ช่างเชื่อมโลหะ

BRAND'S BRAIN CAMP

ช่างเชื่อมโลหะ

ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานที่ใช้โลหะเป็นวัสดุ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ทำจากโลหะเข้าด้วยกันให้แน่นและแข็งแรงตามความต้องการ

Scaffold_pana_a21c848321
  • เชื่อมหรือตัดโลหะ เพื่อสร้างหรือเพื่อซ่อมบำรุง โดยใช้อุปกรณ์การเชื่อม วัสดุและเทคนิคการเชื่อมที่เหมาะสม 
  • ตรวจสอบชิ้นงานเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงและคุณภาพของการเชื่อม
  1. การเตรียมงาน
    1. ตรวจสอบพื้นผิวและทำความสะอาดพื้นผิวของชิ้นงานโลหะที่จะเชื่อม
    2. ตัดสินใจเลือกวิธีการเชื่อง และเลือกวัสดุเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับงานที่จะทำ 
    3. เตรียมเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัว เช่น แว่นกันแสง หมวกนิรภัย เสื้อคลุม
  2. ลงมือเชื่อมต่อชิ้นงานโลหะเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
  3. ตรวจสอบคุณภาพของการเชื่อม  เช่น ความเรียบร้อยของรอยเชื่อม  ตรวจสอบความแข็งแรง เป็นต้น หากพบข้อบกพร่องหรือปัญหาในการเชื่อม ช่างเชื่อมต้องทำการปรับปรุงและซ่อมแซมให้เรียบร้อย
  4. ทำความสะอาดรอยเชื่อมและพื้นผิวโลหะหลังจากการเชื่อมเสร็จ
  5. ตรวจสอบการทำงานจุดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามคุณภาพและแบบที่อนุมัติ รวมถึงบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานเชื่อม รวมถึงวัสดุที่ใช้ เครื่องเชื่อมที่ใช้ และเทคนิคที่ใช้ เพื่อการติดตามและบันทึกข้อมูลเพื่อการสอบตรวจคุณภาพและความปลอดภัยในอนาคต
  1. ผู้รับเหมาก่อสร้าง
  2. วิศวกรโยธาส่วนออกแบบโครงสร้าง
  3. ช่างไฟฟ้า
  4. สถาปนิก
  5. วิศวกรอุตสาหการ
  • ทำงานในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานรัฐ เช่น กรมโยธาธิการ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเอกชน เช่น โครงการก่อสร้าง โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
  • มีระยะเวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เหมือนอาชีพอื่น ๆ 
  • อาจมีการทำงานนอกเวลา ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือเวลากลางคืน กรณีที่งานเร่งด่วนหรือมีการซ่อมแซมเร่งด่วน
  1. ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมโลหะ  เช่น  เทคนิคการเชื่อม ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุโลหะ การทำความสะอาดและเตรียมพื้นผิวของชิ้นงาน
  2. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านและเขียนแบบวาดที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโลหะ
  3. ทักษะการเชื่อมโลหะด้วยเทคนิคต่างๆ
  4. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เชื่อมโลหะ เช่น เครื่องเชื่อม, เครื่องตัด, เครื่องชั่ง, และอุปกรณ์ทดสอบ
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 15,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่สังกัด 
  • บางคนอาจออกมาประกอบอาชีพอิสระที่ไม่จำกัดเพดานรายได้ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนงานและฝีมือ
  • ปัจจุบันมีการจัดอบรมอาชีพช่างเชื่อม ซึ่งจะได้ใบรับรองการทดสอบฝีมือช่างเชื่อมจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบอาชีพนี้ และในบางบริษัทอาจมีการระบุเป็นคุณสมบัติที่ต้องการ
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “ช่างเชื่อมโลหะ” มีดังนี้
    • ช่างเชื่อมโลหะระดับเริ่มต้น
    • ช่างเชื่อมโลหะระดับชำนาญ
    • ช่างเชื่อมโลหะระดับหัวหน้างาน
    • ผู้จัดการงานหรือผู้จัดการโรงงาน 
    • ในหน่วยงานราชการ มีลำดับตำแหน่งเรียงจากล่างไปบนคือ ระดับปฏิบัติงาน 

ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ

  • ช่างเชื่อมโลหะสามารถแยกย่อยตามความเชี่ยวชาญในเทคนิคเฉพาะได้อีก เช่น ช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า ช่างเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส เป็นต้น
  •  ช่างเชื่อมโลหะเป็นอาชีพสำคัญในทุกอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “ช่างเชื่อมโลหะ”  คือ 
  • ช่างเชื่อมโลหะต้องปฏิบัติงานภายใต้มาตรการความปลอดภัยที่ถูกกำหนดอยู่ตลอดเวลา  เพราะต้องทำงานในสภาวะที่ต้องเสี่ยงกับอันตรายจากอุปกรณ์และการทำงาน
  • การเชื่อมโลหะต้องอาศัยความแม่นยำสูงและต้องตรวจสอบคุณภาพอย่างรอบคอบพิถีพิถันในรายละเอียด เพราะหากนำโลหะที่เชื่อมแล้วไปใช้งานโดยที่โครงสร้างไม่แข็งแรงอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุร้ายแรงได้
  • อุตสาหกรรมเชื่อมโลหะอยู่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนางานเชื่อมเสมอ ช่างเชื่อมโลหะต้องเรียนรู้และปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างสม่ำเสมอ
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
    • อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้เครื่องมือและกระบวนการเชื่อม รวมถึงความเสี่ยงต่อความร้อนและแรงดันในการทำงาน และการสัมผัสวัสดุอันตราย
    • การเชื่อมโลหะอาจเป็นแหล่งปล่อยสารเคมีอันตราย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของช่างเชื่อมโลหะหากไม่ใช้มาตรการความปลอดภัย
  • คลิป YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับช่างเชื่อมโลหะ เช่น
    • Samsung Together for Tomorrow. (2018, July 2). ช่างเชื่อม [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=MtXA_x5dbA8 
    • ครูโจคนเหล็ก ช่างไม้จิตอาสา. (2022, August 7). สําหรับผู้สนใจ เรียนเชื่อมระดับ International Fillet Welder เพื่อพัฒนาฝีมือและความก้าวหน้าในอาชีพ ฟรี [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=iQtjzIXpNX4 
  • คณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเกี่ยวกับ “ช่างเชื่อมโลหะ” 
  • วิทยาลัยเทคนิคอละอาชีวศึกษาทั่วประเทศ แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ 
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลหการและวัสดุ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ 
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านโลหะและวิศวกรรมวัสดุ
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • การก้าวสู่การเป็นช่างเชื่อม – ทักษะและคําบรรยายลักษณะงาน – JobsDB. (n.d.). JobsDB. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/role/welder
  • กรมการจัดหางาน ช่างเชื่อมโลหะ https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/vgnew_th/9c4bc7bd3b53e700e7505c304ed6d311.pdf

Kobkaew, J. (2020, November 28). ช่างเชื่อม. . .ขาดตลาด – salika. www.Salika.co. https://www.salika.co/2020/11/28/thai-welders-in-short-supply/

https://a-chieve.org/content/career-content/career-category-14/career-content-102