นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร

ผู้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอาหารเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของอาหาร เพื่อให้ปลอดภัย มีคุณภาพ คงมูลค่าทางโภชนาการ และมีรสชาติอร่อย

  • วิจัย คิดค้นวัตถุดิบหรือสูตรอาหารใหม่ๆ  วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อสัมผัส และรสชาติของสูตรอาหารใหม่ หรือ คิดค้นวิธีการถนอมอาหารแบบใหม่ เช่น การบรรจุกระป๋อง การเขย่า การอบแห้ง การพาสเจอร์ไรส์ หรือ คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตอาหาร
  • ปรับปรุงสูตรอาหารเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัย
  • ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของอาหารเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
  • ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการอาหาร เช่น บริษัทผู้ผลิตอาหาร ร้านอาหาร หรือองค์กรอื่นในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาจากโจทย์ของลูกค้า เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ที่มีรสชาติอร่อย คุณค่าทางโภชนาการสูง ราคาไม่แพง, แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น ปัญหาการปนเปื้อนอาหาร หรือปัญหาการเสื่อมสภาพของอาหาร 
  2. ตั้งสมมติฐาน ระบุส่วนประกอบที่ต้องใช้ในการทดลอง และเลือกรูปแบบการทดลองที่เหมาะสม
  3. ดำเนินการทดลองตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการทดลองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
  4. วิเคราะห์ผลการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารจะใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อวิเคราะห์ผลการทดลองและหาข้อสรุป 
  5. ทำการทำลองซ้ำ ๆ จนกว่าจะได้รับผลการทดลองตามที่ต้องการ
  6. นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
  1. เชฟ
  2. ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร
  3. นักโภชนาการ
  • ทำงานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  องค์กรวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร ธุรกิจอาหารเสริม ธุรกิจอาหารทดแทน เป็นต้น 
  • มักทำงานในห้องปฏิบัติการทดสอบ (Lab)
  • เวลาทำงานของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงานและประเภทของงาน โดยทั่วไปแล้วทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ 8 ชั่วโมงต่อวัน
  1. ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อาหาร เช่น  โภชนาการ เคมีอาหาร เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร และวิศวกรรมอาหาร
  2. ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  3. ทักษะการวิจัยค้นคว้า เช่น การรวบรวมข้อมูล การทำงานกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 
  4. ทักษะการปฏิบัติการห้องปฏิบัติการ เช่น วิธีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทดลอง, ขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยในการทดลอง
  5. ทักษะการใช้อุปกรณ์ทำครัว เช่น มีด เครื่องปั่น เตาอบ 
  6. ความคิดสร้างสรรค์
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 18,000 – 25,000 บาทต่อเดือน 
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร” มีโอกาสเติบโตในอาชีพได้หลากหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับความสนใจ ทักษะ และประสบการณ์ ตัวอย่างการเติบโต ไปสู่ระดับหัวหน้าทีม/ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร เช่น 
    • หัวหน้ากลุ่มวิจัยอาหารเพื่อโภชนาการ
    • ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
    • ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

หรือสามารถทำงานในตำแหน่งหรือสาขาอาชีพอื่นที่ใกล้เคียง เช่น

  • อาจารย์มหาวิทยาลัยในรายวิชาวิทยาศาสตร์อาหาร
  • ผู้ควบคุมคุณภาพอาหาร/ตรวจสอบคุณภาพอาหาร
  • ที่ปรึกษาประจำบริษัทผลิตอาหาร
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร” คือ 
    • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารจำเป็นต้องมีความรู้ในหลายสาขา ได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ โภชนาการ วิศวกรรมอาหาร และการวิเคราะห์ข้อมูล
    • อุตสาหกรรมอาหารมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารต้องติดตามความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ
    • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตออกมา ต้องทำงานอย่างรอบคอบ และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารไม่มีสารปนเปื้อนหรืออันตรายต่อผู้บริโภค 
    • ต้องรับมือกับความต้องการของลูกค้าในแง่การเติบโตของธุรกิจ
    • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารต้องมีความรับผิดชอบทางสังคม เช่น ไม่นำเนื้อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์มาพัฒนาอาหาร ผลิตอาหารที่รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้คือ 
  • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารอาจต้องสัมผัสกับสารเคมีในระหว่างการทดลองหรือวิเคราะห์อาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การระคายเคืองผิวหนัง โรคภูมิแพ้ 
  • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารอาจต้องทำงานกับเครื่องจักรซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง
  • นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตออกมา หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ใช้วัตถุดิบผิดกฎหมาย เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค อาจถูกดำเนินคดีหรือถูกเรียกร้องค่าเสียหาย
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร

ช่อง สจล. (2023, September 12). เรียนไปทําไร? EP.12 : Food Science [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=7A9rCNyPoco

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต *บางสถาบันรับสายนี้
  • สายศิลป์-คำนวณ *บางสถาบันรับสายนี้
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น 

  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
  • วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล (โครงการพิเศษ)

 

จบป.ตรี คณะวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือจบป.ตรี สาขาใดก็ได้แต่ต้องศึกษาเกี่ยวกับ ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์ ความรู้ในการจัดการข้อมูล ความรู้เฉพาะทางในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล การใช้เครื่องมือทางสถิติ เครื่องมือวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลทั่วไป เพิ่มเติม

*ข้อมูล ณ ปี 2567

  • สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) – https://fostat.org/ 
  • อาชีพ นักวิทยาศาสตร์การอาหาร จําเป็นต้องมีทักษะด้านใดบ้าง? (n.d.). https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/72964 
  • What Does a Food Scientist Do?: A Complete Career Guide

https://www.innopharmaeducation.com/our-blog/what-does-a-food-scientist-do-a-complete-career-guide#:~:text=A%20food%20scientist%20is%20often,products%20once%20they’re%20produced.

https://a-chieve.org/content/career-content/career-category-5/career-content-113