เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็กและครอบครัว

BRAND'S BRAIN CAMP

เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็กและครอบครัว

ผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องและส่งเสริมสิทธิของเด็กและครอบครัว โดยการป้องกันความรุนแรงให้เด็กได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเกื้อกูลต่อการเติบโตอย่างแข็งแรงของเด็ก

เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็กและครอบครัว
  • รับแจ้งเหตุ ประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเด็กหรือครอบครัว และวางแผนจัดการความช่วยเหลือเฉพาะรายร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
  • ให้คำปรึกษา ฟื้นฟู และเข้าช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพ เช่น ประสานที่พักฉุกเฉิน โรงพยาบาล โรงเรียน หรือส่งต่อบริการที่จำเป็น
  • วิเคราะห์ปัญหาและออกแบบแผนงานหรือโครงการเพื่อคุ้มครองเด็ก ครอบครัว หรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติ/เปราะบาง พร้อมจัดทำข้อเสนอโครงการและงบประมาณเพื่อขอทุน
  • ประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมระบบคุ้มครองเด็กหรือครอบครัวให้ยั่งยืน
  • ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสิทธิเด็กในชุมชน และสร้างความตระหนักรู้ในบทบาทของทุกฝ่ายในการดูแลเด็กและครอบครัว
  1. รับแจ้งเหตุหรือปฏิบัติหน้าที่เมื่อได้รับข้อมูลปัญหาจากชุมชน โรงเรียน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีเด็กที่อาจถูกละเมิดสิทธิ ทอดทิ้ง หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย
  2. ลงพื้นที่เพื่อประเมินสถานการณ์โดยรอบของเด็กหรือครอบครัว ทั้งด้านความเป็นอยู่ ความเสี่ยง และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ให้คำปรึกษาเมื่อประสบความรุนแรง ประสานจัดที่พักฉุกเฉิน หรือประสานกับโรงเรียน/โรงพยาบาล  เพื่อวางแผนจัดการปัญหาเฉพาะหน้า 
  3. ดำเนินการช่วยเหลือคุ้มครองตามวิธีการช่วยเหลือเฉพาะรายร่วมกับทีมสหวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลเหมาะสม เช่น ส่งต่อบริการที่จำเป็น จัดหาที่พักชั่วคราว หรือฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็ก
  4. ประสานงานกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน หรือชุมชน เพื่อเสริมการคุ้มครองเด็ก หรือครอบครัวให้เป็นระบบยั่งยืน และเกิดความเข้าใจร่วมในบทบาทการดูแล
  5. ติดตามและประเมินผลระยะยาว เพื่อให้เด็กหรือครอบครัวเป้าหมายได้รับความคุ้มครองต่อเนื่อง
  6. จัดทำรายงานสรุปผล พร้อมสื่อสารผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้
  1. นักสังคมสงเคราะห์ 
  2. นักจิตวิทยา / นักให้คำปรึกษา 
  3. ครู / เจ้าหน้าที่โรงเรียน 
  4. เจ้าหน้าที่ตำรวจ
  5. แพทย์ / พยาบาล / เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
  6. เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง / ท้องถิ่น 
  7. เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว 
  8. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย เช่น ทนายความ, อัยการ เป็นต้น
  • สถานที่ทำงาน เช่น ศูนย์คุ้มครองเด็กและครอบครัว, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO), โรงพยาบาล, บ้านพักเด็กและเยาวชน 
  • เวลาทำงาน ทำงานวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. เวลาราชการ แต่กรณีที่ต้องลงพื้นที่ช่วยเหลือเด็กเร่งด่วน อาจต้องทำงานนอกเวลา หรือลงพื้นที่
  1. ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก และการให้ความช่วยเหลือเด็ก เช่น สังคมสงเคราะห์, จิตวิทยาเด็ก, กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็ก เป็นต้น
  2. ความเข้าใจในด้านสังคมศาสตร์ เช่น เศรษฐกิจ, โครงสร้างสังคม, กฎหมาย, วัฒนธรรม, บริบทครอบครัว เป็นต้น
  3. การให้คำปรึกษาและการรับฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
  4. ทักษะการเจรจา สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  5. ทักษะการประสานงาน
  • ผลตอบแทน เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 18,000-30,000 บาท/เดือน
    • หากมีประสบการณ์หรืออยู่ในองค์กรระหว่างประเทศอาจสูงถึง 50,000+ บาท/เดือน
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพเติบโตในสายงานคุ้มครองเด็ก 
    • เติบโตตามสายงาน เช่น จากเจ้าหน้าที่ภาคสนาม สู่หัวหน้าทีม ผู้จัดการโครงการ หรือผู้วางนโยบายในองค์กรภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ทั้งในและต่างประเทศ
    • มีโอกาสขยายสู่อาชีพอื่น เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักวิจัย นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็กและครอบครัว
    • ขยายเข้าสู่งานที่เกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายหรือสาธารณสุข เช่น เจ้าหน้าที่ DSI พนักงานสอบสวนเด็ก หรือผู้ประสานงานเครือข่ายด้านสุขภาพจิตและสวัสดิการสังคม
  • ความท้าทายของอาชีพเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก/ครอบครัว 
    • ต้องทำงานกับปัญหาซับซ้อนและมีความอ่อนไหว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การถูกทอดทิ้ง หรือการละเมิดสิทธิเด็ก
    • ต้องมีความอดทน เข้าใจผู้คนหลากหลาย ไม่ตัดสิน และสามารถทำงานร่วมกับครอบครัวหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีภูมิหลังต่างกัน
    • ต้องรับแรงกดดันสูง โดยเฉพาะเมื่อต้องตัดสินใจเร่งด่วนเพื่อปกป้องเด็ก หรือเข้าแทรกแซงในสถานการณ์ฉุกเฉิน
    • อาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร ระบบ หรือการประสานงานข้ามหน่วยงาน
    • ต้องรักษาสมดุลระหว่างความเห็นอกเห็นใจและการยึดตามหลักกฎหมายหรือนโยบาย เพื่อไม่ให้เกิดอคติในการช่วยเหลือ
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก/ครอบครัว (Child and Family Protection Officer)
    • กรมกิจการเด็กและเยาวชน ดย. (2023, November 28). บ้านพักเด็กและครอบครัวทั้ง 77 แห่งทั่วประเทศ [Video]. YouTube. https://youtu.be/Ba_NtpEaNM4?si=SgUg5-sM_FIabZIg 
    • กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2022, July 26). บ้านพักเด็กและครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน [Video]. YouTube. https://youtu.be/mpzalmO-XE0?si=WDjJ0nih2TMRNybu