อินฟลูเอนเซอร์

BRAND'S BRAIN CAMP

อินฟลูเอนเซอร์

ผู้ผลิตคอนเทนต์ (เนื้อหา) ในรูปแบบต่างๆ ที่มีผลทำให้เกิดกลุ่มผู้ติดตาม (Follower) และเป็นที่รู้จักต่อคนจำนวนมากบนสื่อโซเชียลมีเดีย จนสามารถโน้มน้าวใจหรือดึงดูดกลุ่มผู้ที่ติดตามหรือคนอื่นๆ ให้รู้สึกคล้อยตามได้

Influencer_pana_3233e322db
  • ผลิตคอนเทนต์ (เนื้อหา) ในรูปแบบต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น รูปภาพ บทความ คลิปวิดีโอสั้นหรือยาว  
  • วางแผนและจัดการคอนเทนต์ที่จะผลิตในแต่ละเดือนและเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเนื้อหาหลักมาจากความเป็นตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ และความสนใจของกลุ่มผู้ติดตาม 
  • รีวิวสินค้าหรือบริการ ที่สอดคล้องกับคอนเทนต์และความสนใจของกลุ่มผู้ติดตาม
  • เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายและทำงานนอกสถานที่ เช่น งานเปิดตัวสินค้าหรือบริการ เป็นวิทยากรในการบรรยาย จัดกิจรรมพบปะกลุ่มผู้ติดตาม
  1. คิดไอเดีย เริ่มจากการวางแผนและคิดไอเดียเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่จะผลิต โดยต้องพิจารณาจากความสนใจของกลุ่มผู้ติดตามหรือกลุ่มผู้เสพสื่อโซเชียลมีเดียคนอื่นๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เป็นกระแสในช่วงเวลานั้นๆ 
  2. วางแผนการผลิตคอนเทนต์ กำหนดหัวข้อเนื้อหาที่จะทำในช่วงเวลาหนึ่ง วางเรื่องราว (storyline) และปรับเนื้อหาให้น่าสนใจ
  3. ผลิตคอนเทนต์ เมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่จะสร้างแล้ว ก็เริ่มต้นกระบวนการผลิต ขึ้นอยู่กับรูปแบบคอนเทนต์ เช่น กรณีเป็นคลิปวิดีโอ ต้องมีการถ่ายทำและนำไปตัดต่อหลังจากถ่ายทำเสร็จ
  4. ตรวจสอบและเผยแพร่ หลังจากงานเสร็จสมบูรณ์ คอนเทนต์จะถูกเผยแพร่ตามช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย โดยปล่อยเนื้อหาออกไปอย่างสม่ำเสมอตามแผนที่วางไว้
  5. ติดตามผลและปรับปรุงเนื้อหา วิเคราะห์ผลลัพธ์ของคอนเทต์ที่ปล่อยไปแล้ว เพื่อดูว่าคอนเทนต์ทำงานได้ดีเพียงใด เช่น ดูจำนวนการเข้าถึง (Reach) การมีส่วนร่วม (Engagement) และการเติบโตของผู้ติดตาม นำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงกลยุทธ์และเนื้อหา เพื่อให้คอนเทนต์ที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต
  1. ครีเอทีฟ
  2. นักลำดับภาพ 
  3. ช่างภาพวิดีโอ 
  • สถานที่ทำงาน งานของอินฟลูเอนเซอร์มักจะเกี่ยวข้องกับการถ่ายทำหรือสร้างคอนเทนต์ ซึ่งเกิดได้ทั้งในและนอกสถานที่ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว  หรือถ่ายทำภายในสตูดิโอ ที่พักส่วนตัวของตัวเอง
  • สำนักงานของสังกัดหรือเอเจนซี่  อินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ภายใต้สังกัดหรือเอเจนซี่ อาจต้องเข้าไปทำงานหรือประชุมที่สำนักงานของสังกัดหรือเอเจนซี่เป็นครั้งคราว เช่น การประชุมวางแผนงาน การหารือเกี่ยวกับแคมเปญต่างๆ หรือการทำคอนเทนต์ร่วมกับทีมงานอื่น ๆ โดยจะมีสตูดิโอถ่ายทำหรือสถานที่จัดเตรียมสำหรับการถ่ายทำคอนเทนต์ เช่น การถ่ายวิดีโอ การถ่ายภาพ หรือการทำโฆษณา ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์จะใช้สถานที่เหล่านี้ในการผลิตคอนเทนต์
  • เวลาทำงาน  มีเวลาทำงานยืดหยุ่น สามารถบริหารและจัดการเวลาทำงานได้เอง โดยให้เสร็จในวันเวลาที่กำหนดส่งงาน เนื่องจากลักษณะของงานเป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่อาจเกิดขึ้นในเวลาหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย แต่อยู่ภายใต้สัญญาการรับงานที่มีกำหนดเวลาชัดเจน อินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ใต้สังกัดเอเจนซี่อาจต้องทำงานในกำหนดเวลาที่สังกัดกำหนด เช่น มีเวลาขึ้นถ่ายทอดสด (livestream) เพื่อพบปะแฟนๆ ขายสินค้า เป็นต้น 
  1. ทักษะการเล่าเรื่อง สามารถสร้างและถ่ายทอดเรื่องราวได้ดี ไม่ว่าจะเป็นผ่านการพูด การเขียน หรือวิดีโอ การเล่าเรื่องให้น่าสนใจทำให้คอนเทนต์มีความน่าดึงดูดและเชื่อมโยงกับผู้ชม
  2. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ต้องผลิตคอนเทนต์ให้หลากหลายและสม่ำเสมอ
  3. ความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์และการทำการตลาด วางกลยุทธ์เพื่อให้ตัวเองโดดเด่นในตลาดที่มีการแข่งขันสูง นำเสนอที่เป็นเอกลักษณ์สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่จดจำได้
  4. ทักษะการขาย ในการรีวิวสินค้าหรือบริการ
  5. ทักษะการสร้างความมีส่วนร่วม สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ติดตามหรือผู้รับชม ให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ส่งผลให้เกิดกลุ่มผู้ติดตามจำนวนเพิ่มขึ้น
  • ผลตอบแทน  
    • ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตาม และมีรายได้ได้จากหลายรูปแบบ ทั้งจากการรับรีวิวสินค้าและบริการ ยอดการรับชม (views) การบริจาค (donation) หรือการจากไปทำงานนอกสถานที่ รวมไปถึงการขายสินค้า
    • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีสังกัดเอเจนซี่ อาจมีรายได้ประจำขึ้นอยู่กับบริษัทที่สังกัด
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพ อินฟลูเอนเซอร์
    • นาโน-อินฟลูเอนเซอร์ (Nano-influencer) มีจำนวนผู้ติดตาม ประมาณ 1,000- 1 หมื่นคน มีเรทรายได้ประมาณ 3,000-5,000 บาท ต่อการโพสต์
    • ไมโคร-อินฟลูเอนเซอร์ (Micro-influencer)  มีจำนวนผู้ติดตาม 1-5 หมื่นคน มีเรทรายได้ประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อโพสต์
    • มิดเทียร์-อินฟลูเอนเซอร์ (Mid-tier influencer)  มีจำนวนผู้ติดตาม 5 หมื่น- 5 แสนคน มีเรทรายได้ประมาณ 1-3 หมื่นบาทต่อโพสต์
    • แม็กโคร-อินฟลูเอนเซอร์ (Macro-influencer) มีผู้ติดตามประมาณ 5 แสน- 1 ล้านคน มีเรทรายได้ประมาณ 3 หมื่น- 1 แสนบาทต่อโพสต์
  • มีช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม อินฟลูเอนเซอร์ที่มีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมากและมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น สามารถต่อยอดกลุ่มแฟนคลับนี้ให้เป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกหลายแนวทาง เช่น ทำแบรนด์สินค้าหรือบริการ ขายสินค้าให้ผู้ติดตามโดยเฉพาะ ทำสินค้าที่ทำร่วมกับแบรนด์อื่นที่มีอยู่แล้วในตลาด 
  • เปิดบริษัทรับผลิตสื่อ เช่น ผลิตรายการในสื่อโซเชียลมีเดีย 
  • เปิดบริษัทรับทำแบรนด์และการตลาด เป็นที่ปรึกษา วางแผนการทำตลาดให้กับแบรนด์สินค้าในตลาด รวมถึงเปิดคอร์สเรียน สอนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอนเทนต์ หรือเป็นเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวกับคอนเทนต์ที่ทำ
  • ต่อยอดในวงการบันเทิง เป็นนักแสดง หรือศิลปินในวงการบันเทิง เช่น เล่นมิวสิกวิดีโอ ภาพยนต์ ละคร ซีรีส์ นักร้อง 
  • ความท้าทายของอาชีพอินฟลูเอนเซอร์ 
    • รายได้ไม่แน่นอน โดยที่มาของรายได้ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย (Facebook TikTok หรือ YouTube) จำนวนผู้ติดตาม จำนวนการร่วมงานกับแบรนด์สินค้า ความผันผวนของกระแสและเทรนด์บนโลกออนไลน์ 
    • ความไม่แน่นอนของอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook TikTok หรือ YouTube นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้คอนเทนต์ของเราอาจไม่ได้แสดงผลในฟีดของผู้ติดตาม ส่งผลต่อการเข้าถึง 
    • การแข่งขันสูง ในตลาดคอนเทนต์ออนไลน์มีอินฟลูเอนเซอร์มากมาย เราต้องดึงดูดความสนใจจากผู้ติดตามและลูกค้า ต้องมีการสร้างสรรค์เนื้อหาที่แปลกใหม่และสร้างแบรนด์ที่ชัดเจนเพื่อให้โดดเด่นจากคู่แข่ง
    • ความมีวินัยและความสม่ำเสมอคือหัวใจ ต้องมีวินัยในการสร้างสรรค์คอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อผลิตงานให้มีคุณภาพ
    • ต้องติดตามและอัปเดตความรู้เกี่ยวกับอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม เทรนด์ สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่กำลังเป็นกระแสในช่วงนั้น
  • คลิป YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ อาชีพอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)

 

  • MonaMaison. (2023, April 15). วิธีสร้างตัวตนให้เป็น INFLUENCER ออนไลน์ได้ภายใน 1 ปี! 📸 แชร์ทริคและอุปกรณ์ปังๆที่ควรมี [Video]. https://youtu.be/fIoo_17YV1M?si=UABOEhHXvRGLJObA
  • Peanut Butter. (2024, February 3). ปี 2024 อยากเป็นอินฟลู + อยากทำ Content หารายได้เสริมต้องเริ่มยังไง? | Peanut Butter [Video]. https://youtu.be/98BaP_-mZ3I?si=S6udkYaLhgv3aoSW