นักธรณีวิทยา

BRAND'S BRAIN CAMP

นักธรณีวิทยา

ผู้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับโครงสร้างของดินและหิน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หรือทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อบรรเทาภัยพิบัติทางธรณีวิทยา

World_pana_4445d9bea2
  • ลงพื้นที่สำรวจแหล่งแร่ เพื่อเก็บตัวอย่างหินและแร่ต่างๆ มาศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้ 
  • จัดทำรายงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ ฟื้นฟู การนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ 
  • ศึกษาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น เพื่อระบุสาเหตุ และการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงวางแผนมาตรการการป้องกันเฝ้าระวังภัย  
  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติทางธรณีวิทยา เช่น แร่และหิน ปิโตรเลียม ถ่านหิน น้ำบาดาล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ทั้งการอุปโภคบริโภค รวมถึงเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ  
  • ให้คำแนะนำ ปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการด้านธรณีวิทยาและอุทกธรณีวิทยาแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
  1. กำหนดเป้าหมาย และวางแผนการศึกษา เช่น ระบุเป้าหมายและตั้งสมมติฐานของการศึกษา กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ วิธีการที่ใช้ เครื่องมือในการทำงาน เป็นต้น 
  2. เตรียมข้อมูลของพื้นที่ที่จะศึกษา เช่น ภูมิประเทศ ระดับความสูง วัสดุธรณี เป็นต้น และเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น เช่น ภาพถ่ายทางอากาศของบริเวณที่จะศึกษา เครื่องมือวัดแรงดันในดินและหิน และอุปกรณ์สำหรับการสกัดตัวอย่าง ฯลฯ
  3. ลงพื้นที่เพื่อศึกษา รวบรวบข้อมูลตามวิธีการที่วางแผนไว้ เช่น ค้นคว้ารวบรวมข้อมูล สแกนชั้นหิน เก็บตัวอย่างหิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง  เป็นต้น
  4. วิเคราะห์และตีความผลการศึกษา โดยใช้ความรู้เฉพาะทาง และเครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางธรณีวิทยา โดยแบ่งวิธีการวิเคราะห์ออกเป็น
  • วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการหรือใช้เครื่องมือในห้อง Lab เพื่อวิเคราะห์ว่าตัวอย่างที่เก็บมาได้
  • นำตัวอย่างมาจำแนกว่าคืออะไร เหมาะที่จะนำมาใช้งานตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่
  1. สรุปผลตามเป้าหมายการศึกษา และจัดทำรายงานผลการศึกษาเพื่อนำเสนอให้แก่หน่วยงานผู้ให้ทุนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  2. ศึกษาและอัพเดทความก้าวหน้าในความรู้ด้านธรณีวิทยาและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงความรู้ที่มีให้ทันสมัยตลอดเวลา
  1. นักวิทยาศาสตร์สภาพแวดล้อม
  2. นักชีววิทยา
  3. นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์
  4. นักวิทยาศาสตร์เคมี
  5. นักวิชาการป่าไม้
  6. วิศวกรโยธา
  7. วิศวกรปิโตรเคมี
  • นักธรณีวิทยา สามารถเข้าทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น 
    • หน่วยงานราชการ เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมน้ำบาดาล กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
    • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น 
    • บริษัทเอกชน เช่น บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทเหมืองแร่ เป็นต้น
  • อาชีพนี้มีทั้งการทำงานในสำนักงาน และการปฏิบัติงานในภาคสนาม เช่น การลงสำรวจพื้นที่, การทำงานบนแท่นขุดเจาะ เป็นต้น
  • นักธรณีวิทยาทำงานตามเวลาชั่วโมงทำงานขององค์กรนั้น ๆ เช่น เวลา 8.30 น. – 16.30 น. เป็นต้น
  • การทำงานภาคสนาม เวลาทำงานจะยืดหยุ่นตามภาระงาน เช่น
    • การทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน เวลาทำงานจะแบ่งเป็นกะ กะละ 12 ชั่วโมง และถ้าได้รับข้อมูลเร่งด่วนนอกเวลาทำงาน นักธรณีวิทยาจำเป็นต้องรีบวิเคราะห์และส่งกลับไปแม้อาจจะเป็นเวลาตีสอง
    • การสำรวจพื้นที่เวลาจะค่อนข้างยืดหยุ่น ออกเดินทางตามสะดวกและตามธรรมชาติของงาน มีการใช้เวลาเดินทางนานบ้าง สั้นบ้างตามระยะทาง และในช่วงเวลาที่ลงพื้นที่ภาคสนามจะไม่ทำงานจนมืดค่ำ เพราะเมื่อมืดแล้วไม่สามารถเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยาได้
  1. เพิ่งเริ่มมีใบประกอบวิชาชีพนักธรณีวิทยา จึงเริ่มมีการใช้ และขอตรวจสอบใบประกอบวิชาชีพนักธรณีวิทยา
  2. เรียนจบมัธยมสายวิทย์มา น่าจะเหมาะมาเรียนต่อทางธรณีวิทยา
  3. มีองค์ความรู้ในวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Pure Science) ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และคณิตศาสตร์ เพราะธรณีวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ต้องใช้ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ เช่น คณิตศาสตร์ใช้คำนวณความหนาของชั้นหิน มุมที่เอียงของชั้นหิน ชีววิทยาใช้เมื่อเจอฟอสซิลแล้วต้องดูว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในไฟลัม หรือสปีชีส์ใด อาศัยอยู่ในช่วงเวลาใด เคมีใช้เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของวัสดุธรณีวิทยา (Earth Material) ความรู้ทางฟิสิกส์ใช้กับเครื่องมือสำรวจ
  4. ในการทำงานจำเป็นต้องใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์สำหรับนักธรณีวิทยา เพื่อสร้างแบบจำลอง สร้างแผนที่ ช่วยในการคำนวณการประเมินพื้นที่และทรัพยากร
  5. ต้องมีนิสัยการทำงานแบบนักวิทยาศาสตร์ คือ มีกระบวนการตั้งสมมติฐาน ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลที่ได้เพื่อทดสอบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
  6. ช่างสังเกต เพราะสนามที่นักธรณีวิทยามองหาเป้าหมายนั้นมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การสังเกตทำให้หาเป้าหมายได้พบ
  7. ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ เดินทางไปยังที่ต่างๆ ด้วยวิธีที่ค่อนข้างยากลำบากได้
  • เงินเดือนและค่าตอบแทน หากทำงานในองค์กรรัฐ เงินเดือนเริ่มต้นตามเงินเดือนข้าราชการ (ประมาณ 15,000 – 16,500 บาท) หากทำงานในองค์กรสำรวจ เช่น สายปิโตรเลียม เหมืองแร่ เงินเดือนเริ่มต้นระดับปริญญาตรีอาจสูงถึง 45,000 บาท
  • หากทำงานในองค์กรใหญ่ อาจได้ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ ซึ่งไม่ต้องลงพื้นที่ภาคสนาม แต่ถ้าหากทำงานในองค์กรเล็ก อาจจะต้องทำทุกหน้าที่
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “นักธรณีวิทยา” มีดังนี้
    • นักธรณีวิทยาในหน่วยงานราชการและเอกชน สามารถเติบโตไปตามสายงานด้านการบริหารไปจนถึงระดับผู้บริหาร ดังนี้
      • นักธรณีวิทยา, นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ 
      • นักธรณีวิทยาอาวุโส, นักธรณีวิทยาชำนาญการ
      • ผู้จัดการนักธรณีวิทยา, หัวหน้าฝ่าย, หัวหน้ากอง
      • รองอธิบดี (เฉพาะหน่วยงานราชการ)
      • อธิบดี (เฉพาะหน่วยงานราชการ)
    • นักธรณีวิทยาที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาก ๆ สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งงานเฉพาะทางมาก ๆ ได้ เช่น
      • นักบรรพชีวินวิทยา(Paleontologists) ศึกษาซากดึกดำบรรพ์
      • นักภูเขาไฟ (Volcanologists) ศึกษาภูเขาไฟที่ยังปะทุและดับแล้ว
      • นักอุทกธรณีวิทยา (Hydrogeologists) ศึกษาปริมาณและคุณภาพของแหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน
      • นักธรณีโบราณคดี ศึกษาแปลความศิลาจารึก ภาษา ศิลปะ ในยุคต่าง ๆ โดยงานโบราณคดีในยุคที่ยังไม่มีภาษาไม่มีการจดบันทึก จะใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยาเป็นส่วนสำคัญในการศึกษา เช่น เศษหินที่ดูวุ่นวายอาจหมายถึงชุมชนนี้เคยมีดินถล่ม บ้านที่เอียงอาจหมายถึงแผ่นดินไหว เป็นต้น
      • นักธรณีวิทยาที่ทำงานด้านภัยพิบัติที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ประเมินภูเขาไฟที่กำลังจะประทุ สึนามิ หรือแผ่นดินไหว การเตรียมให้ประชาชนอพยพ
      • นักธรณีวิทยาที่สำรวจตรวจสอบ กำกับดูแลความปลอดภัยเรื่องเขื่อน
      • นักธรณีวิทยาที่ทำแผนที่ธรณีวิทยา เพื่อข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่นั้น หรือประเมินตำแหน่งทรัพยกรต่าง ๆ ในดิน หรือประเมินภัยพิบัติ
      • นักธรณีวิทยาที่ทำงานด้านภูมิสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ดูความเป็นไปได้ของน้ำท่วม โอกาสดินถล่ม ประเมินทรัพยากร เป็นต้น
  • งานของนักธรณีวิทยาเป็นงานที่ใช้ความสามารถเฉพาะทางมาก เป็นงานที่อาชีพอื่นจะทำแทนได้ยาก
  • เป็นอาชีพที่มีความต้องการสอดคล้องไปกับการเติบโตของอุตสาหกรรมด้านเหมืองแร่และปิโตรเลียม
  • ภาวะโลกร้อน ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และพิบัติภัยธรรมชาติ เพิ่มสูงขึ้นทำให้นักธรณีวิทยาเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “นักธรณีวิทยา”  คือ 
    • นักธรณีวิทยาต้องทำงานลงพื้นที่ซึ่งต้องเจอสภาพอากาศที่หลากหลาย เช่น แดดร้อน ฝนตก อากาศหนาว ฯลฯ ซึ่งอาจต้องทำงานในพื้นที่ทุรกันดาร เข้าถึงยาก
    • งานวิจัยทางธรณีวิทยามีความซับซ้อน ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สูงเพื่อรวบรวมข้อมูล คำนวณข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูล
    • นักธรณีวิทยาต้องเผชิญกับความกดดันในเรื่องจำนวนการตีพิมพ์ผลงานวิจัย
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
    • การลงพื้นที่ทำงาน ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก หรือเป็นสถานที่ที่อาจเกิดภัยพิบัติซ้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย
    • เนื่องจากข้อมูลการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรณี อาจมีเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • คลิป YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักธรณีวิทยา เช่น
  • “มิตรเอิร์ธ – mitrearth” พื้นที่แบ่งปันความรู้ ข่าวสารและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์โลก
  • Geology Youth Camp (ค่ายเยาวชนธรณีวิทยา จุฬาฯ) ค่ายแนะแนวการศึกษา จัดโดยนิสิตภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเกี่ยวกับ “นักธรณีวิทยา” 

 

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ 
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์
มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวณ
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้
  ปริญญาตรี เช่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาธรณีวิทยา
  • คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
  • สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและเทคโนโลยีธรณี
  ปริญญาโท เช่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา(หลักสูตรนานาชาติ)
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีศาสตร์และพลังงาน
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์(หลักสูตรนานาชาติ)
  • คณะเทคโนโลยี วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
  ปริญญาเอก เช่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา
  • คณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา(หลักสูตรนานาชาติ)
  • คณะเทคโนโลยี ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
  • คณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
*ข้อมูล ณ ปี 2567