ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์

BRAND'S BRAIN CAMP

ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์

ผู้ซ่อมบำรุงมอเตอร์ไซค์ให้พร้อมใช้งาน หรือดัดแปลงส่วนต่าง ๆ ของมอเตอไซต์ตามความต้องการของผู้ใช้

Maintenance_pana_75db47cc71
  • ซ่อมบำรุง แก้ไขความเสียหายให้กับมอเตอร์ไซค์
  • ดัดแปลง เปลี่ยนแปลง อัพเกรดส่วนประกอบให้มอเตอร์ไซค์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ถามความต้องการของผู้ใช้บริการว่าต้องการซ่อมบำรุงหรือดัดแปลง 
  • สอบถามอาการและสาเหตุของการเสียหายจากผู้เข้ามาใช้บริการเพื่อหาจุดซ่อมบำรุง
  • ถ้าเป็นการดัดแปลง จะเป็นการถามเกี่ยวกับส่วนที่ต้องการดัดแปลง 
  • ช่างต้องประเมินและแจ้งลูกค้าก่อนว่าการซ่อมบำรุงดังกล่าวจะยืดอายุการใช้งานได้นานเท่าไร วัสดุอุปกรณ์คุณภาพต่างกันอย่างไร รวมถึงความผลจากการซ่อมบำรุงหรือดัดแปลงมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร
  • แจ้งยืนยันวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการทำงานแก่ลูกค้า 
  • ซ่อมบำรุงหรือดัดแปลงด้วยการถอดประกอบส่วนประกอบของมอเตอร์ไซค์ตามมาตรฐานที่วิศวกรออกแบบมา
  • ขับทดสอบเพื่อตรวจสอบผลการซ่อมบำรุงหรือดัดแปลง
  • ส่งมอบกลับให้ผู้ใช้บริการ
  • พนักงานบัญชี ที่เป็นฝ่ายคิดคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อแจ้งแก่ผู้ใช้บริการ
  • พนักงานขาย (Sales) เพื่อแนะนำบริการแก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงเสนอขายอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ 
  • ถ้าเป็นการทำงานในโรงงานขนาดใหญ่จะมีการทำงานร่วมกับวิศวกร ในการออกแบบหรือดัดแปลงอุปกรณ์เสริม ผลิตอะไหล่ เป็นต้น
  • สถานที่ทำงานของช่างมอเตอร์ไซค์มีทั้งทำงานในอู่ซ่อมรถ, ประจำตามศูนย์จำหน่ายมอเตอไซต์, ทำงานในโรงงานผลิตรถมอเตอไซต์หรือชิ้นส่วนมอเตอไซต์ เป็นต้น
  • มีเวลาเข้างานวันละ 8 ชั่วโมงตามกฎหมายแรงงาน มีประกันสังคมและสวัสดิการเหมือนงานอื่น ๆ หากเกินเวลางานจะมีค่าแรงล่วงเวลาให้ 
  • หากเปิดอู่ซ่อมรถของตนเอง เวลาทำงานจะขึ้นอยู่กับการจัดสรรของแต่ละคน
  1. ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุของความเสียหายที่ต้องซ่อมบำรุง 
  2. มีความรู้ทางการช่างดีเยี่ยม และมีความสามารถในการซ่อมบำรุง ดัดแปลง รถมอเตอไซต์ 
  3. มีความละเอียด รอบคอบ เพราะงานซ่อมเต็มไปด้วยอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อย  หากลืมรายละเอียดบางอย่างก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้
  4. มีวินัยและทักษะการจัดการเวลา เพราะต้องนำส่งมอบงานที่เสร็จแล้วให้ผู้ใช้บริการตามกำหนดเวลา 
  5. มีความอดทน เพราะเป็นอาชีพที่ต้องอยู่กับความร้อน และคราบสกปรกอย่างคราบน้ำมัน และใช้เวลานานในการซ่อมแต่ละคัน
  6. เรียนรู้ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา รู้จักแสวงหาประสบการณ์ เครื่องมือใหม่ๆ เพราะเทคโนโลยีรถรุ่นใหม่ ๆ ความเสียหายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ
  7. ทักษะด้านการสื่อสาร การอธิบาย เพื่อพูดคุยกับผู้ใช้บริการ
  8. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ตนเอง เพราะต้องรับมือกับผู้ใช้บริการหลากหลายแบบ บางคนต้องการให้งานเสร็จไวก็จะมีการเร่ง หรือพูดจาไม่ดี
  • บ่อยครั้งที่มักจะเจอลูกค้าที่อยากแต่งรถแบบสูตรใหม่ๆ แปลกๆ หรืออัพเกรดด้วยตัวเองมาแล้วอยากให้ช่างพัฒนาเพิ่ม ช่างก็ต้องกล้าที่จะปฏิเสธงานที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน 
  • ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์ บางคนก็สามารถซ่อมรถยนต์ได้ มีพื้นฐานคล้ายกัน แต่ทั้งสองงานมีความละเอียดยิบย่อยของอาการ และเครื่องมือต่างกัน 
  • ปัจจุบันมีช่างอยู่ 2 แบบ คือ
    • ช่างวิชาชีพ เป็นช่างที่ผ่านการเรียนจากสถาบันต่าง ๆ มาโดยตรง เช่น วิทยาลัยอาชีพต่าง ๆ ที่มีใบประกอบวิชาชีพให้ 
    • ช่างที่เกิดจากความชอบ คือ ชื่นชอบและฝึกฝนด้วยตัวเอง หรืออาจมีคนรู้จักช่วยสอนให้จนชำนาญ สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งในปัจจุบันไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่อาจไม่สามารถทำงานในอู่บางอู่ได้
  • เส้นทางการเติบโตของช่าง มีดังนี้
    • ช่างซ่อมทั่วไป โดยสามารถพัฒนาจากการทำงานในอู่ซ่อมรถทั่วไป เป็นการทำงานในอู่ขนาดใหญ่ได้
    • หัวหน้าช่าง ซึ่งงานจะเบากว่า ทำหน้าที่ตรวจและคุมงาน
    • เจ้าของอู่ซ่อมรถ หรือต่อยอดธุรกิจของตัวเองได้อีกทางด้วยการรู้จักกับโรงงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ที่เราสามารถนำมาขายนอกเหนือจากการซ่อม หรือหากเงินทุนมากก็สามารถนำเข้ารถมาขายได้เอง เป็นศูนย์บริการครบวงจร
  • ช่างหลายคนให้ความรู้เรื่องการซ่อมรถในโลกออนไลน์ จนกลายเป็นครีเอเตอร์อีกทาง
  • การบริการที่ดี ประทับใจจะส่งผลให้มี “ลูกค้าติดอู่” เป็นลูกค้าประจำที่มาใช้บริการบ่อย ๆ เพราะไว้ใจในการทำงานของช่าง
  • รายได้ 
    • ช่างทั่วไปจะอยู่ที่ 15,000 – 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและประเภทของรถ 
    • หัวหน้าช่างจะอยู่ที่ 20,000 – 30,000 บาท
    • ช่างตามศูนย์บริการอาจมีค่าคอมมิชชันเพิ่มเติมจากการซ่อมรถได้จำนวนตามเป้า 
  • อาชีพนี้มีความเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุง่ายเพราะต้องทำงานอยู่กับเครื่องมือตลอดเวลา หรืออาจเกิดจากการขับขี่ยานพาหนะเพราะช่างต้องมีการทดลองขับขี่รถของลูกค้าก่อนส่งมอบงาน 
  • จำนวนรถในประเทศไทยมีมาก ปัจจุบันปี 2565 ประเทศไทยมีรถยนต์ 40 ล้านคัน รถมอเตอร์ไซค์ 20 ล้านคัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการและมีกลุ่มลูกค้าอยู่เสมอ
  • เทรนด์โลกที่ส่งผล คือรถไฟฟ้าที่กำลังจะมาถึง เพราะเป็นรถที่การซ่อมบำรุงน้อย ชิ้นส่วนน้อยลง ไม่ต้องการนำมัน ช่างแบบเดิมๆ อะไหล่แบบเดิมๆ อาจหายไปมาก
  • เว็บไซต์ Youtube ของศูนย์ซ่อมต่างๆ มักมีวิดีโอให้ความรู้เป็นของตัวเอง เช่น
    • นิตยสารมอเตอร์ไซค์ _ Motorcycle Magazine Thailand https://www.youtube.com/@MotorcycleOnline/videos อัพเดตข่าวสารมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ การซ่อมบำรุง อะไหล่
    • BOBBY Modify แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง รถ เครื่องยนต์ งานD.I.Y
https://www.youtube.com/@bobbymodify
  • ปัจจุบันมีหลักสูตรเรียนระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไป ตามวิทยาลัยและโรงเรียนฝึกอาชีพต่าง ๆ  นอกเวลาราชการ หรือวันเสาร์ อาทิตย์ โดยสามารถค้นหาด้วยคำว่า หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ได้

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

เปิดรับวุฒิ ป.ตรีสาขาทุกสาขา แต่ควรจบหลักสูตรอบรมด้านการซ่อมมอเตอร์ไซค์เพิ่มเติม เช่น

  • หลักสูตรช่างซ่อมและบำรุงรักษารถจักรยานยนต์
  • หลักสูตรเทคโนโลยีซ่อมรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ ศูนย์บริการวิชาการ
  • หลักสูตรงานบริการจักรยานยนต์(ซ่อม)

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567