความเชี่ยวชาญและความรู้เฉพาะด้านขึ้นเรื่อยๆ
  • เส้นทางที่สองก็จะเป็นเรื่องของการทำงานวิจัย เพื่อหานวัตกรรมใหม่ หาความรู้ใหม่ๆ ให้กับวงการแพทย์
  • เส้นทางที่สามก็จะเป็นเรื่องของการบริหารแล้ว ก็คือ การขยับไปรับตำแหน่งบริหารของโรงพยาบาลเพราะบางคนก็อาจจะอยากช่วยครั้งละหลายๆ คน งานบริหารที่ต้องจัดการโรงพยาบาลก็จะตอบเป้าหมายของเขา
  • เส้นทางสุดท้าย ก็คือ การไปเป็นคุณครูแพทย์ จะเป็นการไปสอนนักศึกษาแพทย์ในโรงเรียนแพทย์

มัธยมศึกษาตอนปลาย 

  • วิทย์-คณิต

ปริญญาตรี เช่น 

  • คณะแพทยศาสตร์ 
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข 

ปริญญาโท เช่น 

  • คณะแพทยศาสตร์ ประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านฯ สาขาสูติศาสตร์–นรีเวชวิทยา
  • คณะแพทยศาสตร์ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ 
  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก เเขนงวิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • คณะแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช 

ปริญญาเอก เช่น 

  • คณะแพทยศาสตร์ ปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) 

*ข้อมูล ณ ปี 2567