พิธีกร

BRAND'S BRAIN CAMP

พิธีกร

ผู้ดำเนินรายการ  นำ หรืออำนวยการให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่างๆ ดำเนินให้เรียบร้อยเป็นไปตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้

TV_show_pana_91ff81b467
  • ดำเนินรายการ เป็นผู้ควบคุมและขับเคลื่อนให้รายการหรือพิธีดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้
  • ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง/ผู้ชม/ผู้เข้าร่วม  นำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างชัดเจนและน่าสนใจ เช่น การแจ้งกำหนดการ แจ้งรายละเอียดของงานและขั้นตอนการดำเนินรายการ  
  • สร้างปฏิสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ชม ผู้ฟัง หรือผู้เข้าร่วมงาน ทำให้เกิดความสนุกสนานและมีส่วนร่วม
  • สร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่งานและผู้เข้าร่วม  สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมกับรูปแบบของรายการหรือพิธี เช่น บรรยากาศสนุกสนาน บรรยากาศเป็นทางการ
  1. ศึกษารายละเอียดและผู้เข้าร่วมงาน ทำความเข้าใจรูปแบบของงาน ธีม เป้าหมายของกิจกรรม และโปรแกรมของงานทั้งหมด รวมถึงศึกษาข้อมูลของผู้เข้าร่วมงานหรือวิทยากร เพื่อสามารถแนะนำและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมเตรียมบทพูด เขียนบทคร่าวๆ ที่จะใช้ในช่วงต่างๆ ของงาน เช่นช่วงเปิดงาน ช่วงแนะนำบุคคล และ รวมถึงสคริปต์สำหรับการเชื่อมโยงช่วงเวลาต่าง ๆ ของงาน
  2. ขึ้นกล่าวต้อนรับ โดยเริ่มจากการกล่าวแนะนำตัว  เปิดตัวพิธีกรอย่างชัดเจน ด้วยน้ำเสียงมั่นใจและยิ้มแย้ม ต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน กล่าวต้อนรับและสร้างบรรยากาศที่ดี โดยเชื่อมโยงกับธีมของงาน
  3. และอธิบายภาพรวมงาน แจ้งให้ผู้ร่วมงานทราบเกี่ยวกับกำหนดการและสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อม 
  4. การดำเนินงานระหว่างกิจกรรม ได้แก่ คอยตรวจสอบและรักษาเวลาของแต่ละกิจกรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกำหนดการ ใช้คำพูดเพื่อเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรม หรือช่วงเวลาต่าง ๆ อย่างราบรื่น ไม่ให้เกิดช่องว่างหรือเงียบชั่วขณะ และคอยรักษาบรรยากาศในงานให้มีความสนุกสนานหรือเป็นทางการตามลักษณะของงาน โดยการใช้เสียง น้ำเสียง และท่าทางที่เหมาะสม
  5. ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์  หากเกิดความล่าช้า หรือมีเหตุฉุกเฉิน พิธีกรต้องสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การแทรกเนื้อหาสั้น ๆ หรือให้ความบันเทิงเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง
  6. การปิดงาน กล่าวสรุปเนื้อหาหรือสิ่งสำคัญของงานที่เกิดขึ้น พร้อมขอบคุณผู้เข้าร่วมงาน ขอบคุณทีมงานและผู้สนับสนุนที่มีส่วนช่วยให้งานสำเร็จลุล่วง และปิดงานด้วยคำพูดที่สร้างความประทับใจ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกดีและจดจำงานในทางที่ดี
  7. การทบทวนหลังงาน ทบทวนความสำเร็จและข้อผิดพลาดของงาน รวมถึงรับฟังความคิดเห็นจากทีมงานหรือผู้เข้าร่วมงาน
  1. ศิลปิน/นักแสดง
  2. ช่างแต่งหน้า/ทำผม
  3. ทีมงานเทคนิค ได้แก่ ช่างเสียง ช่างไฟ ช่างภาพ วิดีโอ
  • สถานที่ทำงาน  พิธีกรทำงานได้หลากหลายสถานที่  ขึ้นอยู่กับผู้จ้างงาน เช่น เช่น โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การประชุม สนามกีฬา สถานที่จัดคอนเสิร์ต เป็นต้น หรือทำงานประจำในองค์กรที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ หรือให้บริการด้านอีเวนต์ เช่น บริษัทจัดอีเวนต์ บริษัทผลิตสื่อและโฆษณา  เป็นต้น 
  • เวลาทำงาน  มีความยืดหยุ่นสูง ขึ้นอยู่กับประเภทของงานและความต้องการของลูกค้า โดยทั่วไปแล้วพิธีกร จะต้องพร้อมทำงานในเวลาที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งอาจจะเป็นช่วงกลางวัน กลางคืน หรือวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ได้
  1. ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร  สามารถสื่อสารได้ชัดเจน ใช้คำพูดที่เหมาะสมกับงานและกลุ่มผู้ฟัง มีน้ำเสียงที่ดี และรู้จักการใช้จังหวะในการพูดเพื่อดึงดูดความสนใจ รวมถึงการใช้ภาษากาย  เช่น ท่าทาง สีหน้า และการแสดงออก เพื่อทำให้สื่อสารมีประสิทธิภาพ ดึงดูดผู้เข้าร่วมมากยิ่งขึ้น 
  2. มีวาทศิลป์  รู้จักการใช้น้ำเสียง การใช้เทคนิคการพูดหรือเล่าเรื่องต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน หรือสร้างบรรยากาศที่ต้องการ 
  3. ทักษะการฟัง สามารถรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อโต้ตอบหรือเชื่อมโยงบทสนทนาต่อจากสิ่งที่ผู้ร่วมงานพูด
  4. ทักษะการจัดการเวลา เพื่อควบคุมเวลาในการดำเนินงาน 
  5. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและมีสติ เช่น การจัดการกับอุปกรณ์ที่ขัดข้อง หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการแสดง
  6. ทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถสื่อสารกับทีมงานได้อย่างชัดเจน รวดเร็ว หากเกิดการเปลี่ยนแปลงหน้างาน 
  7. ความรู้รอบตัว  มีความรู้ในหลากหลายสาขา เพื่อสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินรายการได้
  8. มีบุคลิกภาพที่ดี  มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่ประหม่า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฟัง เป็นมิตร ยิ้มแย้ม และทำให้ผู้ฟังรู้สึกสบายใจและมีส่วนร่วมกับกิจกรรม
  • ผลตอบแทน เริ่มต้นขึ้นอยู่กับผู้จ้างงาน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 4,000 – 10,000 บาท/วัน สำหรับพิธีกรที่เป็นพนักงานประจำอาจมีผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ 18,000-25,000 ต่อเดือน
  • โอกาสในการเติบโตของอาชีพพิธีกร คือ
    • สะสมประสบการณ์และสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับในสายงาน  เพื่อค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 
    • หากมีทักษะภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ก็จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
    • เป็นพิธีกรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น   พิธีกรงานเวทีประกวดต่างๆ พิธีกรงานด้าน IT พิธีกรในงานที่เกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน พิธีกรในงานพิธีการของรัฐ เป็นต้น 
  • ความท้าทายของอาชีพพิธีกร คือ 
    • การทำงานเป็นพิธีกรต้องเผชิญกับความกดดันในการแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และต้องรับผิดชอบต่อความสำเร็จของงาน
    • ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี  หากพิธีกรไม่ศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มงาน อาจจะทำให้การสื่อสารหน้างานติดขัด และผิดพลาดได้ ดังนั้น พิธีกรที่ดีควรมีการศึกษารายละเอียดงาน หรือรายละเอียดขององค์กร (ที่เป็นลูกค้า) มาก่อน เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารหน้างานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
    • การใช้เสียงและการยืนเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ดังนั้น พิธีกรต้องพยายามรักษาคุณภาพเสียง เช่น การดื่มน้ำอุ่นเพื่อบำรุงเสียง และดูแลบุคลิกภาพ เช่น การยืน การเดิน ของตัวเองให้ดี 
    • พิธีกรเป็นอาชีพที่มีการแข่งขันสูง พิธีกรจะต้องรักษามาตรฐานและสร้างจุดเด่นของตัวเองเพื่อให้เป็นที่จดจำ
    • พิธีกรควรติดตาม อัปเดตข้อมูลข่าวสาร กระแสต่างๆ อยู่เสมอเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงตัวเองกับผู้เข้าร่วม
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ พิธีกร 
    • Pingpong Sukanyapa. (2023, Mar 5). เทคนิคการเป็นพิธีกรมือใหม่…ฉบับเร่งด่วน!!! [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=bK9FFkIvyhE 
    • Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ. (2020, Feb 27). EP.01- 3 เทคนิค สู่การเป็นนักพูดมืออาชีพ [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=LefHFK6o_-0 
    • Mint Rapirat. (n.d.). เวทียิ่งใหญ่ ยิ่งตื่นเต้นมาก มีวิธีแก้ค่ะ [Short Video]. https://www.youtube.com/@MINTRAPIRAT/shorts 

 

  • บทความที่เกี่ยวกับอาชีพพิธีกร 
    • Jobsdb.com “MC (Master of Ceremonies) ผู้กุมชะตา ทุกงานอีเวนต์สำคัญ เลือกยังไงให้ปัง”

Jobsdb.com. (2023, July 7). MC (Master of Ceremonies) ผู้กุมชะตา ทุกงานอีเวนต์สำคัญ เลือกยังไงให้ปัง. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/master-of-ceremonies

https://a-chieve.org/content/career-content/career-category-2/career-content-134