ผู้จัดการกองทุน

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้จัดการกองทุน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่นำเงินของนักลงทุนที่ซื้อกองทุนไปบริหาร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนนั้น ๆ

Charts_pana_d77aa6fa84
  • คิดวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจลงทุน 
  • วางแผนการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสอดคล้องตามเป้าหมายที่กำหนด และตัดสินใจลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้
  • ติดตามความเคลื่อนไหว และผลตอบแทนของการลงทุนที่ได้ลงทุนไปแล้ว
  • ก่อนลงทุน
    • วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์หลักทรัพย์ วิเคราะห์ความเสี่ยง เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน
    • วางแผนการลงทุน กระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม รวมถึงให้สอดคล้องกับสิ่งที่กองทุนได้โฆษณาหรือประกาศไว้ เช่น กองทุนนี้มันมีความเสี่ยงระดับปานกลาง ก็จะเป็นกรอบในการตัดสินใจ ว่าจะลงทุนตัวไหนเท่าไหร่ อย่างไร
    • นำสิ่งที่คิดวางแผนมาตัดสินใจลงทุนจริง
  • หลังลงทุน
    • ติดตามผลการลงทุนว่าเป็นอย่างไร 
    • พิจารณาตัดสินใจปรับการลงทุน เพื่อให้ผลการดำเนินงานสอดคล้องไปกับเป้าหมายและแผนงานให้มากขึ้น
  1. โบรกเกอร์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน
    • โบรกเกอร์ที่คอยอำนวยความสะดวกให้ผู้จัดการกองทุน ในการเลือกซื้อขายหลักทรัพย์
    • โบรกเกอร์ที่เป็นนักวิเคราะห์
  2. นักวิเคราะห์ ที่ปรึกษาในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือนักวิชาการผู้เขียนบทความ ที่วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การลงทุน โดยผู้จัดการกองทุนนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการตัดสินใจ รวมถึงปรึกษาข้อมูลและการลงทุนกับนักวิเคราะห์ด้วย
  3. นักลงทุน เจ้าของเงินลงทุน หรือผู้นำเงินมาลงทุนซื้อกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลการลงทุน

ทำงานที่ออฟฟิศหรือนอกสถานที่ ตามเวลาตลาดหลักทรัพย์เปิดปิด (10:00 น.-16:30 น.) หรือตามเวลาทำงานทั่วไป (8:00 น.-17:00 น.) โดยใน 1 วัน อาจทำงานดังนี้

  • ก่อนตลาดหลักทรัพย์เปิด เป็นช่วงรวบรวมข้อมูล เพราะมีข้อมูลใหม่ ๆ มาทุกวัน ทั้งอ่านและค้นคว้าเพิ่มเติม ติดตามข่าว หรือฟังข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์จากโบรกเกอร์ที่โทรมาสรุป และคิดวางแผนว่าจะปรับการลงทุนหรือไม่อย่างไร
  • เมื่อตลาดเปิดแล้ว หาจังหวะซื้อและทำการสั่งซื้อหลักทรัพย์ตามที่ได้ตัดสินใจไว้ 
  • ติดตามราคาหลักทรัพย์ที่กำลังสนใจ และหลักทรัพย์ที่เราซื้อไว้แล้ว
  • ติดตามดูมูลค่าเงินที่เข้าและออกจากกองทุน ว่ามีคนซื้อและขายหน่วยกองทุนเท่าไหร่ อย่างไรบ้าง
  • เมื่อตลาดหลักทรัพย์ปิด วิเคราะห์มูลค่ากองทุนของเราที่ได้ลงทุนซื้อขายไปในวันนี้ว่ามีผลการดำเนินการเป็นอย่างไรบ้าง มีสิ่งใดที่ทำถูกหรือผิดพลาดไปบ้าง มีอะไรที่ต้องพิจารณาและระวัง รวมถึงวางแผนว่าจะทำอะไรต่อไปในวันพรุ่งนี้
  1. หากเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ต้องสังกัดกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการการลงทุน (บลจ.) หรือ Asset Management Company และขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อได้รับการพิจารณาและอนุญาตให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะมาดูแลกองทุนการลงทุนให้ประชาชนทั่วไป 
  2. ต้องมีใบอนุญาตซึ่งนับเป็นใบประกอบวิชาชีพผู้จัดการกองทุน (Fund Manager Licence) ที่ต้องผ่านการสอบ และต้องต่ออายุทุก ๆ 2 ปี และผ่านการเข้ารับการอบรมตามที่ กลต. กำหนด
  3. ต้องสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับ 1 
  4. การสอบผ่าน CFA ทั้ง 3 ระดับ จะมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นด้านการเป็นผู้จัดการกองทุน และสิ่งที่ต้องเผชิญในวงการการเงิน การจัดการและวิเคราะห์พอร์ตการลงทุน สินทรัพย์ เครื่องมือบริหาร และจริยธรรมวิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นวุฒิจากสถาบันสากล ที่ใช้ได้ทั่วโลก
  5. ผู้จัดการกองทุนควรมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อาจคิดเป็นสัดส่วนทักษะ 70-80% ของทักษะทั้งหมด และความคิดสร้างสรรค์ หรือพรสวรรค์ในการนำมาปรับใช้ อีก 10-20% ซึ่งทุกทักษะเป็นสิ่งที่เรียนและฝึกฝนได้
  6. ทักษะภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ปัจจุบันสำคัญมาก การลงทุนมีผู้ลงทุน บริษัท และกองทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้นมากขึ้น
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการการลงทุน (บลจ.) ที่ผู้จัดการกองทุนสังกัดมีหลายขนาด ดูจาก Assets Under Management (AUM) หรือมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ หากเป็นบริษัทที่มี AUM มาก จะมีเงินในการไปใช้ลงทุนมาก มีเครื่องมือและคนที่จะอำนวยความสะดวกในการจัดการและช่วยวิเคราะห์มากกว่า มีความเป็นมืออาชีพและประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า ทำให้พัฒนาตนเองได้มากกว่าและเร็วกว่า
  • ในช่วงแรกของอาชีพอาจจะได้ได้ดูแลกองทุนขนาดเล็ก AUM ที่ไม่มาก และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น ก็จะได้รับมอบหมายให้ดูแล กองทุน ที่มีความสำคัญ หรือ AUM ที่มากขึ้น
  • เส้นทางการเติบโตของอาชีพนี้ คือ 
    • นักวิเคราะห์หรือผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน (Assistant Fund Manager)
    • ผู้จัดการกองทุน
    • ผู้บริหารฝ่ายลงทุน หรือ หัวหน้าทีมผู้จัดการกองทุน (Chief Investment Officer หรือ CIO) ซึ่งจะทำงานบริหารจัดการคนเพิ่มขึ้น ดูภาพรวมมากขึ้น ประสานงานกับ ผบห ระดับ สูงของ องค์กร และ ฝ่ายอื่นๆมากขึ้น
  • การทำงานกับบริษัทใหญ่หรือเล็ก จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น บริษัทขนาดเล็กไม่มีโครงสร้างภายในที่ซับซ้อนเท่าบริษัทขนาดใหญ่
  • ค่าตอบแทนเริ่มต้น เริ่มจากการเป็นผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน อาจได้เงินเดือนเริ่มต้นที่ 30,000 บาทต่อเดือน เมื่อทำงานมีผลการทำงานที่ดี อาจได้รับเงินเดือนในอัตรา 500,000 บาทได้ หากเป็นหัวหน้าทีมผู้จัดการกองทุน อาจได้รับเงินเดือนเป็นหลักล้านบาท
  • หากทำงานพลาด มีความเป็นไปได้ที่จะถูกให้ออกจากงาน เนื่องจากเป็นงานที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง และผลการทำงานเห็นเป็นตัวเลขชัดเจนทุก ๆ วัน
  • นอกจากเงินเดือนแล้ว อาจมีค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากผลตอบแทนกองทุน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะกองทุน
    • ได้รับเป็นโบนัสในกรณีเป็นผู้จัดการกองทุนรวม (Mutual Fund) โดยโบนัสขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของกองทุนที่ทำได้ รวมถึงขึ้นอยู่กับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ หรือ Assets Under Management (AUM) ด้วย ดังนั้นแม้ผู้จัดการกองทุนรวมจะสร้างผลตอบแทนกองทุนได้ดีมาก แต่ AUM ของบริษัทไม่ดี ก็จะทำให้ได้รับโบนัสน้อยกว่าที่ควรจะได้ตามผลงาน
    • ได้รับค่าตอบแทนเป็นไปตามสัญญาที่ได้ตกลงไว้หากเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เมื่อผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารกองทุนส่วนบุคคลให้ได้ผลตอบแทนเกินกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ ผลตอบแทนส่วนต่างจะเป็นของผู้จัดการกองทุน เช่น ผู้ลงทุนต้องการได้รับผลตอบแทนที่ 7% ต่อปี หากกองทุนสร้างผลตอบแทนได้ถึง 30% ผู้จัดการกองทุนจะได้รับค่าตอบแทนในส่วน 23% ที่ได้เกิน 7% ที่ได้ตกลงกันไว้กับผู้ลงทุน หรืออาจตกลงกันว่า ทุกๆ ผลตอบแทน 10% ผู้จัดการกองทุนจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มอีก 3% เป็นต้น ซึ่งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลค่อนข้างมีความเสี่ยง หากบริหารกองทุนได้ไม่เป็นไปตามที่วางแผน อาจทำให้สูญเสียเงินที่ควรเป็นเงินเดือนไปได้
  • สิ่งที่ต้องแลกมา
    • สุขภาพจิตใจ ความกดดัน ทั้งจากผู้ลงทุนและจากบริษัทที่ทำงาน เพราะผลตอบแทนของกองทุนแสดงเป็นตัวเลขให้เห็นแบบสาธารณะทุกวัน หากตัดสินใจพลาดจะมีความกดดันและความเครียดมาก
    • ด้านสุขภาพร่างกาย หากนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ อาจทำให้มีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง หรือกระดูกสันหลังคด
    • เวลาส่วนตัว หากใช้เวลาทำงาน หรือให้เวลากับงานมาก อาจมีผลกระทบกับเวลาส่วนตัว
    • ความเสี่ยงในการทำผิดข้อกำหนด ข้อบังคับจาก กลต. หรือผิดกฎหมาย พรบ. การลงทุน ซึ่งหากทำผิดอาจต้องได้รับโทษตามกฎหมาย (อาจถีงขั้นทำผิดทางอาญา ต้องโทษจำคุก) และถูกยึดใบอนุญาตการประกอบอาชีพผู้จัดการกองทุน ซึ่งจะมีกำหนดจำนวนปีหลังจากโดนยึดแล้วจึงจะสามารถสอบใหม่ได้ ทั้งนี้
  • เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง อาชีพนี้จึงต้องหมั่นพิจารณา ศึกษากฎเกณฑ์ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และปรึกษา กับแผนก ตรวจสอบ ของ บริษัท (Compliance Unit) หรือสอบถาม Regulators (กลต. และ ตลท.) ก่อนที่จะกระทำการใดๆ ที่อาจส่งผลเสียหายได้
  • การเพิ่มคุณค่าทางอาชีพให้กับตัวเอง เช่น การมีทักษะคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และติดตามผล ที่เร็วและดี มีความรู้ในหลากหลายกลุ่มหลักทรัพย์ มีความรู้ทางด้านกฎหมายเพิ่มเติม จะเป็นคุณค่าที่มีมูลค่าและความยั่งยืนมากกว่าตัวเลขผลตอบแทนเป็นเงินเดือน หรือจำนวนเงิน
  • ผู้จัดการกองทุนมีอายุเกษียณที่ 55, 60, หรือ 65 ปี แล้วแต่บุคคล โดยหลังเกษียณแล้วยังสามารถทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาได้ เพราะมีประสบการณ์ และในช่วงเวลาที่ทำงานเป็นผู้จัดการกองทุนมีโอกาสได้พบและรู้จักกับผู้บริหารหรือผู้ถือหลักทรัพย์คนสำคัญของบริษัทต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นคุณค่าที่ดีที่ติดตัวผู้จัดการกองทุนไป
  • แนวโน้มเทคโนโลยี AI สามารถเข้ามาทำงานส่วนที่ใช้ทักษะสำคัญ 3 ประการของผู้จัดการกองทุน (คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และติดตามผล) ได้ดี และอาจทำได้ดีกว่ามนุษย์ ทำให้อาชีพนี้อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้ ดังนั้นในระหว่างที่ AI กำลังถูกพัฒนา ผู้จัดการกองทุนควรต้องเพิ่มทักษะ คุณค่า และมูลค่าให้กับตนเองไปด้วย
  • บางทีหากมีกองทุนที่ต้องดูแลหลายกอง อาจทำให้ผู้จัดการกองทุนเลือกใช้การวิเคราะห์จากผู้อื่นแทนการวิเคราะห์เอง ซึ่งอาจทำให้ทักษะการวิเคราะห์ลดลง และหลายคนเป็นคนใจร้อนขึ้น รอได้น้อยลง
  • การเป็นผู้จัดการกองทุน ไม่ใช่แค่เรียนรู้ หรือทำงานเป็นอาชีพ แต่มันคือวิถีการดำเนินชีวิต (Lifestyle) เป็นลักษณะบุคลิก

Big Shot

ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมและการทำงานในวงการการลงทุน อาจมีศัพท์เฉพาะจำนวนมาก และดำเนินเรื่องค่อนข้างเร็ว

Billion

ซีรียส์ที่ตัวละครเป็นผู้จัดการกองทุน และอัยการรัฐ ที่พยายามพิสูจน์ข้อหาการทำผิดในการลงทุนเพื่อเอาเปรียบผู้อื่นด้วยการใช้ข้อมูลภายใน ได้เห็นการทำงานของแต่ละฝ่าย การจับคนทุจริต การหลบหลีกข้อหา 

 

หนังสือ Managing the Magellan Fund

โดย Peter Lynch

 

หนังสือ One Up on Wall Street

โดย John Rothchild และ Peter Lynch 

 

หนังสือ A Random Walk Down Wall Street

โดย Burton Gordon Malkiel

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาการเงิน
  • คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาสาขาวิชานวัตกรรมทางเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุกิจ วิชาเอกการเงิน
  • สำนักวิชาการการบัญชีและการเงิน สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล

 

ปริญญาโท เช่น

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการเงิน
  • คณะบริหารธุรกิจ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567