นักออกแบบกราฟิก

BRAND'S BRAIN CAMP

นักออกแบบกราฟิก

ผู้ออกแบบด้านภาพเพื่อการสื่อสารให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้ทั้ง เนื้อหา และความรู้สึก 

Designer_pana_2_49695116d3
  • ทำงานด้วยการใช้ไอคอน ตัวหนังสือ ภาพวาด และภาพถ่ายมาประกอบกัน
  • ส่วนใหญ่ทำงานผ่านคอมพิวเตอร์
  • เป้าหมายการทำงาน คือ  ออกแบบงานให้ดึงดูดน่าสนใจและถ่ายทอด message ถึงกลุ่มเป้าหมาย
  • ผลงานของอาชีพนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานหลายๆ อย่าง ตัวอย่างเช่น
    • หนังสือ แมกกาซีน สิ่งพิมพ์ ออกแบบจัดเรียงตัวหนังสือ การวางหน้า ทำปก
    • โปสเตอร์ จัดวางองค์ประกอบ การวางตัวหนังสือกับภาพหรือกราฟิก ออกแบบการวางตัวหนังสือที่เป็นข้อความสำคัญ 
    • โฆษณา (Print Ad) การส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ
    • บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ออกแบบกล่อง บรรจุภัณฑ์ กราฟิก ฉลาก
    • Content online เนื้อหาของเพจต่างๆ เช่น ภาพประกอบ หรือ infographic ที่ทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
    • CI (Corporate identity) อัตลักษณ์องค์กรหรือแบรนด์ ออกแบบโลโก้ ฟอนต์ ชุดสี
    • Website, Apps และ User interface (UI)
    • ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายร้าน

ขึ้นอยู่กับว่างานที่ทำ อยู่ในรูปแบบหรือปรากฎบนสื่อประเภทไหน โดยทั่วไปมีขั้นตอนในการทำงานดังนี้

  • รับโจทย์ (Brief) ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า
  • ประเมินเวลาและแผนการทำงานร่วมกันกับลูกค้าและทีมงาน
  • ศึกษาข้อมูลและหาข้อมูลเพิ่มเติมให้สามารถกำหนดงานด้านภาพได้
  • หาตัวอย่างแนวงาน (Reference) ที่คล้ายกับที่กำหนดและทำแบบร่าง (Sketch) ให้ลูกค้าดู เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าแนวทางที่ตั้งใจจะออกแบบเป็นอย่างไร ทั้งโทนสี ฟอนท์ และสไตล์ภาพที่จะใช้
  • เริ่มการออกแบบ
  • นำเสนอลูกค้าและปรับแก้ 

ขึ้นอยู่กับรูปแบบของชิ้นงานและประเภทของสื่อ ตัวอย่างอาชีพอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกับนักออกแบบกราฟิก เช่น

  1. ฝ่ายสร้างสรรค์ (Creative) ที่คิดงานหรือโครงการ
  2. นักเขียน หรือฝ่ายเนื้อหาที่รวบรวมข้อมูลเนื้อหาในชิ้นงาน
  3. ทีมงานด้านภาพ เช่น ช่างภาพ ผู้ถ่ายภาพตามที่นักออกแบบกราฟิกวางแนวทางหรือตั้งโจทย์ให้ นักตกแต่งภาพ (Retoucher) ผู้เก็บรายละเอียดภาพถ่ายให้เป็นตามที่ต้องการ หรือผู้สร้างภาพขึ้นมาใหม่ตามที่ต้องการใช้ในงาน
  4. โรงพิมพ์ ประสานเรื่องการพิมพ์ การเลือกวัสดุ ตรวจงานและทำให้งานออกมาเป็นตามที่ต้องการ เช่น ดูสี การพิมพ์เทคนิคพิเศษต่างๆ ที่ใช้ ดูความถูกต้องของตัวอักษร ภาพและกราฟิกที่ใช้ เป็นต้น
  5. ทีมงานผลิตสื่อ VDOเช่น นักสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animator) เจ้าหน้าที่ตัดต่อ (Editor) เป็นต้น
  6. โปรแกรมเมอร์ 

ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ทำงาน รวมถึงลักษณะการทำงาน ว่าเป็นงานประจำหรือรับงานอิสระ (ฟรีแลนซ์)

  • ตัวอย่างการทำงานเป็นพนักงานประจำในบริษัท
    • ทำงานตามเวลาทำงานของบริษัท เช่น 10.00 – 19.00น.
    • ทำงานที่บริษัท โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงาน
    • อาจมีการนำงานกลับมาทำที่บ้าน ขึ้นอยู่กับการจัดการเวลาและความเร่งด่วนของงาน
  • ตัวอย่างการทำงานเป็นฟรีแลนซ์
    • ทำงานได้ในทุกที่ที่สะดวก เช่น ที่บ้าน ร้านกาแฟ ห้องสมุด
    • จัดการเวลาทำงานได้ตามสะดวกและตามความต้องการ สามารถจัดเรียงลำดับตามความสำคัญและความเร่งด่วน หากงานจบได้เร็วก็จะได้รับเงินค่าตอบแทนเร็ว 
  1. เป็นคนชอบและสนใจงานด้านภาพ เช่นงานออกแบบ งานศิลปะ
  2. ศึกษาดูงานหลากหลายรูปแบบ หลายสไตล์เพื่อรู้จักและเข้าใจโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าเพื่อให้ทำการสื่อสารได้ตรงตามที่ต้องการ
  3. ชอบวาดรูป ซึ่งไม่จำเป็นต้องวาดสวย แค่สามารถอธิบายความคิดให้เข้าใจได้ แต่ถ้าวาดได้สวยก็จะทำงานได้สะดวกมากขึ้น
  4. รู้จักและมีทักษะในการใช้โปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ เช่น Adobe Illustrator, Photoshop, InDesign หรือ Canva เป็นต้น
  5. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน 
  6. มีทักษะในการสื่อสาร งเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการสื่อสาร ว่าอยากจะพูดว่าอะไรและเราจะสื่ออย่างไร 
  7. มีทักษะวางแผนและกลยุทธ์การสื่อสาร สามารถออกแบบการสื่อสารให้ประสบผลสำเร็จได้ เช่น เรียงลำดับสิ่งที่ต้องการให้ผู้รับสารเข้าใจว่าจะเห็นอะไรเป็นอันดับแรกและอันดับต่อๆ ไป หรือในการทำงานจัดแสดงก็สามารถออกแบบว่าจะวางหรือติดอะไรที่ตรงไหน งานชิ้นนั้นจะสื่อสารกับคนที่มาดูอย่างไร เป็นต้น
  8. หากมีทักษะในการใช้ภาษา จะช่วยเสริมในการเก็บรายละเอียด ตรวจทานความถูกต้อง เพิ่มความเป็นมืออาชีพ
  9. ชอบเรียนรู้ เพราะต้องศึกษาเนื้อหาที่ใช้หรือเกี่ยวข้องในชิ้นงาน หากชอบทำงานและได้เรียนรู้ไปด้วย ก็จะทำงานได้สนุก
  10. มีวินัย จัดการเวลาได้ 
  11.  เรียงลำดับความสำคัญ และทำงานเป็นขั้นตอนได้
  12. หากเรียนจบตรงสาขามาจะมีแนวโน้มได้เปรียบกว่าในแง่พื้นฐานและการยอมรับ แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ขอแค่มีความสนใจและมีตัวอย่างงาน (Portfolio) ที่ตรงกับสายงานที่ต้องการสมัคร ก็สามารถสมัครงานได้
  13. หากเคยประกวด หรือมีผลงานที่ได้สื่อสารสู่วงกว้างก็จะได้รับการยอมรับในผลงานระดับหนึ่ง เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าได้ผ่านการทำงานจริง ผ่านกระบวนการแข่งขัน แต่ในการรับเข้าทำงานจริง แต่ละองค์กรอาจพิจารณาในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทักษะความสามารถเฉพาะทาง บุคลิก หรือความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เป็นต้น
  • เงินเดือนเริ่มต้นมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำเล็กน้อย คือประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ขึ้นอยู่กับสายงานและองค์กร
  • รายได้ในเส้นทางอาชีพการทำงานในองค์กร หากได้เป็นหัวหน้า เป็น Art Director อาจได้เงินเดือน 60,000 – 70,000 บาท หรืออาจพัฒนาไปเป็นผู้มองภาพรวมหรือทำงานด้านการจัดการ หากรับงานอิสระ (ฟรีแลนซ์) รายได้ขึ้นอยู่กับการบริหารเวลา อาจมีรายได้ถึง 100,000 บาทต่อเดือนได้ 
  • อาจต้องเก่งหรือชำนาญเฉพาะทางในด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ แต่ถ้า มีความชำนาญกลางๆ อาจต้องศึกษาความรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ทำงานได้หลายแบบ และเพิ่มทักษะอื่นเสริม
  • เป็นอาชีพที่น่าจะมีงานไปตลอด เพราะในอนาคตจะมีจักรวาลนฤมิต (Metaverse) น่าจะทำให้มีความต้องการการออกแบบกราฟิกอีกมาก
  • ปัจจุบันมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทักษะการออกแบบกราฟิกอาจกลายเป็นทักษะหรือคุณสมบัติหนึ่งในอาชีพต่างๆ ที่ผู้จ้างงานต้องการก็ได้ เช่น อาชีพผู้สร้างเนื้อหา (Content Creator) ที่ต้องมีคุณสมบัติสามารถเขียน ถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ ตัดต่อ ออกแบบกราฟิกได้ในคนเดียว เป็นต้น
  • เด็กรุ่นใหม่เก่งและมีความสามารถมากกว่าคนรุ่นก่อน เพราะมีสนามการเรียนรู้ที่กว้างกว่า สามารถค้นทุกอย่างทางออนไลน์ได้หมด 
  • สิ่งที่ต้องแลกมากับการประกอบอาชีพนี้คือ 
  •  สุขภาพ เช่น อาการออฟฟิศซินโดรม คอตึง ปวดบ่าไหล่ คอยื่นไปข้างหน้า มีปัญหาเรื่องเส้นประสาทจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ
  • อาการทางร่างกาย เช่น นอนไม่พอ นอนไม่หลับ ระบบร่างกายผิดปกติ เป็นโรคกระเพาะ เป็นต้น
  • ด้านจิตใจ เช่น มีความเครียด รับแรงกดดันจากวันส่งงาน การโดนคอมเมนท์ หรือการขายงาน เป็นต้น
  • สมดุลเวลาในชีวิต อาจต้องจัดการเวลาให้ดี เพื่อให้มีเวลาสำหรับตนเองหรือใช้เวลากับผู้อื่น

Thumbr

https://www.tumblr.com/ เสิร์ชหางานของนักออกแบบที่สนใจ หรือเพื่อดูงานกราฟิก เช่น

tumblr.com/search/graphic%20design


 

Behance

https://www.behance.net/ เสิร์ชหางานที่สนใจ ติดตามงานของนักออกแบบที่ชอบ 

เช่น ดูตัวอย่างงานออกแบบหนังสือ พิมพ์คำว่า book design

https://www.behance.net/?tracking_source=typeahead_search_direct&search=book%20design



 

Pinterest

https://www.pinterest.com/ เสิร์ชหางานที่สนใจ และ pinterest จะแนะนำงานที่ใกล้เคียงมาให้ 

เช่น ดูตัวอย่างงานออกแบบโปสเตอร์ พิมพ์คำว่า poster design

https://www.pinterest.com/search/pins/?q=poster%20design&rs=typed


 

Instagram 

ติดตามบัญชีของนักออกแบบ หรือสตูดิโอเพื่อติดตามผลงาน

ตัวอย่างในประเทศไทยเช่น

  • pink_blue_black_orange
  • cadsondemak
  • tnopdesign
  • typekfoundry
  • practical_school_of_design
  • practicaldesignstudio

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
  • คณะการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาการผลิตสื่อสร้างสรรค์ 
  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบและผลิตสื่อ
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ สาขาวิชานิทรรศการศิลป์
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาครีเอทีฟกราฟิก
  • คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ

ปริญญาโท เช่น

  • หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารแบรนด์
  • หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป์

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567