วิศวกรคอมพิวเตอร์

BRAND'S BRAIN CAMP

วิศวกรคอมพิวเตอร์

ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ พัฒนา และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Hand_coding_pana_f0460d61bc
  • วิศวกรคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญทุกด้านของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอาชีพนี้มีสาขาที่หลากหลายที่ทำงานไม่เหมือนกัน แบ่งเป็น
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูล
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์ระบบและเครือข่าย 
  • การออกแบบและพัฒนา  ออกแบบและพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์) หรือซอฟต์แวร์ เช่น การพัฒนาฮาร์ดดิสหรือชิปประมวลผล การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือบริษัท การเขียนโค้ดสำหรับแอปพลิเคชัน เขียนโปรแกรมใหม่ๆ เป็นต้น
  • การทดสอบและการวิเคราะห์  ทดสอบและวิเคราะห์ระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  • การแก้ไขปัญหา  วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การระบุความผิดปกติของฮาร์ดแวร์ การระบุจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ เป็นต้น
  • ดูแลการใช้งาน  วิศวกรคอมพิวเตอร์จะดูแลการใช้งานระบบฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถใช้งานคู่ไปกับอุปกรณ์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ได้อย่างราบรื่น
  • วิจัย ค้นคว้า  องค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เพื่อนำมาพัฒนาวงการต่างๆ
  1. รับทราบความต้องการขององค์กรผ่านการประชุมทีม พูดคุยสื่อสาร  เช่น ปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องรีบแก้ไข การผลิตฮาร์ดแวร์/อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่ การผลิตออกแบบซอฟต์แวร์ใหม่ ฯลฯ
  2. วางแผนและลงมือทำงาน วิศวกรจะนำความต้องการขององค์กร มาวางแผนและออกแบบการทำงานของตนเอง ตามลักษณะงานที่ต้องทำ เช่น แผนการซ่อมแซม/ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัท การวิเคราะห์ผลการทดสอบสำหรับส่วนประกอบฮาร์ดแวร์  วาดแผนผังการออกแบบสำหรับระบบใหม่ ออกแบบการทำงานของโดรน ของหุ่นยนต์  การเขียนโค้ดใหม่สำหรับซอฟต์แวร์ เป็นต้น
  3. การทดสอบและประเมินความเสี่ยง  หาข้อบกพร่องและจุดเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. นำระบบนั้นไปใช้จริง โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์เป็นผู้ดูแลระบบ และคอยปรับปรุง พัฒนาให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
  5. การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางเทคนิค  คอยให้คำปรึกษา ถาม ตอบ ข้อสงสัย แก้ปัญหาการใช้งาน จากผู้ใช้งานระบบ
  1. วิศวกรซอฟต์แวร์
  2. นักทดสอบระบบ (tester)
  3. นักออกแบบ UX UI 
  4.  ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
  • วิศวกรคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ทำงานใน
    • ฝ่ายคอมพิวเตอร์ ไอที และเทคโนโลยีตามบริษัทหรือหน่วยงานรัฐ
    • บริษัทที่ต้องทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยี เช่น บริษัทให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ เป็นต้น
    • กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี เช่น บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เป็นต้น
    • บริษัทที่ปรึกษาที่ให้บริการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • ทำงานในวันปกติ ระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • วิศวกรคอมพิวเตอร์ไม่ได้ทำงานอยู่ในสำนักงานเพียงอย่างเดียว อาจมีงานบางส่วนที่ต้องไปสถานที่ต่างๆ เพื่อติดตั้งระบบหรือทดสอบระบบ เช่น การลงพื้นที่ตรวจสอบเสาสัญญาณ เป็นต้น ทำให้บางบริษัทอาจเสนอตัวเลือกเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นให้แก่พนักงาน 
  • อาจต้องทำงานในช่วงเวลางานด่วน/ฉุกเฉินในบางกรณี เช่น เกิดปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบที่ต้องการการแก้ไขเร่งด่วน ก็ต้องออกไปปฏิบัติงานทันที
  • ความรู้ด้านซอฟต์แวร์  ความรู้ด้านความปลอดภัยข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ 
  • ทักษะเชิงลึกทางเทคนิคด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เช่น การสร้างแบบจำลองข้อมูล การเขียนโค้ด การวิเคราะห์ผลการทดสอบระบบ การเขียนเชลล์สคริปท์ (Shell Scripting)
  • ต้องสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ (โดยเฉพาะการอ่านภาษาต่างประเทศ)
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการคำนวณ
  • ทักษะการคิดเป็นระบบ
  • ความรู้ความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์ไอที
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 100,000 บาทต่อเดือน
  • ทุกองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยีใช้งานสำหรับองค์กร ทำให้วิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ในทุกอุตสาหกรรม
  • ตัวอย่างตำแหน่งงานของ “วิศวกรคอมพิวเตอร์” เช่น
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์เข้าชุด (Entry-level Computer Engineer)
    • นักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์ระดับกลาง (Intermediate Analyst/Programmer)
    • วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
    • ผู้ออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application Designer/Developer)
    • วิศวกรประยุกต์ (Application Engineer)
    • ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
    • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล(Data Scientist ) วิเคราะห์ จัดการ และประมวลผลข้อมูลเพื่อหาความรู้และนำไปใช้ประโยชน์
    • ผู้บริหารสูงสุดที่บริหารสายงานเทคโนโลโลยี (Chief Technology Officer)
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “วิศวกรคอมพิวเตอร์”
  • ต้องหมั่นอัพเดตความรู้เรื่องเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 
  • ต้องเผชิญกับการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ซับซ้อน 
  • ความเสี่ยงของอาชีพ “วิศวกรคอมพิวเตอร์”
    • อาชีพนี้หลายครั้งต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (8-10 ชั่วโมงต่อวัน ติดต่อกันหลายวัน) อาจทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ
    • ปัญหาความเครียดจากการทำงานภายใต้ข้อจำกัด เช่น เวลา, ข้อจำกัดด้านอุปกรณ์และพื้นที่ทำงานที่ขัดกับความต้องการของลูกค้า
  • YouTube ที่มีเนื้อหาแนะนำเกี่ยวกับ “วิศวกรคอมพิวเตอร์”
    • Mahanakorn University of Technology. (2023, June 9). วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ม.เทคโนโลยีมหานคร [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=Rb2D5xMx3D4
    • 9arm. (2018, April 22). วิศวะคอม วิทยาการคอม ไอที เรียนอะไร? [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=qAz00_3-L8E 
    • KhongPangKhongKwan. (2020, September 4). วิศวะคอม กับ Com Sci ต่างกันตรงไหน? | ComSci the Series EP.3 | ของแพง♥️ของขวัญ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=-tnz9_XTue4 
  • คณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเกี่ยวกับ “วิศวกรคอมพิวเตอร์” 
    • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
    • คณะวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง