ผู้ประพันธ์เพลง (Composer)

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้ประพันธ์เพลง (Composer)

ผู้สร้างสรรค์ทำนอง เมโลดี้ และเรียบเรียงเสียงดนตรี เพื่อใช้ในบริบทต่าง ๆ เช่น เพลงศิลปิน เพลงประกอบภาพยนตร์ รายการ โฆษณา หรือเกม 

ผู้ประพันธ์เพลง (Composer)
  • คิดและแต่งทำนอง (Melody) ให้ตรงกับโจทย์หรืออารมณ์ของผลงาน
  • เรียบเรียงเสียงประสาน (Arrangement) เพื่อให้เพลงสมบูรณ์
  • ทำงานร่วมกับทีม เช่น โปรดิวเซอร์ ศิลปิน ผู้กำกับ เพื่อให้เพลงสอดคล้องกับภาพรวม
  • ใช้โปรแกรมดนตรี เช่น Logic Pro, Cubase หรือเขียนโน้ตเพลง
  • ควบคุมการอัดเสียง และการมิกซ์เสียงหากอยู่ในขอบเขตงาน
  • ปรับแก้ผลงานตามฟีดแบ็ก (feedback)
  1. การทำความเข้าใจโจทย์และความต้องการ  หากเป็นการประพันธ์เพลงตามคำสั่ง (Commissioned Piece) ผู้ประพันธ์เพลงจะต้องพูดคุยกับผู้ว่าจ้างอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจ เช่น วัตถุประสงค์ในการใช้งาน อารมณ์/บรรยากาศ แนวเพลง กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณและกรอบเวลา หากเป็นการประพันธ์เพลงเพื่อตนเอง ผู้ประพันธ์อาจเริ่มต้นจากแรงบันดาลใจ เช่น อารมณ์ความรู้สึก, เหตุการณ์, ภาพ, หรือแนวคิดนามธรรมต่างๆ ที่ต้องการสื่อสารผ่านบทเพลง 
  2. ค้นคว้าและหาแรงบันดาลใจ  รวบรวมข้อมูล, ฟังเพลงหลากหลายแนว, ศึกษาทฤษฎีดนตรี, หรือแม้กระทั่งอ่านหนังสือ/ดูภาพยนตร์ เพื่อจุดประกายแนวคิดและหาข้อมูลอ้างอิง
  3. การประพันธ์และการเรียบเรียง สร้างสรรค์ท่วงทำนอง (เมโลดี้) และลำดับคอร์ด (ฮาร์โมนี) ที่เป็นแกนหลักของเพลงขึ้นมา จากนั้นก็ จัดสรรบทบาทให้กับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น (หรือเสียงร้อง) ว่าจะเล่นไลน์ไหน เสียงประสานอย่างไร รวมถึงการกำหนดจังหวะและรูปแบบดนตรี เพื่อให้บทเพลงที่แต่งขึ้นนั้นมีความสมบูรณ์ มีมิติ และถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกตามที่ตั้งใจไว้ได้อย่างลงตัว  
  4. เริ่มทำเพลงตัวอย่าง (Demo) สร้างเวอร์ชันสาธิตของเพลงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำเสนอ ให้ลูกค้าฟังและปรับแก้จากฟีดแบ็ก
  5. ทำงานกับนักดนตรี/ผู้ผลิต  หากมีการบันทึกเสียงจริง ผู้ประพันธ์เพลงอาจต้องทำงานร่วมกับนักดนตรี, วาทยกร (Conductor), Sound Engineer, และ Music Producer เพื่อให้บทเพลงถูกถ่ายทอดออกมาตามที่ต้องการ
  6. ควบคุมการอัดเสียง คอยให้คำแนะนำแก่นักดนตรีและทีมบันทึกเสียง เพื่อให้มั่นใจว่าการแสดงและการอัดเสียงเป็นไปตามความตั้งใจของบทเพลง
  7. การทำ Mastering (สำหรับเพลงที่บันทึกเสียง)  ปรับแต่งคุณภาพเสียงขั้นสุดท้ายเพื่อให้ได้มาตรฐานสำหรับการเผยแพร่
  8. ส่งมอบงาน ส่งมอบบทเพลงในรูปแบบที่ตกลงกันไว้ เช่น โน้ตเพลง, ไฟล์เสียง, สกอร์สำหรับวงดนตรี
  1. นักดนตรี
  2. ศิลปิน / นักร้อง 
  3. โปรดิวเซอร์
  4. วิศวกรเสียง
  5. ผู้มิกซ์เสียง
  • สถานที่ทำงาน นักประพันธ์เพลงสามารถทำงานในหลากหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมดนตรีและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่ายเพลง วงออร์เคสตรา/คณะดนตรี/โรงละคร
  • นักประพันธ์เพลงจำนวนมากทำงานในสตูดิโอส่วนตัวที่บ้าน ในกรณีที่ทำงานเป็นพนักงานประจำในบริษัทโปรดักชั่น, ค่ายเพลง, หรือสตูดิโอทำเพลงประกอบภาพยนตร์ อาจมีพื้นที่สำนักงานที่จัดเตรียมไว้ให้ และอาจต้องทำงานในสถานที่จัดแสดง หากมีการแสดงดนตรีที่ประพันธ์ขึ้น ผู้ประพันธ์อาจต้องไปดูแลการซ้อม หรือการแสดงจริง ณ สถานที่จัดงาน
  • เวลาทำงานของนักประพันธ์เพลงค่อนข้าง ยืดหยุ่นและไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะโปรเจกต์: หากเป็นงานที่มีกำหนดส่งชัดเจน (เช่น ดนตรีประกอบภาพยนตร์) ผู้ประพันธ์อาจต้องทำงานหนักและใช้เวลามากในช่วงที่ใกล้ถึงกำหนดส่ง อาจทำงานล่วงเวลาหรือข้ามคืน  ทั้งนี้ A&R หรือทีมโปรเจกต์อาจช่วยจัดสรรตารางเวลาร่วมกับศิลปินและทีมงาน
  • นักประพันธ์เพลงจำนวนมากทำงานแบบอิสระ (Freelance) ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีอิสระในการจัดตารางเวลาของตัวเอง แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการโปรเจกต์และการส่งงานให้ตรงเวลา
  • ความรู้และทักษะพื้นฐานด้านดนตรี เช่น  ทฤษฎีดนตรี การอ่านโน้ต และเข้าใจโครงสร้างของบทเพลง
  • ทักษะการใช้โปรแกรมด้านดนตรี เช่น โปรแกรมเขียนโน้ตเพลง โปรแกรมบันทึกเสียง
  • ความรู้พื้นฐานด้านการบันทึกเสียงและการผสมเสียง 
  • การเล่าเรื่องด้วยเสียง ความสามารถในการใช้ดนตรีเพื่อถ่ายทอดอารมณ์, บรรยากาศ, และเรื่องราวต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำพูด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดนตรีประกอบภาพยนตร์/เกม)
  • ทักษะการสื่อสาร สามารถสื่อสารแนวคิดทางดนตรีกับผู้ว่าจ้าง, นักดนตรี, ผู้ผลิต, และทีมงานได้อย่างชัดเจน
  • ผลตอบแทน  รายได้ขึ้นอยู่กับประเภทงานและประสบการณ์ 
    • มีค่าตอบแทนตั้งแต่ 3,000 – 100,000 ต่อผลงาน เช่น หากแต่งเพลงให้ศิลปินชื่อดัง หรือประกอบสื่อใหญ่ เช่น โฆษณา ละคร ซีรีส์ ค่าตอบแทนก็จะสูงขึ้น
    • นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นที่นิยมจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่ามาก และมีโอกาสได้รับงานใหญ่ๆ ที่มีงบประมาณสูง สามารถสร้างรายได้หลักแสนถึงหลักล้านบาทต่อเดือน หรือต่อปี จากค่าลิขสิทธิ์และค่าจ้างโปรเจกต์ใหญ่ๆ
    • งานแบบฟรีแลนซ์มักคิดค่าจ้างเป็นรายโปรเจกต์ รายเพลง หรือรายชั่วโมงขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับลูกค้า  
    • ในระยะยาวสามารถสร้างรายได้แบบ Passive Income จากค่าลิขสิทธิ์ (royalty) หากผลงานถูกนำไปใช้ซ้ำ เช่น บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง โฆษณา รายการโทรทัศน์ การเปิดในพื้นที่สาธารณะ หรือ จากการผลิตซ้ำเพลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลดาวน์โหลด, ยอดสตรีมมิ่ง
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพผู้ประพันธ์เพลง 
    • เติบโตในสายงานดนตรี  สามารถพัฒนาเส้นทางจากนักแต่งเพลงอิสระ (Freelance) ไปสู่บทบาทที่ใหญ่ขึ้น เช่น โปรดิวเซอร์ (Music Producer), Music Director, หรือดูแลโปรเจกต์ศิลปินในระดับค่าย ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นอาจได้รับโอกาสร่วมงานกับศิลปินชื่อดัง ค่ายเพลงดังได้
    • มีชื่อเสียงในระดับประเทศ ดนตรีเป็นภาษาสากล นักประพันธ์ดนตรีสามารถขยายผลงานตัวเองสู่ตลาดต่างประเทศได้
    • สร้างธุรกิจส่วนตัว นักประพันธ์ดนตรีอาจเปิดค่ายเพลงเป็นของตัวเอง หรือเป็นที่ปรึกษาให้กับศิลปินและค่ายเพลง รวมถึงสามารถสร้างแบรนด์ตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์และรายได้จากลิขสิทธิ์
    • ผู้ที่สนใจด้านการสอนหรือแบ่งปันประสบการณ์ สามารถต่อยอดเป็น วิทยากร, อาจารย์, Content Creator หรือเปิดคอร์สออนไลน์ ด้านการแต่งเพลงและการเล่าเรื่องผ่านเสียงดนตรี
    • รายได้จาก Digital Streaming เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการฟังเพลงของผู้บริโภคเปลี่ยนไปสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นหลัก ทำให้เพลงสามารถเข้าถึงผู้ฟังได้กว้างขวางขึ้นและสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์จากการฟัง (Mechanical Royalties) ได้อย่างต่อเนื่อง
    • แพลตฟอร์มออนไลน์  นอกเหนือจากค่ายเพลงใหญ่ นักประพันธ์เพลงสามารถเผยแพร่ผลงานของตัวเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ได้โดยตรง เช่น YouTube, Spotify, Joox, TikTok หรือสร้างสรรค์คอนเทนต์วิดีโอเพื่อประกอบเพลงของตนเอง ซึ่งเปิดโอกาสให้เป็น “ศิลปินอิสระ” ที่สามารถสร้างฐานแฟนคลับและรายได้ด้วยตัวเอง
    • การขยายตัวของอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อ การผลิตคอนเทนต์ภาพยนตร์และซีรีส์ และเกมมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ความต้องการดนตรีประกอบและเพลงประกอบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • ความท้าทายของอาชีพผู้ประพันธ์เพลง
    • ต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน จากระยะเวลาและความคาดหวังของลูกค้าหรือศิลปิน
    • อุตสาหกรรมเพลงมีการแข่งขันสูง ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง หมั่นสร้างผลงานให้คนเห็นอย่างสม่ำเสมอ
    • รายได้ไม่แน่นอนในระยะเริ่มต้น  โดยเฉพาะฟรีแลนซ์ อาจต้องใช้เวลาในการสร้างชื่อเสียงและฐานงาน
    • ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ต้องฝึกฝนวินัยและความเข้าใจในโจทย์ให้แม่นยำ
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ  ผู้ประพันธ์เพลง (Composer)
    • VERY CAT SOUND. (2025, Jan 27). Music Producer กับ Composer ต่างกันยังไง? [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=spjxK80aet8 
    • VERY CAT SOUND. (2024, Nov 29) อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP5 : งานทำเพลงเขาหากันยังไง?  [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=VOA_Qzl_HN4 
    • Mahidol World. (2023, Mar 1). What does a lecturer and world-class composer do? (อาจารย์และนักแต่งเพลง) | What do they do? [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=SVMGIJJznT8 
    • GuitarFriends. (2020, Oct 10).คุณสมบัตินักแต่งเพลงที่จำเป็นต้องมี คืออะไร? | Songwriting [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=5HwgYQeCbKM 
  • พี่ต้นแบบอาชีพ   ผู้ประพันธ์เพลง (Composer) [สัมภาษณ์เมื่อวันที่  2 มิถุนายน 2568]
  • Very Cat Sound. (2014) : 5 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับอาชีพดนตรี คนทำเพลง นัก แต่งเพลง. http://verycatsound.com/5musicmis/