นักเขียนบทวีดีโอ/รายการสารคดี

BRAND'S BRAIN CAMP

นักเขียนบทวีดีโอ/รายการสารคดี

ผู้สร้างสรรค์เรื่องราวและโครงเรื่องของวิดีโอหรือรายการสารคดี กำหนดทิศทางและมุมมองในการนำเสนอสารคดีให้ผู้ชมได้เข้าใจ

Left_hander_pana_2c75cbf920
  • ค้นคว้า วิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสารคดีที่ต้องการนำเสนอ เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและมีความ   น่าเชื่อถือด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลงพื้นที่  นัดหมายสัมภาษณ์ หรือประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพ และเนื้อหาตามที่ต้องการ
  • เขียนบทสารคดีให้เป็นฉบับสมบูรณ์ โดยกำหนดโครงเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
  • ทำงานร่วมกับทีมงานผลิต เช่น ผู้กำกับ, ช่างภาพ, นักตัดต่อ เพื่อให้แน่ใจว่าสารคดีออกมาตรงตามแนวคิดที่วางไว้ 
  • ปรับปรุงแก้ไขบทตามความเห็นของผู้กำกับและทีมงานผลิต
  1. กำหนดเรื่องที่จะเล่า ทำงานร่วมกับผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ หรือลูกค้า เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดของสารคดีและวัตถุประสงค์ เช่น การสร้างความตระหนักรู้ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ หรือการประชาสัมพันธ์
  2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย  กำหนดกลุ่มผู้ชมของวิดีโอ เช่น อายุ ความสนใจ ภูมิหลัง เพื่อปรับการเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชม
  3. เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ เช่น การศึกษาประวัติศาสตร์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ หรือแนวโน้มในอุตสาหกรรมต่างๆ หากเรื่องราวมีความซับซ้อนหรือเกี่ยวกับประสบการณ์ของบุคคล นักเขียนบทจะสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
  4. เขียนโครงเรื่องหรือ “Outline”  เป็นการวางแผนลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ  ทำให้การผลิตสารคดีเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ 
  5. เขียนโครงเรื่องอย่างละเอียด หรือ “Treatment”  เป็นการขยายความจากโครงเรื่องทั่วไป (Outline) ให้มีความละเอียด เห็นภาพ ประกอบไปด้วยเรื่องย่อ ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ เหตุการณ์สำคัญของเรื่อง การอธิบายรายละเอียดของบทนำ ส่วนดำเนินเรื่องและบทสรุป ตลอดจนการกำหนดโทนของเรื่อง กลวิธีการเล่าเรื่อง เป็นต้น 
  6. เขียนสคริปต์และคำอธิบายฉาก  เขียนบทสนทนา ท่าทาง สีหน้า อารมณ์ของตัวละครโดยละเอียด พร้อมลำดับฉาก และเขียนบรรยายสถานที่เกิดเหตุ เวลาของเหตุการณ์ที่ชัดเจนเพื่อให้ทีมผลิตเข้าใจว่าแต่ละฉากควรเป็นอย่างไร
  7. แก้ไขและปรับปรุง นักเขียนจะต้องส่งบทที่เขียนให้ผู้กำกับ ทีมงาน หรือลูกค้าเพื่อขอคำแนะนำ และดำเนินการแก้ไข 
  8. ประชุมกับทีมงานผลิต เพื่อเตรียมการถ่ายทำ ทำงานร่วมกับทีมงานผลิต เช่น ผู้กำกับการแสดง ทีมตัดต่อ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าบทที่เขียนสามารถนำไปถ่ายทำได้ตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้ผู้เขียนบทบางคนสามารถลงพื้นที่ไปร่วมถ่ายทำสารคดีกับทีมงานได้ แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้กำกับด้วย 
  9. ตรวจสอบความสอดคล้องของเรื่องราว  นักเขียนบทอาจต้องทำงานร่วมกับทีมตัดต่อเพื่อลำดับการเล่าเรื่อง หรือเพิ่มเติมการเล่าเรื่อง เช่น การเพิ่มเสียงพากย์ (Voiceover) หรือการใส่คำบรรยายเพื่อให้วิดีโอสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องราวที่สื่อสารนั้นชัดเจนและสอดคล้องกับแนวคิดที่วางไว้
  10. เผยแพร่งานและรับฟีดแบ็ก หลังจากวิดีโอเผยแพร่แล้ว นักเขียนบทจะได้รับคำติชมจากทีมงานหรือผู้ชม ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงการทำงานในโครงการต่อไปได้
  1. ผู้กำกับ
  2. ช่างภาพ 
  3. นักตัดต่อ 
  4. นักออกแบบกราฟิก
  • สถานที่ทำงาน  สามารถทำงานประจำบริษัทที่ผลิตสารคดีโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์สารคดี  หรือสื่อออนไลน์ที่ผลิตผลงานสารคดี 
  • นักเขียนสารคดีจำนวนมากเลือกที่จะทำงานอิสระ โดยรับงานเขียนจากหลายแหล่ง หรือสร้างสรรค์ผลงานของตนเองเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ส่วนตัว บล็อก และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย 
  • เวลาทำงาน ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรที่สังกัด โดยส่วนใหญ่หากเป็นพนักงานประจำ จะต้องเริ่มงานตั้งแต่ 9.00 – 18.00 น. ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องมีการทำงานล่วงเวลาบ้าง (Over-Time) และหากเป็นนักเขียนบทอิสระ สามารถออกแบบเวลาการทำงานของตัวเองได้ 
  1. ความรู้ในการใช้ภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อความหมายที่ชัดเจนและถูกต้อง ทั้งในเรื่องของไวยากรณ์และโครงสร้างประโยค
  2. ทักษะการเขียน มีกลวิธีการเขียนที่ดี ใช้ภาษาดึงดูดผู้ชมได้
  3. ทักษะในการค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  4. ทักษะการเล่าเรื่องที่ชัดเจนและเป็นระบบ เล่าเรื่องราวได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ชมติดตามได้ง่ายและเข้าใจถึงเนื้อหาหลักของสารคดี
  5. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ 
  6. มีความรู้เบื้องต้นในสารคดีที่นำเสนอ เช่น องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ 
  7. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เช่น ขั้นตอนการถ่ายทำ การตัดต่อ เป็นต้น
  • ผลตอบแทน : อาชีพนักเขียนบทวิดีโอ/รายการสารคดี สามารถได้รับค่าตอบแทน 2 แบบ
    • รายได้ประจำ  เริ่มต้นอยู่ที่ 20,000-40,000 บาท (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์)
    • รายได้ตามโปรเจกต์  วิดีสั้น หรือ โปรเจกต์เล็กๆ เริ่มต้นที่ 5,000-20,000 บาท/ ตอน  วิดีโอขนาดกลาง เริ่มต้นที่ 20,000-100,000 บาท/ ตอน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของงานและระยะเวลาในการทำงาน และโปรเจกต์ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นชุดวิดีโอ หรือภาพยนตร์ขนาดยาว เริ่มต้นที่ 200,000 ขึ้นไป / โปรเจกต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการถ่ายทำและการออกอากาศ
  • โอกาสในการเติบโตของอาชีพ นักเขียนบทวิดีโอ/รายการสารคดี 
    • นักเขียนบทสารคดี ตำแหน่งอาวุโส
    • นักเขียนบทสารคดีที่รับโปรเจกต์ใหญ่มากขึ้น หรือขยายงานออกไปในรูปแบบที่กว้างขึ้น เช่น เขียนบทภาพยนต์ บทซีรีส์ต่างๆ
    • ผู้กำกับสารคดี
    • โปรดิวเซอร์คุมการผลิตสารคดีทั้งหมด
  • ความท้าทายของอาชีพ นักเขียนบทวิดีโอ/รายการสารคดี คือ
    • ความแม่นยำในการนำเสนอข้อมูล  นักเขียนบทวิดีโอหรือรายการสารคดี ต้องมีการค้นคว้าและตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนจะนำมาเล่าเป็นเรื่องราว ต้องระวังไม่ให้เกิดการบิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อองค์กร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิดีโอได้ ดังนั้น นักเขียนบทจำเป็นต้องใช้เวลาและใส่ใจในขั้นตอนของการหาข้อมูลให้แม่นยำถูกต้องมากที่สุด
    • การเล่าเรื่องให้น่าสนใจ  นักเขียนบทสารคดีต้องรักษาความสมดุลระหว่างการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและความสนุก เพื่อไม่ให้ผู้ชมรู้สึกเบื่อหรือได้รับข้อมูลเกินความจำเป็น
    • การจัดการกับความคาดหวังของผู้ชม สารคดีมักเกี่ยวข้องกับประเด็นที่สำคัญและมีผลต่อสังคม นักเขียนบทต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เนื้อหาของตนอาจมีต่อสังคม และต้องระวังไม่ให้เรื่องราวสร้างความเข้าใจผิดหรือความขัดแย้ง
    • การจัดการกับความคาดหวังของลูกค้า บางครั้งลูกค้าอาจมีความต้องการให้นักเขียนบทสื่อสารบางเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนต่อสังคม ดังนั้น นักเขียนบทต้องพยายามหาข้อมูลเพื่อมาอธิบายเหตุผลให้ลูกค้าเข้าใจถึงข้อดี-ข้อเสียให้ถ่องแท้ก่อนที่จะสื่อสารออกไป
    • เข้าใจความแตกต่างหลากหลายของผู้คนและเนื้อหา นักเขียนบทต้องเป็นผู้ไม่หยุดเรียนรู้ และเป็นผู้เปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ ซึ่งหลายครั้งนักเขียนบทสารคดีอาจพบข้อมูลที่ไม่คุ้นชิน หรือไม่ตรงกับประสบการณ์เดิม จนนำไปสู่อคติในการสื่อสารได้ ดังนั้นอาชีพนี้จึงจำเป็นต้องเข้าใจมุมมองในการสื่อสาร และไม่ปล่อยให้อคติมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน
  • ช่อง Youtube ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนักเขียนบทวิดีโอ/รายการสารคดี 
  • บทความที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนักเขียนบทวิดีโอ/รายการสารคดี