ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Specialist)

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Specialist)

ผู้ที่มีหน้าที่ป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องข้อมูล ระบบเครือข่ายะ แลทรัพย์สินดิจิทัลขององค์กรให้ปลอดภัยจากการโจมตีหรือเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Specialist)
  • วางระบบความปลอดภัยไอที โดยการออกแบบและติดตั้งระบบป้องกัน เช่น ไฟร์วอลล์ ระบบเข้ารหัส และซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
  • ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง ผ่านการวิเคราะห์ช่องโหว่และประเมินความเสี่ยงในระบบเครือข่ายและข้อมูล
  • ตรวจจับและรับมือภัยคุกคาม ติดตามเหตุการณ์ผิดปกติ วิเคราะห์การโจมตี และตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย
  • ทดสอบเจาะระบบ (Penetration Testing) โดยการจำลองการโจมตีเพื่อหาจุดอ่อนของระบบ
  • จัดทำรายงานและแผนนโยบายความปลอดภัย ผ่านการเขียนรายงาน วิเคราะห์ผล และจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กร
  • ทำงานสนับสนุนระบบเครือข่ายในองค์กร (Network)
  1. การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง  ทำความเข้าใจว่าองค์กรมีสินทรัพย์ดิจิทัลอะไรบ้างที่ต้องปกป้อง  เช่น ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลทางการเงิน, Source Code, ระบบ Server, เครือข่าย วิเคราะห์และระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น   
  2. รับฟังและรวบรวมความต้องการจากลูกค้า รวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการด้านความปลอดภัยขององค์กร/หน่วยงานธุรกิจ หรือจากลูกค้า (ในกรณีที่เป็นที่ปรึกษา) เพื่อให้เข้าใจว่าต้องการปกป้องอะไรและระดับใด 
  3. ออกแบบและเสนอแนวทางแก้ปัญหา พิจารณาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับงบประมาณและโครงสร้างระบบของลูกค้า และจัดทำเอกสารข้อเสนอเบื้องต้น (Proposal)
  4. ลงมือดำเนินงานตามความต้องการลูกค้า ติดตั้งหรือกำหนดค่าระบบความปลอดภัยตามแผนที่ตกลง ตรวจสอบว่าเป็นไปตาม Requirement ที่ได้รับมา
  5. ตรวจสอบระบบความปลอดภัย  ตรวจสอบสถานะการทำงานของระบบและเครื่องมือความปลอดภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
  6. การจัดการเหตุการณ์ เมื่อตรวจพบเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย (Incident) ต้องดำเนินการตามแผนตอบสนองเพื่อควบคุมสถานการณ์, วิเคราะห์สาเหตุ, กำจัดภัยคุกคาม, และกู้คืนระบบให้กลับสู่สภาพปกติ
  7. จัดทำเอกสาร สื่อสารผล และสรุปงานกับลูกค้า รับ Feedback จากลูกค้าเพื่อปรับปรุงหรือวางแผนระยะต่อไป
  8. งานสนับสนุนผู้ใช้งานและพัฒนาองค์กร วางแผนพัฒนาระบบความปลอดภัยใหม่ ๆ หรือติดตามข่าวสารภัยคุกคามล่าสุด
  1. นักวิเคราะห์ความปลอดภัยไซเบอร์ 
  2. นักทดสอบเจาะระบบ  
  3. ผู้ดูแลระบบ
  4. วิศวกรเครือข่าย
  5. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  • สถานที่ทำงาน ทำงานได้ในทุกองค์กรที่พึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูล เช่น บริษัทซอฟต์แวร์ ธนาคาร ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ เป็นต้น  ส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงาน, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ซึ่งมักมีอุปกรณ์และทรัพยากรเฉพาะทางที่จำเป็น, หรือแบบไฮบริด (ทำงานที่บ้านสลับออฟฟิศ) หากเป็นที่ปรึกษาอาจต้องเดินทางไปหาลูกค้า 
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 9.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์​  หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ 
  • อาจต้องทำงานล่วงเวลา หรือแม้กระทั่งถูกเรียกตัวเข้ามาทำงานนอกเวลาราชการ (on-call) ในช่วงสุดสัปดาห์หรือวันหยุด หากเกิดเหตุการณ์ความปลอดภัยร้ายแรง เช่น การถูกโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ (Cyberattack) หรือการละเมิดข้อมูล (Data Breach) 
  • การทำงานเป็นกะ (Shift Work)  ในองค์กรที่มีศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ที่ต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ (24/7 Monitoring) ผู้เชี่ยวชาญบางตำแหน่ง (เช่น SOC Analyst, Incident Responder) อาจต้องทำงานเป็นกะ รวมถึงกะกลางคืนและสุดสัปดาห์
  1. ความรู้ด้านระบบเครือข่ายและระบบปฏิบัติการ (Windows, Linux, etc.)
  2. เข้าใจหลักการของความปลอดภัยสารสนเทศ
  3. ความสามารถในการใช้เครื่องมือตรวจสอบและป้องกัน
  4. ทักษะด้านการเขียนโปรแกรม (เช่น Python, Bash, PowerShell) จะถือว่าเป็นประโยชน์
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบ 
    • เงินเดือนระดับเริ่มต้น (Junior/Officer) สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ หรือประสบการณ์น้อย อาจเริ่มต้นที่ 20,000 – 35,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะพื้นฐาน หากมีประสบการณ์ประมาณ 30,000 – 70,000 บาทต่อเดือน
    • เงินเดือนระดับกลาง (Specialist/Analyst/Engineer) ประมาณ 60,000 – 120,000 บาทต่อเดือน
    • เงินเดือนระดับอาวุโส (Senior/Manager/Architect) ประมาณ 80,000 – 150,000  บาทต่อเดือน 
    • ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงอย่าง CISO (Chief Information Security Officer) อาจมีรายได้สูงถึง 150,000 – 300,000 บาทต่อเดือน หรือมากกว่านั้นในองค์กรขนาดใหญ่และข้ามชาติ
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 
    • เติบโตตามสายงานอาชีพ มีตำแหน่งงานที่หลากหลายและสามารถเติบโตไปได้สูง เช่น
      • ระดับเริ่มต้น: Cybersecurity Analyst, IT Security Officer, Security Engineer (Junior)
      • ระดับกลาง: Cybersecurity Specialist, Penetration Tester, Incident Responder, Cloud Security Specialist
      • ระดับสูง: Cybersecurity Manager, Security Architect, CISO (Chief Information Security Officer), Cybersecurity Consultant
    • เติบโตในสายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำงานในบริษัทเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ 
    • มีความต้องการสูง ทุกองค์กรในปัจจุบันพึ่งพาระบบดิจิทัลและข้อมูล ทำให้ความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และยังขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทาง
    • มีโอกาสงานหลากหลาย สามารถทำงานได้ในทุกอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตั้งแต่เทคโนโลยี, การเงิน, การแพทย์, อีคอมเมิร์ซ, การผลิต, ไปจนถึงภาครัฐ
  • ความท้าทายของอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 
    • ภัยคุกคามที่ซับซ้อนและพัฒนาตลอดเวลา แฮกเกอร์และผู้ไม่หวังดีพัฒนารูปแบบการโจมตีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทันอยู่เสมอ
    • ช่องทางการโจมตีที่เปิดกว้างขึ้นจากการใช้งาน Cloud, IoT, และการทำงานแบบ Remote Work
    • แรงกดดันสูงเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เมื่อระบบถูกโจมตี ต้องรับมืออย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพราะการละเมิดความปลอดภัยเพียงครั้งเดียวอาจสร้างความเสียหายมหาศาลต่อองค์กร ทั้งในด้านการเงิน ชื่อเสียง และกฎหมาย 
    • ต้องมีความละเอียดรอบคอบสูง ช่องโหว่เพียงเล็กน้อยอาจนำไปสู่การโจมตีระดับใหญ่
    • การทำงานกับหลายฝ่าย (IT, ผู้บริหาร, ลูกค้า) ต้องมี soft skills ในการอธิบายเรื่องเทคนิคให้คนที่ไม่เชี่ยวชาญเข้าใจได้
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 
    • Aj. NesT the Series. (2022, Jan 13). เรียนจบสาย IT ทำอาชีพอะไรได้บ้าง EP.18 Cybersecurity Expert ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=hQ8SPNX4mes 
    • The Standard. (2018, Sep 24). นรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ – THE STANDARD Daily 24 ก.ย. 61 [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=clFHD-MNlEc
  • พี่ต้นแบบอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2568]
  • Amazon Web Services, Inc. (n.d.). การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออะไร? Amazon Web Services. https://aws.amazon.com/th/what-is/cybersecurity/