นักดนตรีอาชีพ

BRAND'S BRAIN CAMP

นักดนตรีอาชีพ

ผู้ที่ใช้ความสามารถด้านดนตรีมาสร้างรายได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การแต่งเพลง การแสดง การฝึกสอน

Playing_jazz_pana_8d4e5fc824
  • ใช้ทักษะด้านดนตรี เล่นเครื่องดนตรี ในรูปแบบเดี่ยวหรือวง เพื่อประกอบกิจกรรม เช่น การร้องเพลง การสร้างบรรยากาศในสถานที่ต่างๆ การบันทึกเสียงเพื่อใช้ในงานภาพยนตร์ หรืองานโฆษณา เป็นต้น
  • สร้างสรรค์เพลงจากการเรียบเรียงดนตรี
  • สอนหรือถ่ายทอดทักษะทางดนตรีให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้
  • ฝึกซ้อมและพัฒนาการเล่นดนตรี เพื่อปรับปรุงการแสดงให้ดีอยู่เสมอ
  1. วางโครงสร้างเกี่ยวกับดนตรีที่จะทำ เช่น เป็นดนตรีเกี่ยวกับอะไร แนวไหน จะมีกี่ท่อน มีเนื้อร้องประกอบไหม ทำนองแบบไหน  มีโน้ตอย่างไร 
  2. เรียบเรียงโน้ตให้กับเครื่องดนตรีต่าง ๆ ออกแบบว่าท่อนไหนใช้เครื่องดนตรีประเภทใดบรรเลง หรือท่อนไหนควรใส่เสียงอะไรเพิ่มเติมลงไป 
  3. บันทึกเสียงเพื่อนำเพลงไปใช้งาน โดยอัดเสียงจากนักดนตรีจริง ซึ่งอาจจะอัดเสียงทั้งวงพร้อมกัน, หรืออัดแยกก็ได้ เมื่ออัดเสียงเสร็จแล้วจะได้เสียงตัวอย่างออกมา (Demo)
  4. การปรับแต่งเสียงหรือ มิกซ์ (Mix) เสียง นำเสียงตัวอย่างที่ได้จากการอัดหรือ DEMO มาทำมิกซ์เพื่อทำให้เสียงไพเราะมากขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เพิ่มลดระดับเสียงในบางท่อน แทรกเสียงพิเศษเพิ่มเติมลงไป หรือแก้ไขเสียงที่ผิดพลาดจากขั้นตอนบันทึกเสียง เป็นต้น
  5. ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของเพลงทั้งหมดอีกครั้งก่อนนำไปเผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ 
  6. หาช่องทางขายเพลงด้วยวิธีต่างๆ เช่น ติดต่อสถานีวิทยุ ติดต่อค่ายเพลง ขายลงบนสตรีมมิ่งออนไลน์ เป็นต้น
  7. รับนัดผ่านทางผู้จัดการวงเพื่อออกแสดงตามงานต่าง ๆ
  1. ผู้จัดการวงดนตรี (Music Manager)
  2. วิศวกรเสียง/เทคนิคเสียง/ช่างเสียง (Sound Engineer)
  3. โปรดิวเซอร์เพลง (Music Producer)
  4. นักประพันธ์เพลง (Lyricist)
  5. นักวิจารณ์ดนตรี (Music Critic)
  • นักดนตรีที่สังกัดค่าย จะทำงานในค่ายเพลง มีการอัดเสียงในสตูดิโอของแต่ละค่าย และออกแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการติดต่อมาทางค่าย
  • นักดนตรีอิสระ อาจใช้บ้านเป็นห้องบันทึกเสียงหรือสตูดิโอ และทำงานในหลากหลายพื้นที่ที่ต้องแสดง เช่น สถานที่จัดเลี้ยง สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า หรือปรากฏตัวในงานอีเวนต์ต่างๆ 
  • เวลาทำงานขึ้นอยู่กับตารางการแสดงและการบันทึกเสียง นักดนตรีอาจต้องทำงานในช่วงวันหยุดและช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังมีเวลาที่ใช้ในการฝึกฝนและการเขียนเพลง ซึ่งขึ้นอยู่กับการวางตารางเวลาของนักดนตรีเอง
  1. การบำรุงรักษาเครื่องดนตรี การทำเพลง เป็นต้น
  2. ทักษะด้านการเล่นเครื่องดนตรี
  3. ความอดทน เนื่องจากต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน ปรับปรุงเพลงและใช้แรงกายมากในการจัดการแสดงแต่ละครั้ง
  4. มีความกล้าแสดงออก เพราะอาจต้องไปแสดงในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก และนักดนตรีอาจต้องคอยสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังเพื่อสร้างบรรยากาศในงาน
  5. ความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการสื่อสารกับผู้อื่นและการสื่อความหมายผ่านดนตรี
  • ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับประเภทงาน และรายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับจำนวนงานที่เข้ามาในแต่ละเดือน
    • นักดนตรีอิสระจะมีรายได้แต่ละเดือนจากการรับงานตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ 700-5,000 บาทต่อครั้งที่แสดง ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงและความสามารถ
    • นักดนตรีที่สังกัดค่าย จะมีค่าตัวตั้งแต่ 30,000-100,000 บาท
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “นักดนตรีอาชีพ” จะเริ่มตั้งแต่การเป็นนักดนตรีฝึกงาน ไปสู่นักดนตรีระดับสูง
  • อาชีพนี้อาจต้องใช้เวลาและความพยายามในการพบความสำเร็จในวงการดนตรี
  • ปัจจุบันมีแพลต์ฟอร์มออนไลน์ที่ทำให้นักดนตรีสามารถนำเสนอผลงานของตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านค่ายอีกต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จอีกหนึ่งช่องทาง
  • ความท้าทายของอาชีพ “นักดนตรีอาชีพ” คือ ต้องคอยหาพื้นที่ และโอกาสแข่งขันเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในวงการดนตรี ซึ่งจะนำมาสู่งานที่มากขึ้น
  • นักดนตรีมีเวลาทำงานไม่แน่นอน เช่น อาจต้องรับงานแสดงช่วงกลางคืน ทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อย มีปัญหาสุขภาพตามมา
  • คลิป YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “นักดนตรีอาชีพ” เช่น
    • THE STANDARD. (2018, March 6). อาชีพนักดนตรี ไม่มั่นคง? [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=NsXE9i8KV3w 
    • THE STANDARD. (2018, March 23). Eargasm Deep Talk EP.4 เล่นดนตรีเก่ง ทำวงได้ แต่งเพลงดี แค่นี้พอไหมกับการเป็นนักดนตรีอาชีพ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=MSoy6x6eoZA 
    • We Mahidol. (2022, November 24). อาชีพ นักดนตรีเชลโล | MU Careers Service [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=mgJ5K4I28Yo 
    • Piano Trainer. (2022, May 8). อยากเป็นนักดนตรีอาชีพ ต้องรู้อะไรบ้าง #Live 56 [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=6oQC-zdx-ws 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะดนตรีและการแสดง สาขาวิชาดนตรี 
  • คณะดุริยางคศาสตร์ 
  • คณะมนุษยศาสตร์ ดุริยางคศิลป์ 
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล 
  • วิทยาลัยการดนตรี 
  • วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ 
  • สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ 
  • คณะดนตรี 
  • บางหน่วยงานเปิดรับวุฒิ ป.ตรีสาขาทุกสาขา แต่ควร
    • หาความรู้เกี่ยวกับดนตรีเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ทั้งคอร์สเรียนจากโรงเรียนดนตรี หลักสูตรออนไลน์ การเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปหรือค่ายต่างๆ
    • ฝึกฝนการเล่นดนตรีและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ 
    • หาโอกาสฝึกประสบการณ์ในการเล่นดนตรีในงานต่างๆ เช่น งานอาสา งานรับ Part-time ประกวดในเวทีต่างๆ ฯลฯ

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567

  • https://www.pongsathornpmusic.com/single-post/6-steps-to-professional-music-production
  • https://verycatsound.com/blog-20musiccareer/
  • เว็บไซต์ขององค์กรดนตรีที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมดนตรี, สถาบันดนตรี, โรงเรียนดนตรี
  • วิดีโอบน YouTube เกี่ยวกับการเล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลง
  • กลุ่มชุมชนออนไลน์เกี่ยวกับดนตรี เช่น Facebook groups, Reddit เกี่ยวกับดนตรี
  • https://a-chieve.org/content/career-content/career-category-3/career-content-81