บาริสต้า

BRAND'S BRAIN CAMP

บาริสต้า

เป็นผู้สื่อสาร ทำเครื่องดื่ม และส่งเครื่องดื่มนั้นจากไร่ผู้ผลิต ไปสู่แก้วของลูกค้า

Coffee_shop_pana_2_ae84c6b242

มีงานหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ทำงานกับลูกค้า และส่วนงานจัดการที่ทำร่วมกับทีม

  • ส่วนที่ทำงานกับลูกค้า
    • ทำงานที่อยู่ในร้านและเกี่ยวกับเครื่องดื่ม เช่น ชงเครื่องดื่ม เสิร์ฟ พูดคุยกับลูกค้า เป็นต้น
    • ให้ข้อมูลและความรู้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกาแฟ หรือวิธีการชงกาแฟกับลูกค้า เป็นต้น
    • ทำงานอื่นๆ ในร้าน เช่น เป็นแคชเชียร์คิดเงิน ทำความสะอาด เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำเครื่องดื่ม เป็นต้น
  • ส่วนงานจัดการที่ทำงานร่วมกับทีม
    • ประชุมกันในทีมเพื่อวางแผนการจัดการ ซึ่งในทีมจะมีบาริสต้าแตกต่างกันไป ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างว่า มีบาริสต้าจำนวน 5 คน ประกอบไปด้วยบาริสต้าระดับต่างๆ ดังนี้ 
  1. บาริสต้าระดับผู้จัดการ (Manager Barista)
  2. บาริสต้าระดับผู้ฝึก (Trainer Barista) ทำหน้าที่ฝึกฝนพัฒนาความสามารถให้บาริสต้าระดับเริ่มต้น (Junior Barista) ในช่วงที่เรียนรู้งานและกำลังอยู่ในช่วงทดลองงาน
  3. บาริสต้าระดับมืออาชีพ (Professional Barista) จำนวน 2 คน ทำหน้าที่คอยสนับสนุนและช่วยฝึกบาริสต้าระดับเริ่มต้น
  4. บาริสต้าระดับเริ่มต้น (Junior Barista) เป็นบาริสต้าที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน มีประสบการณ์น้อย และต้องฝึกฝนเพิ่มเติม

โดยมีการประเมินการทำงานกันเป็นระยะ

  • ประชุมกับทีมประชาสัมพันธ์
  • ประสานงานกับผู้ผลิตหรือผู้ขายวัตถุดิบต่างๆ

ยกตัวอย่างขั้นตอนการทำงานใน 1 วันที่เป็นการเตรียมการก่อนเปิดร้าน ทำงานขณะที่ร้านเปิด และจัดการปิดร้าน ในร้านที่เปิดเวลา 8:00 – 18:00น.

  • เดินทางถึงร้านเวลา 7:00น.
  • ก่อนร้านเปิดทำการเช็กวัตถุดิบและอุปกรณ์ รับและจัดระเบียบของที่มาส่ง จัดเตรียมวัตถุดิบ เตรียมเครื่องต่างๆ และทำหน้าบาร์หรือเคาท์เตอร์ให้พร้อมรับลูกค้าเมื่อร้านเปิด
  • เมื่อร้านเปิดจะเป็นการทำงานบริการลูกค้า เช่น ต้อนรับพูดคุยกับลูกค้า รับออร์เดอร์ลูกค้า (ทั้งจากหน้าร้านและจากออนไลน์) ทำเครื่องดื่ม เสิร์ฟเครื่องดื่ม ทำงานเป็นพนักงานคิดเงิน (Cashier) จนถึงช่วงเวลาพักเที่ยง
  • พักกลางวัน 1 – 1.5 ชั่วโมง โดยสลับกะกับเพื่อนร่วมงานที่ทำงานร่วมกันในวันนั้น
  • กลับมาทำงานบริการลูกค้าในช่วงบ่าย
  • ปิดรับออร์เดอร์และเตรียมปิดร้านเมื่อเวลา 17:30น. ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ทำความสะอาดร้าน เช็กสต็อค สรุปยอดขาย
  • 18:00น. ปิดร้าน เลิกงาน
  1. ทีมบาริสต้าด้วยกัน อัพเดทข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกาแฟ หรือการติดตามเรื่องงานต่างๆ
  2. เกษตรกร ผู้ปลูกกาแฟที่ทำงานร่วมกัน ตั้งแต่เข้าใจสิ่งที่เกษตรกรปลูก วิธีการปลูก เพื่อที่จะสื่อสารกับลูกค้าได้เข้าใจ
  3. นักแปรรูปกาแฟ (Coffee Processor) ผู้จัดการกาแฟ ต่อจากเกษตรกร
  4. นักคั่วกาแฟ (Roaster)
  5. นักชิมกาแฟ (Cupper)
  6. พนักงานส่งอาหาร 
  7. ฝ่ายอาคาร ซ่อมบำรุงร้าน ช่างซ่อมและดูแลระบบน้ำ ระบบไฟ ช่างซ่อมอุปกรณ์ทำกาแฟ 
  8. นักอบขนม ทีมเบเกอรี่
  9. ทีมผลิตภัณฑ์สำเร็จตามที่ร้านสั่งทำ (Finished Good) ซึ่งเป็นผู้ทำวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบในการทำเครื่องดื่ม โดยผลิตตามสูตรที่ร้านคิดและกำหนดโดยปาริสต้า เช่น น้ำเชื่อมกลิ่นเฉพาะพิเศษ น้ำผลไม้ หรือส่วนผสมออร์แกนิคต่างๆ เป็นต้น เพื่อนำมาทำเป็นเครื่องดื่มของร้าน 
  10. สำหรับร้านที่เป็นบริษัทใหญ่ จะมีทีมจัดซื้อที่บาริสต้าต้องทำงานด้วย โดยจะแยกเป็นจัดซื้อของสดและของแห้ง
    1. ทีมจัดซื้อของสด (Fresh Food) เช่น นม ส้ม เลมอน เป็นต้น บาริสต้าต้องสื่อสารบอกความต้องการว่าต้องการของแบบไหน ปริมาณเท่าไหร่ ต้องการให้มาส่งวันไหน 
    2. ทีมจัดซื้อของแห้ง (Dry Goods) เช่น น้ำตาล เกลือ กระดาษทิชชู่ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ (Packaging) ของร้าน เช่น แก้ว หลอด กล่องใส่ขนมกลับบ้าน เป็นต้น
  11. ทีมการตลาด ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายของร้าน อาจมีผู้คิดงานสร้างสรรค์ (Creative) และนักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) ที่จะมาคุยกับบาริสต้าเพื่อเก็บข้อมูลไปคิดงาน
  12. หากเป็นบาริสต้าระดับผู้จัดการ อาจต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบัญชีด้วย

ทำงานที่ร้าน โดยอาจสังกัดร้านที่มีสาขา (Coffee Shop Chain) ร้านกาแฟที่ไม่ได้มีสาขา ร้านกาแฟที่ไม่เน้นความเร็ว (Slow Bar) หรือทำงานในองค์กรที่ให้บริการเครื่องดื่มกับพนักงานในบริษัทของตน เช่น เป็นบาริสต้าในบริษัท Google เพื่อทำเครื่องดื่มให้พนักงานบริษัท Google เป็นต้น  

ส่วนเวลาทำงานขึ้นอยู่กับประเภทของร้านที่สังกัด ตัวอย่างการทำงานที่ร้าน Roots ซึ่งเป็นร้านที่มีหลายสาขา และร้านเปิดให้บริการทุกวัน เวลา 8:00 – 18:00น. ดังนี้

  • เวลาทำงานคือ 7:00 – 18:00น. 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • พักกลางวัน 1.5 ชั่วโมง สลับเวลากันไปพักให้เหลื่อมๆ กัน ไม่สามารถพักเที่ยงพร้อมกันได้
  • วันหยุดสลับกันเพื่อให้ได้หยุดตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์
  • สามารถเก็บรวมวันหยุดเพื่อหยุดติดต่อกันได้นาน 24 วัน
  • อาจมีการทำงานล่วงเวลาเพื่อทำงานให้เสร็จ การได้ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
  1. มีความรู้ความสามารถในการทำเครื่องดื่ม รู้จักและเข้าใจกาแฟ สามารถทำให้รสชาติกาแฟออกมาตามที่คาดหวังได้
  2. มีความยืดหยุ่นพร้อมรับทุกสถานการณ์ เพราะต้องพบเจอลูกค้าที่หลากหลายทั้งในด้านอายุ ความต้องการ และต้องมีวิธีสื่อสารและแก้ไขสถานการณ์ให้เหมาะกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ 
  3. สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้รวดเร็ว เช่น น้ำไม่ไหล ไส้กรองตัน อุปกรณ์มีปัญหา เป็นต้น
  4. มีทักษะในการสื่อสาร ต้องฟังความต้องการของลูกค้าให้เข้าใจ รวมถึงสามารถพูดอธิบายให้ลูกค้าและเพื่อนร่วมงานเข้าใจได้ชัดเจน
  5. มีใจรักบริการ (Service Mind) เราไม่สามารถควบคุมได้เลยว่าลูกค้าจะเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร งานของบาริสต้าไม่ใช่เพียงแค่รับออร์เดอร์ แต่ควรช่วยลูกค้าเลือกในสิ่งที่เหมาะและเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด ด้วยการสังเกต ถาม และแนะนำลูกค้า หากลูกค้ามาที่ร้านทุกวันก็ควรพยายามจำให้ได้ว่าลูกค้าชอบอะไร แล้วลูกค้าก็จะรู้สึกอบอุ่น และเป็นกับเองกับการมาที่ร้านนี้
  6. มีความพยายามและความอดทน
  7. มีวินัยต่อตัวเอง ทั้งในเรื่องการดูแลตัวเองให้สามารถรับผิดชอบหน้าที่ได้ รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและเวลาที่ใช้
  8. มีสติ รักษามาตรฐานทั้งเครื่องดื่มและการบริการ ต้องทำตามที่ลูกค้าต้องการได้ถูกต้องและทันเวลา
  9. เป็นผู้เรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง อัพเดทข้อมูลข่าวสารและแนวโน้มเกี่ยวกับกาแฟเสมอ รู้จักสื่อหรือกลุ่มต่างๆ ที่ให้ข้อมูลข่าวสาร
  10. มีความชอบในกาแฟ ชอบกิน ชอบเสพ ชอบแก้ปัญหาเวลาที่เมล็ดกาแฟไม่อร่อย
  11. ช่างสังเกต เปรียบเทียบวิธีและรสชาติ สามารถชิมกาแฟและรู้ว่ารสชาติเป็นอย่างไร อร่อยหรือไม่อร่อยอย่างไร 
  12. อาชีพบาริสต้าไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบอาชีพ แต่หากมีเป้าหมายที่จะเป็นอาจารย์สอนคนอื่นต่อและออกประกาศนียบัตร (Certificate) ก็ต้องไปเรียนในสถาบันต่างๆ และสอบเพื่อให้ได้ใบรับรอง
  13. บางร้านอาจให้เงินเดือนมากขึ้นถ้ามีประกาศนียบัตรรับรอง บางร้านอาจไม่สนใจ บางร้านอาจต้องการประสบการณ์การทำงาน บางร้านอาจรับจากการสัมภาษณ์ ดูความเข้ากันได้กับทีมโดยไม่สนใจว่ามีพื้นฐานความรู้มาก่อนหรือไม่
  14. บางร้านอาจไม่สนใจวุฒิการศึกษา ไม่จำเป็นต้องเรียนจบปริญญาตรี ขอแค่มีวินัยเรียนรู้งานและเข้ากับทีมได้ก็เพียงพอ
  15. ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติได้ ความจำเป็นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งและกลุ่มเป้าหมายของร้านว่ามีลูกค้าต่างชาติมากน้อยแค่ไหน
  • ลำดับตำแหน่งของบาริสต้าในองค์กรใหญ่ (ร้านกาแฟเล็กๆ อาจไม่มีลำดับขั้นตามนี้)
    • บาริสต้าระดับเริ่มต้น (Junior Barista)
    • บาริสต้าระดับมืออาชีพ (Professional Barista)
    • บาริสต้าระดับผู้ฝึก (Trainer Barista)
    • บาริสต้าระดับผู้จัดการ (Manager Barista)
  • ลำดับขั้นในอาชีพในร้านเล็กๆ อาจจะเป็นบาริสต้าฝึกหัด บาริสต้าอาวุโส และเป็นเจ้าของร้านในที่สุด
  • เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 18,000 บาท
  • มีสวัสดิการสุขภาพ ประกัน ขึ้นอยู่กับที่ทำงานแต่ละที่
  • มีเงินที่ลูกค้าให้จากความพอใจในการให้บริการ (Tips) โดยแบ่งกับพนักงานที่ทำงานร่วมกัน
  • ไม่มีค่าทำงานล่วงเวลา ควรพยายามทำงานให้เสร็จในเวลาทำงาน
  • หากมีการออกงาน ออกร้านในงานกิจกรรมนอกสถานที่ จะมีค่าเดินทางไปที่งาน
  • บางร้านอาจมีค่าตอบแทนพิเศษ เช่น ที่ร้าน Roots จะมีให้คิดเมนู Barista’s Choice ตามโอกาส (ทุกๆ สามเดือน) แข่งกับบาริสต้าคนอื่นๆ หากได้รับเลือกจะได้เป็นเมนูที่ขายจริงๆ ในร้านทุกสาขา และทาง Roots แบ่งรายได้จากการขายทุกๆ แก้วที่มีคนสั่งเมนูนั้นให้เป็นเปอร์เซ็นต์
  • เป็นงานที่ต้องแลกด้วยความอดทน แม้จะทำเครื่องดื่มกาแฟเหมือนกัน แต่คนเปลี่ยน ทีมเปลี่ยน เครื่องเปลี่ยน ก็ต้องเรียนรู้ใหม่ 
  • เป็นงานที่มีความกดดัน ต้องรับมือทั้งจากลูกค้าและสิ่งที่เกิดขึ้นในทีม
  • ต้องทำงานแข่งกับเวลา (ยกเว้นร้านที่ขายแบบ Slow Bar)
  • ต้องตื่นเช้า เพราะร้านกาแฟเปิดแต่เช้า ต้องนอนเร็วและพักผ่อนให้เพียงพอ ทำให้อาจไม่ได้เที่ยวกลางคืน หรือไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ บางอย่าง
  • ต้องยืนทั้งวัน ยกของหนักและใช้กำลังแขน อาจทำให้ปวดหลัง สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่รองเท้าที่มีคุณภาพดี ที่เหมาะกับการรองรับน้ำหนักและการยืนนานๆ
  • ช่วงโรคระบาดหรือช่วงโควิด-19 มีร้านกาแฟปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบกับอาชีพบาริสต้ามากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันในช่วงวิกฤตก็มีโอกาสอยู่ เป็นช่วงเวลาที่เกิดอาชีพที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเปิดร้านกาแฟขึ้น โดยเป็นที่ปรึกษาให้กับคนชงกาแฟที่อยากเปิดร้านแต่ไม่มีความรู้ด้านธุรกิจ หรือวัตถุดิบต่างๆ โดยที่ปรึกษาจะช่วยแนะนำข้อมูลธุรกิจ การผลิต เมนู การประชาสัมพันธ์ 
  • แนวโน้มในอนาคตที่ส่งผลกระทบ
    • บาริสต้าหน้าใหม่ไฟแรง ที่ค่าแรงไม่สูง บาริสต้ารุ่นพี่ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาที่น่าหนักใจ หรือเป็นคู่แข่ง แต่จะรู้สึกว่ายินดีต้อนรับและคอยติดตามดูว่าคนรุ่นใหม่มีศักยภาพอะไร ทำอะไรได้บ้าง
    • บาริสต้ากับระบบชงกาแฟอัจฉริยะ หรือ AI 
      • อาจจะดริปกาแฟได้ดี แต่ถ้าอยากได้ดีกว่านี้ต้องให้มนุษย์เป็นคนทำ เพราะ AI ทำงานได้จากการใส่สูตรความคิดของมนุษย์เข้าไป ไม่สามารถทำได้ดีกว่าที่ตั้งไว้ และหากมีปัญหาเช่นเมล็ดมีความบกพร่อง มีกลิ่น AI ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะการชงกาแฟต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการชง ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น 
      • แต่ AI มีประโยชน์ในการกำหนดให้สามารถสกัดรสชาติของกาแฟได้ตามที่มนุษย์ต้องการได้ เช่น มีเครื่องสกัดกาแฟที่สามารถตั้งเครื่องให้ทำงานตามที่ต้องการ สามารถตั้งให้สกัดด้วยอุณหภูมิ 90°c ในนาทีแรก จากนั้น 92°c ในนาทีที่สอง และ 90°c ในนาทีที่สามได้

Roots

Website

http://www.rootsbkk.com/

Facebook

https://www.facebook.com/RootsBkk

 

Instagram

https://www.instagram.com/rootsbkk/

 

Barista Hustle

ความรู้และเทคนิคต่างๆ ในอาชีพบาริสต้า

Website

https://www.baristahustle.com/

 

Project Origin

ข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดกาแฟในแต่ละประเทศในโลก รวมถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ด้วย

Website

https://projectorigin.coffee/

Instagram

https://www.instagram.com/projectorigincoffee/

YouTube

https://www.youtube.com/channel/UCrXGKpAEM0ixbSrDpYHeBFg

 

งาน Thailand Coffee Fest

Website

https://thailandcoffeefest.org/

Facebook

https://www.facebook.com/ThailandCoffeeFest/

Instagram

https://www.instagram.com/thailandcoffeefest/

LINE

https://line.me/R/ti/p/@thailandcoffeefest?from=page

 

งานแข่งขันต่างๆ

  • Thailand National Barista
  • Thailand National Brewer Cup
  • Thailand National Cup Taster
  • Thailand National Roasting

https://www.facebook.com/thaibarista/posts/2813356488702379/

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา

ปริญญาตรี 

  • จบป.ตรีสาขาทุกสาขา แต่ควรจบหลักสูตรอบรม เช่น 
    • หลักสูตรอบรมศิลปะการทำกาแฟ ระดับมืออาชีพ เลอ กอร์ดอง เบลอ
    • หลักสูตรอบรมบาริสต้าเบื้องต้น สาขาอาหารและโภชนาการ 
    • หลักสูตรอบรมบาริสต้าขั้นสูง สาขาอาหารและโภชนาการ 
    • หลักสูตร Professional Barista & Café Management Control 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567