ครูมัธยม

BRAND'S BRAIN CAMP

ครูมัธยม

ผู้ให้ความรู้ ให้การดูแล เป็นที่ปรึกษาและเป็นที่พึ่งให้แก่นักเรียน

Teacher_pana_cf6093312c

ลักษณะงานของครู อาจแบ่งเป็นประเภทงานได้ดังนี้

  1. งานสอน มีตั้งแต่การเตรียมการสอน สอนในคาบเรียน ออกข้อสอบวัดผล ตรวจข้อสอบ บันทึกคะแนน และตัดเกรด
  2. ดูแลนักเรียน 
    • นักเรียนที่สอนในรายวิชาที่ครูรับผิดชอบ: คอยดูว่าเข้าใจในสิ่งที่สอนหรือไม่ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง อาจนัดติวเพิ่มเติมนอกรอบเพื่อช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
    • นักเรียนที่เป็นเด็กในที่ปรึกษา: ทำความรู้จัก สอดส่องดูแล สังเกตว่ามีปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ เยี่ยมบ้าน ประชุมผู้ปกครอง สื่อสารกับผู้ปกครอง เช่น เล่ากิจกรรม หรือปัญหาที่เจอ
  3. งานอื่นๆ ในโรงเรียนที่ได้รับมอบหมาย (อาจจะไม่ได้รับมอบหมายทุกคน) เช่น
    • เข้าเวรในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ยืนเวรตอนเช้าหน้าประตูเพื่อต้อนรับนักเรียน ยืนเวรตอนเที่ยงเพื่อตรวจความเรียบร้อยขณะกินข้าว
    • งานวิชาการ เช่น ตรวจข้อสอบ วัดผล ประเมินผล 
    • งานธุรการ ช่วยสนับสนุนครูท่านอื่น ๆ 
    • งานฝ่ายปกครอง เช่น ทำแบบวัดประเมินสุขภาพจิต ดูแลนักเรียนชกต่อย จัดกิจกรรมให้เด็ก เป็นต้น
  4. งานพัฒนาตัวเอง เช่น ไปอบรม ไปประชุม ทำเวิร์กช็อป หาความรู้เพิ่มเติม เป็นต้น
  5. งานประเมินตนเอง โดยต้องประเมินเมื่อสอนจบทุกๆ 1 เทอมหรือ 1 ปีการศึกษา ทำรายงานสรุปประจำปีว่าได้ทำอะไรบ้าง เพื่อให้หัวหน้าและผู้บริหารประเมินผลการทำงาน ซึ่งจะมีผลกับการปรับเงินเดือน การเลื่อนขั้น เลื่อนระดับวิทยฐานะ
ขั้นตอนการทำงานของครู
  1. ก่อนเวลาเข้าเรียน
    • ตรวจดูในคืนก่อนหน้าคาบเรียนนั้นๆ ว่ามีใครแจ้งลาในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ มีเรื่องอะไรบ้างที่ครูต้องจัดการในวันรุ่งขึ้น
    • เข้าเวรหรือทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในตอนเช้า เช่น อยู่เวรหน้าประตูโรงเรียนเพื่อดูแลและต้อนรับนักเรียนก่อนโรงเรียนเข้า
    • เข้าแถวกับนักเรียน สอดส่องดูแล และเช็กจำนวนว่านักเรียนมาครบไหม
  2. เวลาเข้าเรียน
    • สอนตามตารางเรียน
    • ตรวจการบ้าน ให้คำปรึกษา เตรียมการสอน
  3. หลังเลิกเรียน
    • ให้คำปรึกษา หากมีนักเรียนติดต่อขอปรึกษาเรื่องการบ้านหรือเรื่องส่วนตัว
    • เข้าเวรหรือทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น ไปนอนค้างที่โรงเรียนเพื่อดูแลความเรียบร้อย เดินสอดส่องดูแล และมีอำนาจในการตัดสินใจหากมีเรื่องฉุกเฉินเกิดขึ้น
    • เตรียมการสอนในบทเรียนต่อไป หรือ หาไอเดียในการสอน
    • การทำกิจกรรมต่าง ๆให้กับนักเรียน เช่น การคัดเลือกทุน การเป็นครูประจำชมรม
    • ทำงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย เช่น ประสานงาน ไปประชุม
    • ทำงานเอกสารอื่น ๆ เช่น บันทึกการประชุม ทำสรุปงานในส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
  1. อาชีพอื่นๆ ในโรงเรียน เช่น รปภ. ภารโรง
  2. ผู้นำชุมชน
  3. นักจิตวิทยาประจำเขตพื้นที่การศึกษา นักสังคมสงเคราะห์
  4. เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต 
  5. ผู้ให้ทุนการศึกษานักเรียน และให้ทุนสนับสนุนโรงเรียน เช่น วัด บริษัทห้างร้านต่างๆ
  • เวลาทำงานตามเวลาโรงเรียนเข้า คือ 7:30-16:00 น. แต่ในความเป็นจริงอาจต้องดูแล ตอบคำถาม และให้คำปรึกษากับนักเรียนเกือบตลอดเวลา
  • ทำงานในโรงเรียนที่สังกัดอยู่ภายใต้หน่วยงานราชการเดียวกัน เช่น 
    • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 
    • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)
    • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 
    • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
    • กรุงเทพมหานคร (กทม.)
  1. เรียนจบจากคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ใบประกอบวิชาชีพครู) ออกโดยคุรุสภา (หากไม่มีต้องสอบหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป. บัณฑิต ให้ผ่าน)
  2. ไม่ได้เรียนจบจากคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์มาโดยตรง แต่เรียนจบสาขาตรงกับวิชาที่จะสอน สามารถสมัครสอบบรรจุในตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครได้ และต้องเรียนและสอบหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป. บัณฑิต ให้ผ่าน หลังจากได้รับการบรรจุแล้ว
  3. มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างถูกต้องแม่นยำ
  4. มีทักษะการสื่อสาร การอธิบาย มีทักษะในการสอน และมีเทคนิคในการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหา น่าเชื่อถือ น่าเรียน น่าฟัง
  5. เข้าใจธรรมชาติของเด็กในวัยต่างๆ มีความรู้เรื่องจิตวิทยาเด็ก และสามารถสร้างความเข้าใจกับเด็ก รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กนักเรียน สร้างความไว้ใจ และใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับเด็กนักเรียน
  6. สามารถจับประเด็นได้ดี เพื่อฟังเรื่องราวและความต้องการที่นักเรียนต้องการจะสื่อสาร
  7. มีวุฒิภาวะ ช่างสังเกต มีไหวพริบและความเฉลียวใจ เพื่อสังเกตและสำรวจนักเรียนว่าต้องการความช่วยเหลือใดๆ หรือไม่
  8. มีความสามารถในการควบคุมตนเอง รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง มีสติ
  9. ความสามารถในการบริหารจัดการเวลา มีวินัย รู้ขีดจำกัดของตนเอง
  10. ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะครูในโรงเรียนอยู่กันเป็นหมวด เป็นกลุ่มสาระ ต้องทำงานร่วมกันทั้งภายในหมวดและข้ามหมวด เช่น จัดงานวิชาการ จัดกิจกรรม จัดการแข่งขัน ทำงานในทีมตนเองและทำงานร่วมกับกลุ่มสาระอื่น
  11. ชอบทำงานกับเด็ก ชอบผู้คน ชอบพูดคุย
  12. พร้อมพัฒนาตนเองตลอดเวลา หาความรู้เพิ่มเติม หาสื่อการสอน หรือแนวทางการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมการสอนของตนเอง
  13. มีทักษะในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เช่น ระบบการกรอกข้อมูลออนไลน์ การส่งไฟล์หรือเอกสารให้กับนักเรียนและเพื่อนร่วมงานออนไลน์ การใช้อุปกรณ์ต่อสายจอและอินเทอร์เน็ตได้อย่างคล่องแคล่ว
  • เงินเดือนข้าราชการครูปรับเพิ่มขึ้นตามวิทยฐานะ โดยเริ่มต้นที่ 15,800 บาท เรียงลำดับได้ ดังนี้
    • ครูผู้ช่วย
    • ครู ค.ศ. 1 ครูระดับปฏิบัติการ 
    • ครู ค.ศ. 2 ครูชำนาญการ
    • ครู ค.ศ. 3 ครูชำนาญการพิเศษ 
    • ครู ค.ศ. 4 ครูเชี่ยวชาญ
    • ครู ค.ศ. 5 ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
  • การเลื่อนวิทยฐานะ จะต้องทำรายงานผลงานและประเมินตนเองในแต่ละปี ผ่านการประเมินจำนวนปีติดต่อกันตามที่กำหนด
  • วิทยฐานะที่เพิ่มขึ้นจะได้รับเนื้องานเพิ่มขึ้น มีภาระงานที่ท้าทายขึ้น มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น และได้รับผลตอบแทนเป็นค่าตำแหน่งเพิ่มขึ้น
  • หากสังกัดและทำงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ครู 1 คน อาจต้องทำหน้าที่หลายอย่าง เพราะมีจำนวนครูน้อย
  • ถือเป็นอาชีพที่มั่นคงหากเป็นข้าราชการครู อีกทั้งยังได้รับสวัสดิการสำหรับข้าราชการ ได้รับค่ารักษาพยาบาลของตนเอง คู่สมรส และพ่อแม่ รวมถึงได้รับการสนับสนุนค่าเทอมลูกจนจบมหาวิทยาลัย 
  • นอกจากได้รับผลตอบแทนเป็นเงินแล้ว อาชีพครูจะได้รับความรู้สึกชื่นใจเมื่อเห็นเด็กนักเรียนเติบโต เห็นผลของสิ่งที่ได้เฝ้าทำมา เป็นความรู้สึกที่ดีต่อใจ รวมถึงเกิดความรู้สึกภูมิใจทั้งในตัวนักเรียนและในตนเอง เมื่อนักเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่สอน
  • ในแต่ละปีมีตำแหน่งที่เปิดรับในแต่ละจังหวัดไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดเดาได้ ในการสมัครสอบบรรจุ หรือยื่นเรื่องเพื่อขอย้ายพื้นที่ ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ว่างที่เปิดรับสมัครเท่านั้น
  • หากเป็นลูกคนเดียวที่มีพ่อแม่แก่ชราที่อยู่ตามลำพังโดยไม่มีคนดูแล สามารถยื่นเรื่องขอย้ายกลับพื้นที่ในจังหวัดบ้านเกิดได้ โดยต้องผ่านการทำงานในโรงเรียนเดิมมาแล้ว 2 ปี
  • ความท้าทายด้านสุขภาพที่ต้องแลกมาจากการเป็นครู
    • สุขภาพกาย: ต้องยืนสอนนาน เดินเยอะ ทำให้มีอาการปวดหลังหรือปวดขาได้ เสียงแหบ เจ็บคอ เพราะใช้เสียงมากและต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ หลายรอบ
    • สุขภาพจิต: อาจมีความเครียด หรือได้รับความกดดันจากหลายฝ่าย และการเป็นครูในปัจจุบันต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีและ Social Network ที่อาจเป็นช่องทางเผยแพร่และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในความไม่เหมาะสม ที่บางครั้งครูเองก็ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการถูกแอบบันทึกภาพ เสียง คลิป แล้วนำไปตัดต่อได้ เมื่อต้องระวังตัวอย่างรัดกุมและกดดันมากๆ อาจเกิดเป็นความเครียดของครูได้

เข้าร่วมกิจกรรมค่ายบ่มเพาะความเป็นครู ที่สถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ จัด เมื่อไปแล้วจะได้รู้ว่าการเป็นครูต้องทำอะไร เกิดความเข้าใจในคณะและสาขามากขึ้น 

โครงการค่ายบ่มเพาะครูสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://www.facebook.com/SSEDCAMP/

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกการสอนภาษาอังกฤษ
  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต

ปริญญาโท เช่น

  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย/ สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์/ สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567