นักวิชาการด้านกฎหมาย

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิชาการด้านกฎหมาย

ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย และพัฒนาระบบกฎหมายในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติ เพื่อผลักดันให้กฎหมายตอบโจทย์สังคมอย่างเป็นธรรม.

นักวิชาการด้านกฎหมาย
  • วิเคราะห์และวิจารย์กฎหมายและกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ติดตามสถานการณ์ข่าวสาร งานวิจัย และสถานการณสังคม เพื่อเสนอความคิดเห็นที่จะช่วยให้กฎหมาย กระบวนการออกกฎหมาย และกระบวนการบังคับใช้กฎหมายมีการพัฒนา
  • วิจัยและศึกษากฎหมาย ทำการศึกษาเชิงนิติศาสตร์ในประเด็นต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย
  • พัฒนานโยบายและร่างกฎหมาย ทำงานร่วมกับนักการเมือง หน่วยงานรัฐ เอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อออกแบบนโยบายสาธารณะ และร่วมร่างหรือเสนอแนะแนวทางปรับปรุงกฎหมายร
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ เขียนเป็นบทความ ไปเป็นวิทยากร อบรมเชิงวิชาชีพ และจัดหลักสูตรเสริมให้กับบุคลากรหรือสาธารณชนในประเด็นกฎหมาย
  • ประสานความร่วมมือทางวิชาการ ทำงานร่วมกับองค์กรนานาชาติ มหาวิทยาลัย หรือเครือข่ายด้านกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายร่วม
  1. ลงพื้นที่และตรวจสอบปัญหา เข้าพบกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจปัญหาทางกฎหมายหรือสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่
  2. ตั้งประเด็นวิจัยหรือคำปรึกษา นิยามขอบเขตปัญหา ตั้งโจทย์วิจัย หรือกำหนดคำถามเชิงนโยบายที่ต้องการคลี่คลาย
  3. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ศึกษากฎหมาย ระเบียบ ตัวอย่างคดี หรือคำพิพากษา ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ตรง
  4. ดำเนินการสืบสวนสอบสวน (เฉพาะบางกรณี) ตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรณีศึกษาในระดับภาคสนาม และจัดทำแผนที่กระบวนการหรือข้อเสนอ
  5. จัดทำรายงานวิชาการหรือเชิงนโยบาย สังเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นข้อเสนอแนะทางกฎหมายหรือแนวนโยบาย พร้อมแนวทางดำเนินการที่เป็นรูปธรรม
  6. นำเสนอและเผยแพร่ เสนอต่อหน่วยงานรัฐ สาธารณะ หรือเวทีวิชาการ อาทิ การสัมมนา การเสวนา หรือประชุมนานาชาติ
  7. ติดตามผลลัพธ์ ประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากข้อเสนอหรือการดำเนินงาน เช่น มีการแก้ไขกฎหมาย หรือเกิดกระบวนการใหม่ในการคุ้มครองสิทธิ
  8. ทำคดีหรือให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (เฉพาะบางกรณี) หากเกี่ยวข้องกับงานสิทธิมนุษยชนหรือคดีเชิงสาธารณะ อาจมีบทบาทในการสืบข้อเท็จจริง ร่วมจัดการคดี หรือติดตามความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
  1. นักข่าว
  2. เจ้าหน้าที่ธุรการ / เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานต่าง ๆ
  3. เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐในกระบวนการกฎหมาย เช่น ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ศาล, ทนาย, อัยการ, ผู้พิพากษา
  4. นักการเมือง
  5. นักกฎหมายในหน่วยงานเอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 
  6. ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
  • สถานที่ทำงาน ปฏิบัติงานหลักในสำนักงานของหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สถาบันวิจัยด้านกฎหมาย ของมหาวิทยาลัย, หน่วยงานรัฐ, องค์กรวิจัย หรือ องค์กรไม่แสวงหากำไร (NGO)
  • เวลาทำงาน โดยทั่วไปปฏิบัติงานวันจันทร์–ศุกร์ ช่วงเวลา 08.30–17.00 น. อาจต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ รวมถึงวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ กรณีมีภารกิจเพิ่มเติม เช่น การให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ, การบรรยายในงานต่าง ๆ, การลงพื้นที่ทำวิจัย เป็นต้น
  1. ความรู้กฎหมายเชิงลึก เข้าใจกฎหมายในสาขาเฉพาะ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
  2. ทักษะการวิจัยเชิงวิชาการ สามารถสืบค้น และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ วิเคราะห์นโยบาย และแนวโน้มของกฎหมายสมัยใหม่ เช่น กฎหมายเทคโนโลยีหรือสิ่งแวดล้อม
  3. ความสามารถด้านการเขียน สื่อสารเป็นบทความวิชาการหรือข้อเสนอเชิงกฎหมายได้ชัดเจน มีระบบการอ้างอิง
  4. ความสามารถด้านภาษาอังกฤษวิชาการ อ่าน วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิชาการ หรือนโยบายจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศได้
  5. ทักษะการสังเกตและวิเคราะห์หลายมุมมอง ต้องมีความละเอียดรอบคอบ เข้าใจข้อมูลจากทุกฝ่าย และประเมินประเด็นอย่างเป็นกลาง
  • ผลตอบแทน 
    • รายได้เริ่มต้นสำหรับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยรัฐ 15,000–30,000 บาท/เดือน (ขึ้นกับวุฒิการศึกษาและตำแหน่ง)
    • รายได้จากสถาบันวิจัยเอกชนหรือระหว่างประเทศ (Think Tank) ประมาณ 30,000–80,000 บาท/เดือน หรือมากกว่า
    • รายได้เสริมจากการให้คำปรึกษา การบรรยาย งานสัมมนา หรือการเขียนบทความทางวิชาการ
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักวิชาการด้านกฎหมาย
    • ก้าวสู่ตำแหน่งนักวิจัยอาวุโส หรือหัวหน้าโครงการวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย (Think Tank)
    • เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่ได้รับเชิญให้ร่วมร่างกฎหมายหรือให้คำปรึกษาทางนโยบายแก่รัฐมนตรีหรือรัฐสภา
    • มีโอกาส ได้รับทุนวิจัยหรือเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อเข้าร่วมเวทีระดับสากล
    • ทำงานร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติ เช่น UNDP, OHCHR หรือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
    • ขยายบทบาทสู่การเป็น วิทยากร นักเขียน คอลัมนิสต์ หรือผู้จัดเวทีอภิปรายในประเด็นนโยบายสาธารณะ
  • ความท้าทายของอาชีพนักวิชาการด้านกฎหมาย
    • ต้องผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพต่อเนื่อง เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือทางวิชาการและความมั่นคงในสายอาชีพ
    • ต้องรักษาความเป็นกลางและจรรยาบรรณ แม้ประเด็นงานจะขัดแย้งกับฝ่ายอำนาจหรือมีความอ่อนไหว
    • รับแรงกดดันทางสังคมในกรณีที่งานวิจัยไปแตะประเด็นละเอียดอ่อน เช่น ความรุนแรงรัฐ สิทธิมนุษยชน หรือการเมือง
    • ต้องอัปเดตความรู้กฎหมายและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเด็น Data Privacy, Digital Law, หรือ AI Regulation
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพนักวิชาการด้านกฎหมาย
    • ลงทุนแมน. (2022, Dec 14). นักกฎหมาย องค์กรระดับประเทศ ทำงานอย่างไร ? [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=WAUlgl0VDHU 
  • พี่ต้นแบบอาชีพอาชีพนักวิชาการด้านกฎหมาย [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2568]