นักการทูต

BRAND'S BRAIN CAMP

นักการทูต

เป็นผู้แทนประเทศที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐ ประจำอยู่ทั้งในประเทศของตัวเองและต่างประเทศเพื่อปกป้อง ดูแลผลประโยชน์ เจรจาสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือประชาชนของชาติตัวเองที่อยู่ในประเทศนั้นๆ

Political_debate_bro_3622ee7147
  • ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศ 

        -แบบทวิภาคี ดูเรื่องความสัมพันธ์ของประเทศแบบเป็นคู่ เช่น ไทยกับกัมพูชา ไทยกับจีน ไทยกับแมกซิโก

       -แบบพหุภาคี การเจริญสัมพันธ์กับประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป ผ่านกรอบความร่วมมือ เช่น ไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ไทยกับสหภาพยุโรป (UN) เป็นต้น

  • ดูแลความเป็นอยู่ ให้ความช่วยเหลือประชาชนของชาติตัวเองในต่างประเทศ เช่น แจ้งเกิด ทำพาสปอร์ต  
  • เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ตัวตนของประเทศ
  • แสวงหาองค์ความรู้เพื่อนำกลับไปพัฒนาประเทศ
  • รับคำสั่งและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ จากรัฐบาลเพื่อมาทำงานต่อ 
  • ประชุม วางแผน ออกแบบการทำงานในกระทรวง เพื่อขับเคลื่อนให้นโยบายเกิดขึ้นจริง
  • มีลำดับขั้นในการทำงานตามตำแหน่งทางการทูต โดยเรียงลำดับจากระดับล่างสุดคือเลขานุการ ที่ปรึกษา อัครราชฑูตและเอกอัครราชทูต โดยจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ส่วนใหญ่จะเป็นการรับคำสั่งการจากตำแหน่งงานระดับบนลงมาแจกจ่ายตามแต่ละแผนกงาน ทั้งนี้ ผู้ที่ประจำการในงานระดับล่างก็สามารถเสนอไอเดียหรือนำเสนอแผนขึ้นไปได้ด้วยเช่นกัน

ขึ้นอยู่กับนโยบายที่จะทำ ซึ่งต้องพบปะกับผู้คนจากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น 

  • สื่อมวลชน เพื่อสื่อสารนโยบายที่กำลังทำให้คนในประเทศรับรู้ว่า ประเทศไทยกำลังจะทำอะไร เกิดขึ้นเมื่อไร ผลกระทบเป็นอย่างไร เช่น การจัดเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะมีผลกระทบอะไรบ้างด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มตลาด เป็นต้น
  • ข้าราชการในกระทรวงอื่นๆ ที่มีนโยบายเกี่ยวข้องกัน เช่น การส่งออกพืชผลไปต่างประเทศ จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่าง ข้าราชการกระทรวงเกษตรและกระทรวงพานิชย์ เป็นต้น
  • ทำงาน 8 – 10 ชั่วโมง (ทั้งทูตที่ประจำอยู่เมืองไทยและต่างประเทศ) หากมีการประชุมออนไลน์จะต้องนัดแนะกันเรื่องวันเวลาระหว่างประเทศ หรือไทม์โซน (Timezone) ให้ดี เพราะช่วงกลางวันและกลางคืนอาจไม่ตรงกัน 
  • แรกเริ่มจะทำงานในกระทรวงการต่างประเทศในประเทศนั้นๆ และขยับไปประจำตามสถานทูตและกงสุล
  1. มีทักษะด้านการสื่อสาร การพูด การเขียนรายงานทั้งแบบอธิบายและสรุปความ 
  2. มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ
  3. จำเป็นต้องมีทักษะภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ 3 เพราะเป็นภาษาหลักในการทำงาน
  4. มีวาทศิลป์ในการพูด การเจรจาโน้มน้าว การประนีประนอมเมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างประเทศ
  5. ต้องพัฒนาความรู้ตัวเองตลอดเวลา เท่าทันโลก เพราะบริบทของโลกนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด 
  6. ปรับตัวเก่ง เพราะต้องย้ายประเทศในการทำงานทุก 4 ปี 
  7. มีความรู้รอบตัว ทั้งประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 
  8. มีทักษะการประสานงาน เพราะต้องติดต่อประสานงานข้ามกระทรวง ข้ามประเทศอยู่บ่อยครั้ง
  9. หากสนใจสมัครสอบแข่งขันมาเป็นนักการทูต สามารถจบวุฒิปริญญาตรีหรือปริญญาโทก็ได้ ไม่จำกัดคณะ แต่คณะที่จะมีความคุ้นเคย ใกล้ชิดกับการทำงานของนักการทูตมากที่สุด คือ คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • ทูตเป็นอาชีพที่มีการแข่งขันสูง ต้องสอบเข้าข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศก่อน 
  • ในประเทศไทยมีการมอบทุนให้กับนักเรียนทุนรัฐบาลเพื่อไปเรียนต่างประเทศและกลับเข้ามาทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ
  • ต้องทำงานอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศเป็นเวลา 3 – 4 ปีเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการต่างประเทศ จากนั้นจึงจะถูกส่งให้ไปประจำสถานทูตหรือกงสุลที่ต่างประเทศ ด้วยการพิจารณาตามความเหมาะสม ทำให้อาจอยู่ในประเทศที่ตัวเองไม่คุ้นชินทั้งวัฒนธรรม ภาษา การใช้ชีวิต 
  • นักการทูตจะถูกส่งตัวไปประจำอยู่แต่ละประเทศ ประเทศละ 4 ปี อาจเป็นความท้าทายเรื่องการรับตัว แต่ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเองเช่นกัน
  • เป็นอาชีพที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์ ได้พันธมิตร ซึ่งอาจนำมาสู่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การศึกษา การช่วยเหลือกัน การแบ่งปันทรัพยากร หากการทูตไม่ดีก็ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ดีไปด้วย 
  • มีการทำงานเป็นลำดับขั้น โดยจะเริ่มจากการเป็นเลขานุการตรี ก่อน แล้วจะขยับไปเป็น โท และเอก และตำแหน่งอื่นๆ โดยแต่ละขั้นจะต้องสอบเลื่อนระดับขึ้นไป
  • เงินเดือนตามลำดับขึ้น เริ่มตั้งแต่ 15,000 – 17,000 บาท และค่อยๆ ไต่ขึ้นไป

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
  • คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการระหว่างประเทศ 
  • สํานักวิชานวัตกรรมสังคม สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
  • คณะสังคมศาสตร์ วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • วิทยาลัยการเมืองการปกครอง วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สํานักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

*ข้อมูล ณ ปี 2567