ผู้พิพากษา

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้พิพากษา

ผู้ที่มีหน้าที่ตีความกฎหมายและตัดสินคดีความอย่างยุติธรรมจากหลักฐานในศาล

Judge_pana_740de58cdc
  • ตัดสินคดีความอย่างยุติธรรมและเป็นกลาง เป็นไปตามกฎของขั้นตอนและทุกฝ่ายมีโอกาสนําเสนอข้อโต้แย้งของตน
  • จัดการกระบวนพิจารณาของศาล และรักษาความสงบเรียบร้อยในห้องพิจารณาคดี เพื่อให้แน่ใจว่าการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้พิพากษาอาจกําหนดตารางเวลา จัดการใบปะหน้าคดี และมอบหมายคดีให้กับผู้พิพากษาหรือบุคลากรในศาลคนอื่นๆ ทำงานต่อ
  • ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับบทบัญญัติทางกฎหมายเพื่อตีความกฎหมายอย่างถูกต้องและให้เหตุผลทางกฎหมายสำหรับการตัดสินใจในคดีต่างๆ โดยผลของการตีความของผู้พิพากษาจะเป็นแบบอย่างทางกฎหมายที่เป็นแนวทางสำหรับการพิพากษาคดีในอนาคต
  • พิจารณาคำขอเพื่อออกคำสั่งฟ้องหรือคำสั่งทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย เช่น คำร้องขอประกันตัว คำสั่งปกป้องพยาน คำสั่งยึดทรัพย์ เป็นต้น
  1. และสืบค้นข้อเท็จจริงในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาของคดีอย่างถี่ถ้วน
  2. พิจารณาคดีในศาล ด้วยการสอบสวนข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี  เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอหลักฐานและแสดงความคิดเห็น หรืออาจจะต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมหากข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอในการตัดสินคำพิพากษาด้วยการสอบถามพยานเพิ่มเติมหรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย
  3. พิพากษาคดี ผู้พิพากษาต้องวิเคราะห์ข้อมูลและตีความกฎหมายเพื่อออกมาเป็นคำพิพากษา ที่ยุติธรรม
  4. อ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความ  ให้เหตุผลและตอบคำถามจากแต่ละฝ่ายเกี่ยวกับคำพิพากษา จากนั้นคำพิพากษาหรือคำสั่งจะถูกส่งให้เจ้าพนักงานศาลจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งให้เรียบร้อยเป็นหลักฐานทางกฎหมาย
  5. ติดตามผลหลังการพิพากษา  ตรวจสอบว่าคู่ความปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือไม่ ออกหมายจับผู้ต้องหาในกรณีที่คู่ความไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
  1. ทนายความ
  2. อัยการ
  3. ตำรวจ
  4. เจ้าหน้าที่ศาล
  • สถานที่ทำงานของผู้พิพากษา คือ ศาลพิพากษา โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและศาลที่สังกัด เช่น ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นจะทำงานในศาลชั้นต้น 89 แห่งทั่วประเทศ  ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำงานในศาลอุทธรณ์ 5 แห่งประจำภูมิภาคต่างๆ  ผู้พิพากษาศาลฎีกาทำงานในศาลฎีกา กรุงเทพมหานคร 
  • ผู้พิพากษาทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ (จันทร์-ศุกร์) เวลาทำการปกติคือ 8.30 น. ถึง 16.00 น 
  • ผู้พิพากษาบางท่านอาจได้รับมอบหมายให้ทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ หรืออาจต้องทำงานล่วงเวลา เช่น กรณีที่มีคดีเร่งด่วน คดีที่ต้องมีการนั่งบัลลังก์พิพากษาในวันหยุดราชการ หรือ คดีที่ต้องมีการสืบพยานนอกสถานที่
  1. ความรู้ทางกฎหมาย เช่น กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง, หรือกฎหมายครอบครัว
  2. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดี
  3. ทักษะการสื่อสาร ทั้งการฟังพูดและเขียน
  4. มีความเป็นกลางและรักความยุติธรรม
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 35,000 – 80,000 บาทต่อเดือน
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “ผู้พิพากษา” มีดังนี้
    • ผู้ช่วยผู้พิพากษา
    • ผู้พิพากษาประจำศาล  เป็นผู้พิพากษาที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 1 ปี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
    • ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น แบ่งเป็น 5 ชั้นตามอายุราชการเรียงจากบนลงล่าง ดังนี้

               ชั้น 5 : ประธานศาลฎีกา

               ชั้น 4 : รองประธานศาลฎีกา, อธิบดีผู้พิพากษาภาค, ผู้พิพากษา       หัวหน้าคณะในศาลฎีกา

               ชั้น 3 : ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์, ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์

               ชั้น 2 : ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น, ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น

               ชั้น 1 : ผู้พิพากษาประจำศาล

  • ผู้พิพากษาอาวุโส เป็นผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอายุราชการครบ 20 ปี และมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนด ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ทำหน้าที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “ผู้พิพากษา”  คือ 
  • ผู้พิพากษาเป็นอาชีพต้องอดทนในการเข้าสู่เส้นทางอาชีพ เพราะเมื่อเรียนจบในระดับปริญญาตรีแล้ว ต้องศึกษาต่อเนติบัณฑิตไทยอีก 1 ปี  และต้องสะสมประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมาย จึงจะสามารถสมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ ระยะเวลาโดยรวมในการเป็นผู้พิพากษาใช้เวลาประมาณ 5-7 ปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการศึกษา อายุ และประสบการณ์
  • สนามสอบของผู้พิพากษามีการแข่งขันสูง มีผู้สมัครจำนวนมาก และมีขั้นตอนการสอบทั้งข้อเขียนและการสอบแบบปากเปล่าที่เข้มข้น
  • ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอาจต้องเดินทางไปทำหน้าที่ในต่างจังหวัดเป็นเวลา 3-4 ปี 
  • ผู้พิพากษาต้องตัดสินคำพิพากษาอย่างมีความเท่าเทียมและยุติธรรม ท่ามกลางการตรวจสอบจากสังคม
  • อาจต้องเผชิญความยากในคดีที่ซับซ้อน หรือเผชิญกับความสะเทือนอารมณ์ เช่น คดีฆาตกรรม
  • ผู้พิพากษาต้องต้องรักษาความลับเกี่ยวกับคดีและข้อมูลของผู้สอบสวนในการพิจารณาคดี
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
    • ผู้พิพากษาต้องปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมระดับสูงอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รักษาความเป็นกลางและแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์และความเป็นธรรมในการตัดสินใจ ซึ่งอาจเผชิญกับการทุจริตและติดสินบนหลายรูปแบบ 
    • ผู้พิพากษาอาจรับความเสี่ยงเมื่อต้องพิจารณาคดีของผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพล
    • ความเสี่ยงในการถูกโจมตีจากคนที่ไม่พอใจในคำพิพากษา
  • คลิป YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้พิพากษา เช่น
    • Bangkok University. (2022, March 3). เส้นอาชีพผู้พิพากษา | ท่านธันวา ถนอมเกียรติ ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=MS1jjmCXuqQ
    • Modern Law. (2022, March 20). เป็นผู้พิพากษา ในอนาคตทํายังไง? แล้วทําไมถึงเรียกว่าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา? EP.1 [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=eczxFu3SDQE 
  • คณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเกี่ยวกับ “ผู้พิพากษา” 
  • คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมาธิการสภาทนายความ