เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Developer)

BRAND'S BRAIN CAMP

เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Developer)

ผู้รับผิดชอบในการวิเคราะห์ตลาด ค้นหาโอกาสทางธุรกิจ และพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ ขยายฐานลูกค้า และสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ โดยทำงานร่วมกับทีมขาย การตลาด และผู้บริหาร เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Developer)
  • สำรวจโอกาสและวิจัยตลาด ศึกษาแนวโน้มอุตสาหกรรม วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค คู่แข่ง และช่องว่างในตลาด เพื่อนำข้อมูลไปใช้กำหนดทิศทางธุรกิจ
  • สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและพาร์ตเนอร์ เข้าพบลูกค้าใหม่ เจรจาสร้างความร่วมมือ พร้อมทั้งดูแลความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมให้ยั่งยืน
  • เจรจาต่อรองและปิดดีล  นำเสนอโซลูชันทางธุรกิจที่เหมาะสม เจรจารายละเอียดของข้อตกลง ร่วมกับฝ่ายกฎหมายเพื่อจัดทำเอกสารและสัญญา
  • พัฒนาข้อเสนอและกลยุทธ์ธุรกิจ ทำงานร่วมกับทีมขาย การตลาด และฝ่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อออกแบบแผนธุรกิจ โปรโมชั่น และแนวทางขยายตลาดใหม่
  • ติดตามผลลัพธ์และวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบยอดขาย ประเมินประสิทธิภาพของโครงการ หรือดีลที่เกิดขึ้น และเสนอแนวทางปรับปรุง
  • ดำเนินโปรเจกต์แบบ end-to-end รับผิดชอบโครงการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การหาช่องทางกระจายสินค้า จัดโปรโมชั่น วางแผนกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือออกแบบเครื่องมือสนับสนุน เช่น แพลนเนอร์
  1. กำหนดเป้าหมายและค้นหาโอกาส วิเคราะห์ตลาด สำรวจแนวโน้ม พฤติกรรมผู้บริโภค และรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน
  2. เตรียมข้อเสนอและวางแผนกลยุทธ์ จัดทำแผนธุรกิจ วางแผนต้นทุน–รายได้ สร้าง Business Model พร้อมจัดทำ Forecast รายได้-กำไรในแต่ละไตรมาสหรือโปรเจกต์
  3. พบปะลูกค้าและนำเสนอแนวทาง นัดพบลูกค้าและพาร์ทเนอร์ นำเสนอ Solution หรือผลิตภัณฑ์ พร้อมจัดทำ Demo ปรับตามข้อเสนอแนะและบริบทของลูกค้า
  4. เจรจาและปิดข้อตกลง สรุปเงื่อนไขการทำงาน ร่างข้อตกลงร่วมกับฝ่ายกฎหมาย หรือทีมที่เกี่ยวข้อง จนกระทั่งลงนามในสัญญา
  5. ติดตามผลและประเมินประสิทธิภาพ ตรวจสอบยอดขายหรือผลประกอบการ เปรียบเทียบกับ Forecast และ KPI เพื่อประเมินผล พร้อมปรับกลยุทธ์สำหรับรอบถัดไป
  6. จัดทำเอกสารและ Presentation สร้างสไลด์เสนอแผนธุรกิจ รายงานความคืบหน้า หรือข้อเสนอใหม่ เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้บริหารและทีมงาน
  1. พนักขาย
  2. นักการตลาด
  3. นักพัฒนาผลิตภัณฑ์
  4. นักวิเคราะห์ข้อมูล 
  5. นักบัญชี
  6. ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
  7. นักกฎหมาย / ที่ปรึกษากฎหมาย
  8. ตัวแทนจากบริษัทคู่ค้า หรือผู้จัดการความร่วมมือทางธุรกิจ
  • สถานที่ทำงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจสามารถพบได้ในหลากหลายประเภทขององค์กร ตั้งแต่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ สตาร์ทอัป บริษัทเทคโนโลยี ธุรกิจบริการ ไปจนถึงองค์กรข้ามชาติหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีแผนขยายธุรกิจหรือสร้างพันธมิตรใหม่ ๆ โดยทั่วไปปฏิบัติงานในสำนักงานของบริษัท แต่จำเป็นต้องเดินทางออกนอกสถานที่เพื่อพบลูกค้า หรือร่วมกิจกรรม เช่น การประชุม งานแสดงสินค้า งานอีเวนต์ส่งเสริมการขาย และการประชุมทางธุรกิจที่จัดในโรงแรม ศูนย์ประชุม หรือพื้นที่อื่นตามความเหมาะสม
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานปกติมักอยู่ระหว่างวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 09:00–18:00 น. อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีการจัดงานหรือการประชุมนอกเวลา อาจต้องปฏิบัติงานในช่วงเย็นหรือวันเสาร์–อาทิตย์ ทั้งนี้ เวลาทำงานเป็นไปตามนโยบายของแต่ละองค์กร
  1. ความรู้ด้านการวิจัยตลาดและวิเคราะห์ข้อมูล เข้าใจวิธีเก็บข้อมูล วิเคราะห์เทรนด์ พฤติกรรมลูกค้า และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อวางแผนเชิงกลยุทธ์
  2. ทักษะการสื่อสารและเจรจาต่อรอง พูดจาชัดเจน เข้าใจง่าย มั่นใจ และมีศิลปะในการต่อรองเพื่อสร้างความพึงพอใจร่วมกัน
  3. ทักษะการใช้เครื่องมือวิเคราะห์และระบบ CRM ใช้ Excel, Power BI, Google Data Studio หรือระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเพื่อบริหารข้อมูลเชิงลึก
  4. ทักษะการนำเสนอ (Pitching) ออกแบบและนำเสนองานได้อย่างน่าสนใจ ทั้งต่อผู้บริหาร ลูกค้า หรือพาร์ตเนอร์
  5. ทักษะด้านการคำนวณเบื้องต้น คิดต้นทุน วิเคราะห์กำไรขาดทุน ประเมิน ROI และวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อเสนอได้แม่นยำ
  6. ทักษะภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ใช้เพื่อสื่อสารกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ หรือเขียนเอกสารภาษาอังกฤษอย่างมืออาชีพ
  7. ทักษะด้าน Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลดิบเพื่อหา insight สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
  8. Service Mind และความเข้าใจลูกค้า  ทำงานด้วยใจบริการ เข้าใจความต้องการและมุมมองของลูกค้า
  9. ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Skills) เข้ากับคนได้ง่าย ทำงานร่วมกับคนหลากหลายรูปแบบ และรักษาความสัมพันธ์ได้ดี
  • ผลตอบแทน 
    • ระดับเริ่มต้น ประมาณ 20,000–30,000 บาท/เดือน – สำหรับผู้เริ่มต้นหรือจบใหม่
    • ระดับกลาง ประมาณ 30,000–50,000 บาท/เดือน
    • ระดับผู้จัดการ (Business Development Manager) ประมาณ 40,000–80,000 บาท/เดือน
    • ค่าคอมมิชชันขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจ และบริษัทกำหนด
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 
    • เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมหรือผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ มีโอกาสคุมทีม BD ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค หากมีผลงานต่อเนื่องและมีภาวะผู้นำ
    • ขยับสู่บทบาท Business Development ระหว่างประเทศ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ มักต้องใช้ทักษะภาษาและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม
    • เติบโตสู่ตำแหน่งผู้บริหาร เช่น Business Director รับผิดชอบกำไร-ขาดทุนระดับธุรกิจย่อย หรือบริหารสายผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่ม
    • เปลี่ยนสายงานเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ ด้วยประสบการณ์เจรจาและเข้าใจโครงสร้างธุรกิจ สามารถทำงานในสายที่ปรึกษาหรือวิเคราะห์ธุรกิจเฉพาะทางได้
    • ขยายบทบาทสู่สายการตลาดหรือการจัดการโครงการ เช่น Product Marketing หรือ Project Manager ที่ต้องประสานหลายฝ่ายและเข้าใจลูกค้าเชิงลึก
  • ความท้าทายของอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
    • เป้าหมายยอดขายกดดันสูง ต้องสร้างรายได้และปิดดีลได้ตามเป้าทุกเดือน หากพลาดอาจส่งผลต่อโบนัส หรือความมั่นคงในตำแหน่ง
    • เวลาทำงานไม่แน่นอน ต้องพร้อมพบลูกค้าในเวลาที่หลากหลาย รวมถึงวันหยุดหรือหลังเลิกงาน 
    • เจรจาและบริหารหลายความคาดหวัง ต้องประสานผลประโยชน์ ให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ
    • ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลตลาด เทคโนโลยีใหม่ พฤติกรรมผู้บริโภค หรือกลยุทธ์ของคู่แข่ง ต้องปรับตัวไว
    • ต้องมีความน่าเชื่อถือสูงเมื่อเจรจาดีล โดยเฉพาะในงานที่มูลค่าสูงหรือซับซ้อน ลูกค้าจะตัดสินใจจากบุคลิกและความเข้าใจธุรกิจของ BD โดยตรง
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพนักพัฒนาธุรกิจ 
    • JobThaiChannel. (2023, Jan 18). Business Development ทำอะไร? เตรียมตัวยังไงถ้าอยากทำงานนี้? | ฝ้าย – GPSC | Career Unlock EP.6 [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=FUOA_ogu_ck
  • พี่ต้นแบบอาชีพอาชีพนักพัฒนาธุรกิจ [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568]