นักพัฒนาเกม

BRAND'S BRAIN CAMP

นักพัฒนาเกม

ผู้ผลิตเกมในรูปแบบแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Device) ทุกรุ่น 

Video_game_developer_pana_2_1d8b559792
  • รับโจทย์จากลูกค้าหรือตั้งเป้าหมายงานที่ต้องการ คิด ออกแบบ และทำให้โปรแกรมนั้นสามารถทำงานได้ เพื่อสร้างเกมจากความคิดต้นฉบับให้เป็นจริงขึ้นมา และทำงานได้ถูกต้อง 100% ไม่มีข้อผิดพลาด โดยคำนึงถึงผู้เล่นเกมและอุปกรณ์ของผู้เล่นเป็นสำคัญ ตามที่ผู้ออกแบบเกมได้ออกแบบมา เปรียบเสมือนวิศวกรที่คิดคำนวณและก่อสร้างบ้านตามที่สถาปนิกออกแบบมาให้ สามารถสร้างได้สำเร็จและใช้งานได้จริงตามแบบ

 

  • ทำงานเป็นทีมร่วมกับนักพัฒนาเกมคนอื่น โดยอาจแยกหน้าที่ออกเป็น

 

  • นักพัฒนาเกมที่รับผิดชอบส่วนหน้าตาของเกม (Front-End Game Developer) ให้เป็นไปตามที่นักออกแบบเกมและนักออกแบบกราฟิกได้ทำงานไว้
  • นักพัฒนาเกมที่รับผิดชอบส่วนโปรแกรม และคุณลักษณะต่างๆ ของเกม (Back-End Game Developer) ทำให้เกมเล่นได้ตามที่กำหนด และรักษาคุณภาพการทำงานของระบบเกม
  • นักพัฒนาเกมที่รับผิดชอบเฉพาะส่วน เช่น เขียนโค้ดเฉพาะการเคลื่อนไหวของตัวละคร, เขียนโค้ดเฉพาะส่วน technical art, เขียนโค้ดส่วน UI เป็นต้น

ขั้นตอนการทำงานร่วมกับนักพัฒนาเกมคนอื่นภายในทีม มีดังนี้

  • รับโจทย์จากผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบเกม (Game Designer) 
  • ประชุมหารือร่วมกับทีมนักพัฒนาเกม เพื่อวางแผนงาน ด้วยการ
  1. แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ (Task) เพื่อเรียงลำดับงาน โดยพิจารณาจากความยากง่าย ความสำคัญ และความเร่งด่วน 
  2. ทำการประเมินเวลาและจำนวนคนที่ต้องใช้ทำงานในแต่ละส่วน 
  3.  สรุปเป็นข้อตกลงกัน เรื่องการแบ่งการทำงานเป็นรอบๆ (Sprint) และกำหนดว่าในแต่ละรอบจะมีงานส่วนไหนที่ต้องทำให้สำเร็จบ้าง
  • แยกย้ายไปทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมาย 

       โดยแต่ละคนรับผิดชอบจัดเวลาการทำงานของตนเอง

  1. ค้นคว้า (Research) หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เช่น การทำเกมเตะฟุตบอล นักพัฒนาเกมต้องศึกษาหลักฟิสิกส์ของแรงเตะตามความเป็นจริง ว่าเมื่อลูกฟุตบอลโดนแรงเตะแล้วลูกจะลอยจะย้อยอย่างไรเพิ่มเติม 
  2. เขียนโค้ดให้โปรแกรมทำงานได้ตามที่กำหนด
  3. ทดสอบการทำงาน แก้ไขเพิ่มเติม
  • อัพเดทกับทีมเมื่อถึงกำหนดรอบการทำงาน และเลือกงานส่วนอื่นๆ สำหรับรอบการทำงานอื่นๆ ต่อไป

 

นอกจากนี้นักพัฒนาเกมยังมีการทำงานร่วมกับอาชีพอื่นภายในทีม ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  • รับผลงานกราฟิก หรือแอนิเมชั่น ที่ทีมผู้ออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) และทีมผู้สร้างภาพ 3 มิติหรือผู้สร้างภาพเคลื่อนไหว (3D Modeler, 3D Animator) ได้สร้างสรรค์มา นำมาใส่ในเกม
  •  เมื่อเขียนโค้ด ทำเกม ใส่งานกราฟิกหรือแอนิเมชั่น ทดสอบการทำงานและแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ส่งเกมให้ทีมนักทดสอบเกม (Game Tester) ได้ทดลองเล่นและตรวจสอบทุกระบบการใช้งาน รวมถึงทุกอุปกรณ์การเล่นเกม หากมีส่วนที่ต้องแก้ไข ทีมพัฒนาเกมจะรวบรวมตั้งเป็นรอบการทำงานเพื่อแก้ไข หลังจากแก้เสร็จแล้วส่งให้นักทดสอบเกมตรวจสอบจนกว่าจะไม่มีข้อผิดพลาด
  • นำเกมขึ้นเผยแพร่ตามระบบต่างๆ และรับฟังเสียงตอบรับจากผู้เล่น
  • หากเกมมีอีเวนท์พิเศษหรือต้องทำส่วนเพิ่มเติม ก็จะแบ่งงานเป็นส่วนๆ ตั้งรอบการทำงาน และทำไปตามขั้นตอนจนจบรอบการทำงาน จากนั้นนำไปให้นักทดสอบเกม ทดลองเล่น และนำเกมเผยแพร่
  1. เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนด (มักเติบโต เลื่อนขั้นมาจากผู้ออกแบบเกมที่ทำงานมานานแล้ว หรือนักพัฒนาเกมที่ทำงานมานาน)
  2. นักออกแบบเกม (Game Designer) ออกแบบแนวคิดหลัก (Concept) วิธีการเล่น กลไกต่างๆ ของเกม รวมถึงทิศทางภาพรวมของตัวละครและกราฟิกในเกม โดยคำนึงจากประสบการณ์ของผู้เล่น
  3. นักออกแบบกราฟิกในเกม (Graphic Designer) นักสร้างสรรค์ภาพ (Visual Artist) เป็นผู้ออกแบบ สร้างสรรค์ความสวยงามในเกม
  4. นักออกแบบสามมิติ (3D Modeler) และ นักสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ (3D Animator) สำหรับเกมที่มีภาพ 3 มิติ
  5. นักทดสอบเกม (Game Tester, QA Quality Assistance) ผู้คอยทดสอบเกมก่อนปล่อยสู่ผู้เล่น ด้วยการตรวจสอบความถูกต้องของเกมในทุกๆ อุปกรณ์การเล่น และทุกๆ ความเป็นไปได้ที่ผู้เล่นจะกดคลิกไปได้ เพื่อรวบรวมสิ่งที่ต้องแก้ไขให้นักพัฒนาเกมกลับไปแก้
  6. ผู้สร้างระบบข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลและการเล่นเกมออนไลน์

อาจทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานร่วมกับทีมที่ออฟฟิศ ขึ้นอยู่กับแนวคิดและความสามารถในการจัดการของแต่ละบริษัท 

ตัวอย่างการทำงานที่บ้าน (Remote 100%)

  • ปกติทำงาน 9:00-16:00น. ยืดหยุ่นช่วงเวลาเริ่มและเลิกงานได้ โดยปกติจะมีชั่วโมงทำงานให้ครบ 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • เนื่องจากทีมงานจะต่างคนต่างทำคนละหน้าที่กันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่ในที่เดียวกัน แต่สามารถสื่อสารระหว่างการทำงานผ่าน Platform อะไรก็ได้ที่ได้ยินเสียงกัน 
  • มีระบบและกระบวนการทำงานที่มีการแบ่งงานเป็นส่วน (Task) ที่ชัดเจน เป็นรอบการทำงาน (Sprint) ที่ชัดเจน มีกำหนดเวลาและขอบเขตการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อช่วยให้แต่ละคนรู้งานและหน้าที่ของตนเอง รวมถึงช่วยให้รู้และตรวจสอบปริมาณงานในแต่ละวันไดั
  • ในบางโอกาสที่จำเป็น ก็ต้องประชุมหรือทำงานร่วมกันบ้าง เช่น เมื่อได้รับโจทย์มา จะมีการประชุมร่วมกันในทีมเพื่อระดมความคิด (Brainstorm) กำหนดและแบ่งงานกัน โดยประชุมกันทาง ออนไลน์
  • หากบริษัทมีการจัดการงานและตารางเวลาทำงานที่ดี จะไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา

 

ตัวอย่างการทำงานที่ออฟฟิศ

  • เวลาเริ่มและเลิกงานขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท โดยมากคือจำนวนเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เช่น 10:00-19:00 น. (พักกินข้าว 1 ชั่วโมง)
  • มีประชุมสั้นๆ (Stand-up Meeting) ก่อนเริ่มและเลิกงาน เพื่ออัพเดทสิ่งที่จะทำในวันนี้ และสิ่งที่ได้ทำไปในวันนี้ โดยกำหนดเวลาประชุมที่สะดวกกับทุกคน สำหรับคนที่ยังเดินทางมาไม่ถึงออฟฟิศ หรือต้องออกไปประชุม สามารถเข้าร่วมประชุมออนไลน์ได้
  • มีระบบและกระบวนการทำงานที่แบ่งงานเป็นส่วน (Task) และรอบการทำงาน (Sprint) รวมถึงกำหนดเวลาขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน เพื่อมีกรอบเวลาและปริมาณงานในการทำงานแต่ละส่วนที่ชัดเจนและทันกำหนดเวลา
  • มีการประชุมเพื่อระดมความคิด หรือแก้ปัญหาปรับความเข้าใจให้ตรงกันกับภายในทีม รวมถึงกับทีมอื่นๆ แบบ offline 
  • อาจมีกำหนดส่งงานที่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อทำให้งานเสร็จ การได้ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
  1. ต้องสามารถเขียนโปรแกรมได้ โดยแต่ละโปรแกรมมีวิธีเขียนที่ไม่เหมือนกัน แต่หลักการเขียนค่อนข้างเป็นหลักการเดียวกัน ดังนั้น การเขียนโปรแกรมหนึ่งๆ ได้จะเป็นพื้นฐานที่ทำให้สามารถเรียนรู้การเขียนโปรแกรมอื่นๆ ได้
  2. มีความสามารถในการพิมพ์คีย์บอร์ดได้คล่อง เพราะต้องใช้พิมพ์สิ่งที่คิดออกมาเป็นโค้ดให้ได้ในเวลาน้อยที่สุด
  3. มีทักษะทางคณิตศาสตร์ จะทำให้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้ไว
  4. มีทักษะทางภาษาอังกฤษ จะเป็นข้อได้เปรียบในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
  5. รู้จัก เข้าใจ และมีความรู้ในการใช้งานอุปกรณ์ (Device) ที่ใช้เล่นเกม เช่น การสัมผัสหน้าจอ การใช้นิ้วลาก เป็นต้น
  6. สนใจและศึกษาอัพเดทอุปกรณ์ใหม่ๆ เสมอ เพื่อเขียนโปรแกรมที่ทำให้เกมสามารถเล่นได้บนทุกอุปกรณ์ ทุกรุ่น เช่น เมื่อมีโทรศัพท์มือถือรุ่นที่พับหน้าจอได้ออกมาใหม่ นักพัฒนาเกมต้องศึกษาและทดสอบการเล่นเกมบนอุปกรณ์นี้ เป็นต้น
  7. มีทักษะในการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องสื่อสารได้ชัดเจน คุยกับทีมตนเองและทีมอื่นๆ ได้รู้เรื่อง เช่น ตรวจสอบว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่? สิ่งที่ส่งมาให้นี้ถูกต้องแล้วหรือไม่? เป็นต้น เพราะนักพัฒนาเกมเป็นคนสุดท้ายที่สร้างและประกอบทุกอย่างให้ออกมาเป็นเกม ก่อนที่จะปล่อยเกม แจกจ่ายให้ผู้เล่นทั้งหมดสามารถเข้าถึงได้
  8. มีความละเอียด รอบคอบ
  9. มีวินัยในตนเอง
  10. คิดหาวิธีที่เรียบง่ายเพื่อเขียนโค้ดที่ดีที่สุด (ง่ายและเร็ว) ก่อนลงมือเขียน โดยอาจคิดทบทวนอย่างถี่ถ้วน หรือปรึกษานักพัฒนาเกมผู้อื่น เพื่อหาแนวทางในการเขียนโค้ด
  11. สนใจเกม ชอบเล่นเกม (แต่การชอบเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เป็นนักพัฒนาเกมได้ ต้องมีองค์ประกอบและความสามารถอื่นๆ อีกมาก)
  12. มีความชอบและอยากทำเกม เมื่อได้ทำเกมออกมาจริงๆ จะทำให้มีความสุข และหากได้การตอบรับที่ดี ก็จะเป็นแรงผลักดันที่ดี
  • บางบริษัทรับนักพัฒนาเกมเข้าทำงานด้วยการดูผลงานที่เคยทำมา โดยไม่จำเป็นต้องมีวุฒิเรียนจบที่ตรงสาย โดยมากตอนสัมภาษณ์ก่อนเข้าทำงานจะมีการให้ทำแบบทดสอบให้ลองทำเพื่อดูว่าสามารถเขียนโปรแกรมได้หรือไม่
  • เป็นอาชีพที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ 
  • เงินเดือนเฉลี่ย 20,000 บาท และอาจไต่ระดับตามความสามารถไปจนถึงเงินเดือนหลักล้าน 
  • บางบริษัทมีสวัสดิการ เช่น สั่งข้าวฟรี มีบัตรนวดให้ ได้โบนัสปลายปี ได้หุ้นของบริษัท มีค่าเสื่อมของคอมพิวเตอร์และค่าไฟให้หากใช้คอมพิวเตอร์ของตนเองทำงานที่บ้าน
  • เส้นทางอาชีพ (Career Path) ค่อนข้างชัดเจน เริ่มจากการทำงานระดับที่ไม่ซับซ้อน ไปจนถึงการทำระบบและงานจัดการหรืองานบริหาร

 

  • นักพัฒนาเกมระดับเริ่มต้น (Junior Game Developer)
  • นักพัฒนาเกมระดับกลาง (Mid-Level Game Developer)
  • นักพัฒนาเกมอาวุโส (Senior Game Developer)
  • หัวหน้าทีมเกม (Game Leader)
  • ผู้กำกับเกม (Game Director)

 

  • นอกจากได้รับผลตอบแทนเป็นเงินแล้ว จะได้ความสุขในการทำงาน (หากเป็นคนที่ชอบเล่นเกม) และได้ความชื่นใจ เมื่อได้รับเสียงตอบรับ (Feedback) จากเกมที่ตนเองทำ
  • สิ่งที่ต้องแลกมาจากการทำอาชีพนี้ คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด จากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ (อาการออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome) เนื่องจากนั่งท่าเดิมเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ต้องคอยเปลี่ยนท่าบ่อยๆ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หากมีงานด่วนที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่ด่วนมากเกินกว่าที่จะทำได้ ก็จะต้องใช้พละกำลังมาก  หรืออาจจะต้องทำงานให้เสร็จภายใต้แรงกดดันมากๆ จึงควรต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่ง แต่ถ้าไม่ไหวหรือทำไม่ได้จริง ๆ ก็จะต้องสื่อสารเพื่อให้ทีมมาช่วยสนับสนุน
  • ลักษณะการทำงานถึงแม้จะเป็นการทำงานเป็นทีม แต่ก็ต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งและมีวินัยด้วยตนเอง รับผิดชอบและทำงานส่วนที่ตนได้รับมอบหมายให้สำเร็จให้ได้
  • แนวโน้มในอนาคต: เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะการเกิดขึ้นและพัฒนาของจักรวาลนฤมิต (เมตาเวิร์ส หรือ Metaverse) ซึ่งเป็นโลกเสมือนที่สร้างด้วยระบบความจริงเสมือน (VR–Virtual Reality) และระบบสามมิติ (3D– 3 Dimension) ซึ่งจะทำให้เกิดเกมที่เล่นเพื่อสะสม  สินทรัพย์ดิจิตัล ประเภทที่ไม่สามารถทำซ้ำหรือคัดลอกได้ (NFT – Non-Fungible Token) เป็นจำนวนมาก และเกิดบริษัทผลิตเกมประเภทนี้จำนวนมาก
  • ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคนเล่นเกมเยอะมาก แต่คนที่ผลิตเกมจริงๆ เพื่อขายสำหรับเล่นเพื่อความบันเทิงยังไม่ค่อยมี ส่วนมากเป็นคนทำเกมที่ใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้
  • การเรียนต่อปริญญาโทในประเทศไทย ยังไม่มีสาขาด้านนักพัฒนาเกมเรียนโดยเฉพาะ เนื่องจากสาขานี้ในระดับปริญญาตรียังเพิ่งมีในประเทศไทยไม่นาน การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทอาจต้องไปต่อที่ต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นการเรียนเชิงลึกทางด้านการเขียนโปรแกรม

Blackeys

ช่องใน Youtiube ที่เป็นที่รวมคลิปสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเกมที่เข้าใจง่าย แบ่งเป็น Playlists ต่าง ๆ เช่น How to make a video game, How to make a defense tower game, How to make อีกหลาย ๆ อย่างใน Playlist แต่ต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว บางคลิปอาจจะเก่าไปแล้ว เช่นบางคลิปสอนไว้ตั้งแต่ปี 2016 บางทีปัจจุบันนี้อาจจะไม่เขียนโค้ดอย่างที่สอนในคลิปแล้ว ต้องศึกษาต่อเพิ่มเติม และลองอ่านที่คอมเมนท์ด้วยว่ามีคนถามไหม ว่ายังเขียนแบบนี้ได้อยู่อีกหรือไม่

https://www.youtube.com/c/Brackeys

 

ยูทูปเบอร์ สายโค้ดเกม

(1) https://www.youtube.com/c/Blackthornprod

(2) https://www.youtube.com/channel/UCIabPXjvT5BVTxRDPCBBOOQ

(3) https://www.youtube.com/c/CodeMonkeyUnity

 

หาเวทีประกวดเพื่อประสบการณ์เพิ่มเติม เช่น 

  • การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest – NSC) 
  • งาน Game Talent Showcase ที่จัดโดย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่มีความสนใจในอุตสาหกรรมเกมได้นำเสนอผลงาน รวมถึงมีโอกาสได้พูดคุยเชิงธุรกิจกับนักลงทุนต่าง ๆ

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • (ปัจจุบันมีโอกาสสำหรับนักเรียนทุกสายการเรียน แต่จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะ สามารถสอบวัดระดับและผ่านเกณฑ์คัดเลือกต่างๆ ตามที่กำหนดด้วย)

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

ปริญญาโท เช่น

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

ปริญญาเอก

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

*ข้อมูล ณ ปี 2567