นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)

BRAND'S BRAIN CAMP

นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)

ผู้รับผิดชอบในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมทางการตลาดบนโลกดิจิตอลเพื่อสร้างความต้องการและความสนใจในสินค้าหรือบริการขององค์กร ซึ่งรวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้สึกและความประทับใจให้กับลูกค้า

 

นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)
  • วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดสินค้าหรือบริการขององค์กร ศึกษาคู่แข่ง และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์
  • ควบคุม ออกแบบ และสร้างคอนเทนต์ เพื่อสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ทุกช่องทางขององค์กร
  • พัฒนาช่องทางสื่อสารออนไลน์ขององค์กร
  • วางแผนการตลาดออนไลน์ พัฒนาการดำเนินงานทางการตลาดออนไลน์ ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
  1. ตั้งเป้าหมายการตลาด โดยอาจเริ่มจากการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข การตั้งโจทย์ความต้องการ หรือทำตามแผนกลยุทธ์ เพื่อตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน 
  2. สร้างกลยุทธ์การตลาด จากการรีเสิร์ชตลาด ศึกษาคู่แข่ง พฤติกรรมผู้บริโภค มาสรุปรวบรวมและประกอบสร้างเป็นกลยุทธ์ โดยอาจเป็นการวางแผนงานในระยะรูปแบบต่าง ๆ เช่น ระบบแคมเปญ รายเดือน รายไตรมาศ ไปจนถึงรายปี
  3. ทำตามแผนการตลาด โดยอาจรวมไปถึงการออกแบบครีเอทีฟโฆษณา สร้างบทความหรือสื่อในโลกออนไลน์ ทั้งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและช่องทางดิจิตัลอื่น ๆ เช่น จัดทำบทความ SEO สำหรับระบบ Search Engine หรือการทำ CRM (การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า) ผ่านอีเมล ฯลฯ
  4. ติดตามและวิเคราะห์ผล ติดตามผลในการทำการตลาดเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนงานในขั้นต่อไป รวมไปถึงการปรับปรุงหรือควบคุมประสิทธิภาพในการทำการตลาดในระหว่างทางเพื่อความคุ้มค่าสูงสุด
  5. รวบรวมข้อมูลจัดทำบันทึกรายงาน นำผลลัพท์มาสรุปรวบรวมเป็นบันทึกเพื่อนำเสนอกับทีม ผู้บริหารในองค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ในลำดับต่อ ๆ ไป  
  1. พนักงานขาย
  2. นักตัดต่อ
  3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
  4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์
  5. ดารานักแสดง
  • สถานที่ทำงาน นักการตลาดดิจิทัลทำงานในทุกอุตสาหกรรมตามแต่ประเภทธุรกิจ และสามารถทำได้ทั้งกับทางภาครัฐหรือเอกชน มักมีการทำงานในออฟฟิศหรือสำนักงานของบริษัท 
  • ในปัจจุบันสายการตลาดดิจิทัลของบางองค์กร มีระบบ Hybrid หรือสามารถทำงานนอกสถานที่ได้ โดยอาจมีสัดส่วนการเข้าทำงานในออฟฟิศตามสัดส่วนที่กำหนดโดยบริษัท
  • เวลาทำงาน โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 9.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์​  
  • อาจต้องมีไปทำงานนอกสถานที่บ่อยครั้ง เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ การติดต่อลูกค้าที่ต่างจังหวัด หรือการดูแลลูกค้าต่างประเทศ
  • อาชีพนี้สามารถทำงานรูปแบบรับจ้างอิสระ (Freelance) ได้
  1. ความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
  2. ความสามารถในการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลทางการตลาด
  3. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด
  4. ความสามารถในการใช้เครื่องมือทางการตลาดออนไลน์
  5. มีทักษะการประสานงานและจัดการเพื่อให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ตั้งไว้
  6. มีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
  7. ติดตามอัพเดทข่าวสารและเครื่องมือทางการตลาดเป็นประจำ
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบ 
    • เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 18,000 – 25,000 บาท/เดือน 
    • สำหรับผู้มีประสบการณ์มากกว่า 3-5 ปี หรือทำงานในบริษัทใหญ่ อาจมีรายได้ 30,000 – 35,000 บาท/เดือน
    • เงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับหัวหน้า อาจมีรายได้ 35,000 – 40,000 บาท/เดือน
    • เงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับผู้จัดการ อาจมีรายได้ 40,000 – 55,000 บาท/เดือน
    • โดยทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมหรือประเภทธุรกิจด้วย เช่นในสายงานที่เฉพาะทางมากหรือในบริษัทข้ามชาติ ก็อาจมีผลตอบแทนที่มากยิ่งขึ้น
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักการตลาดดิจิทัล
    • เติบโตในสายงานนักการตลาดดิจิตัล เติบโตตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ  และเลื่อนตำแหน่งในขั้นที่สูงขึ้น
    • เติบโตในสายงานนักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) หากทำงานกับข้อมูลจำนวนมากและสามารถวิเคราะห์ทางธุรกิจได้ดีอาจย้ายสายงานไปเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจได้
    • เติบโตในสายงานวิทยาการข้อมูล (Data Science) สามารถย้ายสายงานไปเป็นนักวิเคหราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ได้เช่นกัน
  • ความท้าทายของอาชีพนักการตลาดดิจิทัล
    • การแข่งขันที่สูง ทักษะความรู้ด้านการตลาดเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น คนโดยทั่วไปสามารถหาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ต้องมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเพื่อที่จะโดดเด่นและเติบโตในสายงานได้ง่าย
    • ความท้าทายจากประเภทธุรกิจ การเป็นนักการตลาดดิจิทัลในแต่ละธุรกิจก็จะเจอกับความท้าทายไม่เหมือนกัน เช่น ในสายการเงินอาจต้องทำงานกับภาครัฐ หรืออาจมีขอบเขตในการทำการตลาดที่จำกัดมากกว่าสายธุรกิจบันเทิง หรือบางสายงานอาจมีความอ่อนไหวต่อข้อมูลมากกว่า
    • การปรับตัวเข้ากับเทรนด์และเทคโนโลยี นักการตลาดดิจิทัลต้องอัปเดตความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่หรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ ให้ทันเสมอ นอกจากจะเป็นเรื่องของโอกาสทางการตลาดแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานด้วยหากไม่สามารถปรับตัวหรือใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
  • พี่ต้นแบบอาชีพนักการตลาดดิจิทัล [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2568]