นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Scientist)

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Scientist)

ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษา วิเคราะห์ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อรักษาความสมดุลของธรรมชาติและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศโดยรวม

นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Scientist)
  • การวิจัยและสำรวจสิ่งแวดล้อม ศึกษาคุณภาพน้ำ อากาศ ดิน และความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประเมินสถานะสิ่งแวดล้อม
  • วิเคราะห์และประเมินผลกระทบ ดำเนินการประเมิน Environmental Impact Assessment (EIA) หรือ  การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการที่ใช้ศึกษาว่าโครงการหรือกิจกรรมหนึ่ง ๆ (เช่น การสร้างโรงงาน เขื่อน ถนน หรือสนามบิน) จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ทั้งในแง่ของผลกระทบทางกายภาพ ชีวภาพ สังคม และสุขภาพของคนในพื้นที่  
  • จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวบรวมผลการวิเคราะห์ภาคสนาม ห้องปฏิบัติการ และจัดทำรายงานเสนอแนะแนวทางแก้ไขหากพบค่าผิดปกติ
  • จัดการและฟื้นฟูทรัพยากร วางแผนฟื้นฟูแหล่งน้ำ ป่า หรือระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
  • ให้คำปรึกษา ช่วยภาครัฐหรือเอกชนในการออกแบบกิจกรรมและมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • สื่อสารและให้ความรู้ จัดอบรม พูดให้ความรู้ และผลิตสื่อเพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชน
  1. รับมอบหมายโปรเจ็กต์หรือ TOR (การจัดซื้อจัดจ้าง) จากหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ พร้อมวางแผนขอบเขตและวิธีดำเนินงาน
  2. เก็บข้อมูลเบื้องต้น ลงพื้นที่สำรวจหรือเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน อากาศเพื่อเตรียมวิเคราะห์
  3. วิเคราะห์ข้อมูลในห้องปฏิบัติการ ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเทียบมาตรฐาน
  4. สรุปผลและเขียนรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน EIA หรือแผนฟื้นฟูเสนอแนะแนวทาง
  5. นำเสนอและให้คำแนะนำ เสนอมาตรการแก้ไขต่อหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือองค์กรที่ว่าจ้าง
  6. ติดตามและประเมินผล ตรวจสอบความคืบหน้าและประเมินผลลัพธ์จากมาตรการสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการ
  7. ตอบสนองกรณีลูกค้าขอรีเช็ก เก็บข้อมูลซ้ำหากมีข้อสงสัย พร้อมให้คำแนะนำเบื้องต้นตามปัจจัยแวดล้อม
  8. ประสานผู้เชี่ยวชาญในกรณีเฉพาะทาง หากประเด็นซับซ้อน เช่น น้ำ เสียง อากาศ แสง หรือความร้อน อาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านร่วมวิเคราะห์
  1. วิศวกรสิ่งแวดล้อม
  2. นักนิเวศวิทยา
  3. เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ
  4. เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  5. เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
  6. นักสังคมวิทยา
  7. เจ้าหน้าที่ฝ่าย CSR
  8. นักวิจัย / นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ
  • อาชีพนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสามารถพบได้ในหลากหลายประเภทขององค์กร ตั้งแต่หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย ไปจนถึงบริษัทเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการวางแผนและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมยังสามารถทำงานเป็นนักวิจัยอิสระหรือที่ปรึกษาในโครงการต่าง ๆ ได้ด้วย
  • สถานที่ทำงานมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับบทบาทและประเภทองค์กร บางคนทำงานประจำในสำนักงาน เช่น หน่วยงานรัฐ หรือบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่บางส่วนต้องลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่ทำงานกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยส่วนใหญ่จะมีทั้งงานในห้องปฏิบัติการและการทำวิจัยภาคสนาม
  • เวลาทำงาน โดยทั่วไปมักเป็นช่วงเวลา 8.00 – 17.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์ อย่างไรก็ตาม งานภาคสนามอาจต้องทำงานนอกเวลาปกติหรือในช่วงวันหยุดเพื่อเก็บข้อมูลตามความเหมาะสมของโครงการ และนักวิจัยอิสระบางคนอาจมีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้นตามแต่ข้อตกลงกับผู้ว่าจ้าง
  1. มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เข้าใจหลักการพื้นฐานทั้งด้านน้ำ ดิน อากาศ และระบบนิเวศ
  2. มีทักษะการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องแล็บ
  3. สามารถการใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์วิเคราะห์ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล ค่ามาตรฐาน คาร์บอนฟุตพริ้นท์  และระบบเฉพาะตามบริษัท
  4. มีความรู้ด้านกฎหมายและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม รู้ข้อบังคับเกี่ยวกับมลพิษและเอกสารอ้างอิง เช่น COC
  5. มีทักษะการสื่อสารทางวิชาการ สามารถอธิบายผลวิเคราะห์ให้ผู้ว่าจ้างหรือชุมชนเข้าใจได้ง่าย
  6. มีความเข้าใจด้านการวางแผนโครงการ (Project Management) วางแผนเวลา งบประมาณ และลำดับงานวิจัยให้สอดคล้องกับ TOR
  7. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อสรุปผลสิ่งแวดล้อมจากข้อมูลจำนวนมาก
  • ผลตอบแทน 
    • ระดับเริ่มต้นในภาครัฐหรือบริษัท consult อยู่ที่ประมาณ 15,000 – 22,000 บาท/เดือน
    • มีโอกาสเพิ่มเป็น 25,000 – 40,000 บาท/เดือน หากมีประสบการณ์หรือจบปริญญาโท
    • หากเป็นที่ปรึกษาอิสระ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาจได้รับค่าจ้าง 40,000 – 80,000 บาท/เดือน หรือสูงกว่านั้น
    • ระดับหัวหน้าฝ่ายหรือผู้บริหาร ในบริษัทเอกชนรายใหญ่หรือองค์กรระหว่างประเทศ รายได้อาจสูงถึง 70,000 – 100,000 บาท/เดือน
    • อาจได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากการมีใบอนุญาตวิชาชีพเฉพาะ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ด้านเสียง หรืออากาศ
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 
    • การเติบโตในสายงาน นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมมักเริ่มต้นจากการทำงานในระดับภาคสนาม เช่น การเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน อากาศ หรือศึกษาระบบนิเวศ เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะก้าวสู่ตำแหน่งนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ในขั้นสูงขึ้นไป นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้จัดการฝ่ายนโยบายสิ่งแวดล้อมในองค์กรขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีบทบาทในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร 
    • เติบโตในเส้นทางวิจัย เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยอาวุโส หรือนักวิชาการที่ทำงานเชิงลึกในด้านสิ่งแวดล้อม
    • ร่วมงานกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNEP, WWF หรือ UNDP เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและโครงการระดับโลก รวมถึงทำงานด้านการรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 
    • ประกอบธุรกิจส่วนตัว ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรหรือธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมสีเขียวหรือคาร์บอนเครดิต เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในวงกว้าง
    • โลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน มลพิษ การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง หรือการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรมอย่างเร่งรีบ ทำให้องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • ความท้าทายของอาชีพนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • ต้องตามให้ทันกฎหมายและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนตลอด เช่น คาร์บอนเครดิต หรือ ESG
    • การลงพื้นที่เก็บข้อมูลอาจมีความเสี่ยง เช่น โรงงาน บ่อขยะ หรือพื้นที่ห่างไกล ต้องวางแผนเรื่องความปลอดภัย
    • ต้องประสานงานกับหลายภาคส่วน เช่น ภาครัฐ เอกชน ชุมชน และนักวิชาการ ซึ่งอาจมีความขัดแย้งหรือเป้าหมายที่ต่างกัน
    • ต้องจัดการกับความคาดหวังของลูกค้าในบางโครงการ เช่น ต้องการให้ผลวิเคราะห์ออกมาตรงตามความต้องการ หรือร้องขอให้ตรวจสอบซ้ำ
    • ต้องมีทักษะการสื่อสารให้เข้าใจง่าย แม้เรื่องจะมีความซับซ้อนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกับทุกฝ่าย
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • เปิดโลก สัมมาชีพ. (2016, Jul 23). 24 นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (คุณกฤติกา ปัจฉิม) Official [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=BFPt7wWUCFA 
  • พี่ต้นแบบอาชีพนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2568]