ภูมิสถาปนิก

BRAND'S BRAIN CAMP

ภูมิสถาปนิก

ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่บริเวณโดยรอบทั้งหมดหรือภายนอกตัวอาคาร เช่น สวนสาธารณะ สวนหย่อมต่าง ๆ

Architect_bro_bf4fbdcc9c
  • ศึกษาธรรมชาติของพื้นที่ สภาพของพื้นที่ เพื่อนำไปออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ว่าจ้าง โดยที่คำนึงถึงความเหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ
  • ทำการออกแบบ สถาปัตยกรรม และพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ตามโจทย์ที่ได้รับมาจากผู้ว่าจ้าง
  • วางแผนและควบคุมกระบวนการสร้างสิ่งก่อสร้าง รวมถึงการเลือกผู้รับเหมาและวัสดุที่เหมาะสมเพื่อให้การก่อสร้างนั้นสำเร็จตามที่ออกแบบไว้
  1. ประชุมและพบปะกับผู้ว่าจ้างเพื่อ ขอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ต้องการให้ออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ รูปแบบที่อยากได้ งบประมาณที่วางไว้ เป็นต้น
  2. ปรึกษากับทีมงานทางวิศวกรรมและผู้รับเหมา เพื่อดูความเป็นไปได้และข้อจำกัดต่าง ๆ
  3. ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่นั้น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและกฎหมายที่มีผลต่อการออกแบบ
  4. ร่างแบบในการออกแบบ และวางแผนการก่อสร้างโดยพิจารณาให้มีทั้งความสวยงาม และการใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. อนุมัติแผนและเสนอโครงการก่อสร้าง โดยผู้ว่าจ้างมีส่วนร่วมในการปรับแก้แผนและรายละเอียดต่าง ๆ ของการก่อสร้าง
  6. จัดทำเอกสารทางเทคนิคต่าง ๆ และใบอนุญาตที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้าง
  7. เลือกผู้รับเหมาที่เหมาะสมและจัดทำสัญญาการก่อสร้าง
  8. ควบคุมและคอยตรวจสอบความคืบหน้าของการก่อสร้างเพื่อให้เป็นไปตามแผน เสร็จตามระยะเวลา และออกมาถูกต้องตามแบบ
  9. ภูมิสถาปนิกจะส่งมอบงานให้กับผู้ว่าจ้าง และจะประเมินผลงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงให้ตรงความคาดหวังและได้มาตรฐาน
  1. ผู้รับเหมาก่อสร้าง
  2. วิศวกรโยธาส่วนออกแบบโครงสร้าง
  3. มัณฑนากร
  • ทำงานออกแบบในสำนักงานของโครงการ แต่ก็มีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพจริงของพื้นที่มาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบด้วย
  • ทำงานช่วงกลางวันในการออกแบบงาน ประสานงานหรือประชุมกับลูกค้า 
  • อาจจะมีการทำงานนอกเวลาหรือช่วงกลางคืนในกรณีที่งานเร่งหรือต้องการสมาธิในการทำงาน
  1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการและเทคนิคทางสถาปัตยกรรม 
  2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสถาปนิกและการก่อสร้าง
  3. ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ แสงแดด ลม พืช ดิน น้ำ ที่มีผลต่อพื้นที่
  4. มีทักษะการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม เช่น AutoCAD, SketchUp, Revit, 3ds Max เป็นต้น 
  5. ละเอียด รอบคอบ ไม่พลาดจุดเล็ก ๆ ที่อาจส่งผลต่อพื้นที่ได้
  6. มีทักษะการเขียนแบบ วาดผังต่าง ๆ 
  7. มีทักษะทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม เช่น คำนวณน้ำหนัก พื้นที่
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 30,000 บาท ต่อเดือน
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “ภูมิสถาปนิก” มีดังนี้
    • ภูมิสถาปนิก
    • ภูมิสถาปนิกระดับหัวหน้าหรือผู้จัดการโครงการ
    • ภูมิสถาปนิกระดับผู้บริหารในบริษัทสถาปนิก
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “ภูมิสถาปนิก”  คือ 
    • ต้องมีความเข้าใจในด้านสถาปัตยกรรม, วัสดุ, เทคโนโลยีก่อสร้าง, และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • ใส่ใจในความปลอดภัยของโครงการและผู้ที่ทำงานในโครงการ
    • สื่อสารที่ดีกับลูกค้าและทีมงานเพื่อให้ความเข้าใจและความยืดหยุ่นในการปรับแผน
    • วางแผนและจัดการโครงการภายใต้ข้อจำกัดเพื่อให้สามารถส่งมอบตามกำหนด
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
    • การทำงานในสถานที่ก่อสร้าง อาจเผชิญกับความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยและอุบัติเหตุ
    • ต้องรับผิดชอบในกรณีที่โครงการไม่ประสบความสำเร็จหรือมีปัญหา
    • ความก้าวหน้าในการงานอาจขึ้นอยู่กับสถานะของตลาดในแต่ละระยะเวลา และความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • บางสถาบันเปิดรับวุฒิ ปวช. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรม

ปริญญาตรี 

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม

ปริญญาโท

  • หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

*ข้อมูล ณ ปี 2567