วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering)

BRAND'S BRAIN CAMP

วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering)

ผู้พัฒนาและออกแบบระบบที่ใช้ “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) โดยการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถ “คิด ตัดสินใจ และเรียนรู้” ได้ใกล้เคียงมนุษย์

วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering)
  • ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน AI  เพื่อแก้ปัญหาในโลกจริง เช่น ระบบแนะนำสินค้า แชทบอทอัจฉริยะ ระบบวิเคราะห์ข้อมูล
  • พัฒนาและปรับปรุงโมเดล AI  ด้วยการออกแบบ สร้าง และฝึกฝน (train) โมเดล เพื่อให้ระบบ AI สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล และตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
  • จัดการข้อมูล  รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการฝึกฝนโมเดล AI
  • ติดตั้งและปรับใช้ระบบ AI ที่พัฒนาเสร็จแล้วในสภาพแวดล้อมจริง เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานในผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ได้
  • ทดสอบ ประเมินผล และดูแลรักษาระบบ AI
  • ทำงานร่วมกับทีมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น วิศวกรไฟฟ้าและทีมหุ่นยนต์ 
  • วิจัยและพัฒนา ทำการทดลองและวิจัยเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ ในการใช้ AI แก้ปัญหา 
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำ AI ไปพัฒนาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ
  1. ทำความเข้าใจปัญหาและเป้าหมาย  วิศวกร AI จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้จัดการผลิตภัณฑ์, ทีมธุรกิจ  เพื่อทำความเข้าใจความต้องการทางธุรกิจ ปัญหาที่ต้องการแก้ไข และผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการนำ AI มาใช้
  2. กำหนดเป้าหมาย AI ที่ชัดเจน  แปลงความต้องการทางธุรกิจให้เป็นเป้าหมายที่วัดผลได้สำหรับ AI เช่น “ต้องการลดเวลาในการตอบลูกค้าลง 20%” หรือ “ต้องการเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับสินค้าชำรุดเป็น 95%” 
  3. ประเมินความเป็นไปได้  วิเคราะห์ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วย AI หรือไม่ มีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ และมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน
  4. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ดึงข้อมูลที่จำเป็นจากแหล่งต่าง ๆ จากฐานข้อมูล, จากไฟล์ต่าง ๆ ,ข้อมูล Log จาก Web Server อย่างข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์, IP Address เป็นต้น แล้วนำมาวิเคราะห์ทำความเข้าใจเบื้องต้นด้วย Data Visualization และสถิติ
  5. เลือกอัลกอริทึม/โมเดล AI  พิจารณาจากลักษณะของปัญหาและประเภทของข้อมูล เช่น การจำแนกประเภท, การจัดกลุ่ม, การประมวลผลภาพ, การประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อเลือกอัลกอริทึมที่เหมาะสม เช่น Logistic Regression, Decision Tree, Support Vector Machine, Neural Networks 
  6. ฝึกฝนโมเดล  นำชุดฝึกข้อมูลไปป้อนให้โมเดลเรียนรู้และปรับน้ำหนักของตัวเอง เพื่อให้สามารถทำนายหรือตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ
  7. ประเมินผลและปรับปรุงโมเดล  ใช้ชุดตรวจสอบ (validation set) และชุดทดสอบ (test set) เพื่อวัดประสิทธิภาพของโมเดลด้วย  หากมีข้อผิดพลาด ตรวจสอบว่าโมเดลทำผิดพลาดตรงไหน อย่างไร เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
  8. นำโมเดลขึ้นระบบจริง  แปลงโมเดลที่ฝึกฝนแล้วให้สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมจริงได้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการสร้าง API (Application Programming Interface) เพื่อให้แอปพลิเคชันอื่นสามารถเรียกใช้ได้
  9. ติดตามและปรับปรุง ตรวจสอบประสิทธิภาพของโมเดลที่ทำงานจริงอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ เมื่อประสิทธิภาพลดลง หรือมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามา จำเป็นต้องมีการฝึกฝนโมเดลใหม่ (re-train) หรือปรับปรุงโมเดลอยู่เสมอ
  1. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  2. วิศวกรข้อมูล
  3. วิศวกรระบบและการปรับใช้โมเดล AI
  4. วิศวกรซอฟต์แวร์
  5. นักพัฒนาแอปพลิเคชัน
  6. นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และส่วนติดต่อผู้ใช้ (UX/UI Designer)
  7. ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์
  8. นักจริยธรรมด้านปัญญาประดิษฐ์
  • สถานที่ทำงาน โดยทั่วไปวิศวกรปัญญาประดิษฐ์จะทำงานได้ในทุกอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีการลงทุนด้าน AI หรือมีระบบที่ต้องการการพัฒนาและนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้เป็นจำนวนมาก  เช่น บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ บริษัท  E-commerce  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  สถาบันการเงิน  โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 9.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์​  หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่ในบางกรณีอาจต้องทำงานล่วงเวลา วันหยุด หากจำเป็นที่จะต้องแก้ไขผลิตภัณฑ์
  1. ทักษะและความรู้ด้านเทคนิค เช่น ทักษะการเขียนโปรแกรม ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ความเข้าใจ Machine Learning (ML) และ Deep Learning (DL)
  2. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ เช่น แคลคูลัส, สถิติ, พีชคณิตเชิงเส้น
  3. ทักษะการคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหา
  4. ทักษะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม 
  5. ความเข้าใจในธุรกิจและการประยุกต์ใช้ AI ให้เกิดประโยชน์
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ขนาดขององค์กร หรือหากมีทักษะเฉพาะทางที่หายาก เช่น MLOps, Generative AI โดยมักมีผลตอบแทนดังนี้ 
    • เงินเดือนระดับเริ่มต้น (Junior Level) อาจเริ่มต้นที่ประมาณ 30,000 – 60,000 บาทต่อเดือน 
    • ระดับกลาง (Middle Level) อาจอยู่ที่ประมาณ 60,000 – 100,000+ บาทต่อเดือน
    • ระดับอาวุโส (Senior Level) / ผู้เชี่ยวชาญ  สามารถมีรายได้สูงถึง 100,000 – 200,000+ บาทต่อเดือน 
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ 
    • เติบโตในสายงาน 
      • Junior AI Engineer  เริ่มต้นจากการทำงานภายใต้การดูแล, เน้นการเรียนรู้พื้นฐาน, การเตรียมข้อมูล, การทดลองโมเดล
      • Mid-Level AI Engineer  มีประสบการณ์มากขึ้น, สามารถจัดการโปรเจกต์ขนาดเล็กได้เอง, มีส่วนร่วมในการออกแบบ Solution, ปรับแต่งโมเดลที่ซับซ้อนขึ้น
      • Senior AI Engineer  เชี่ยวชาญในหลายด้าน, สามารถนำโปรเจกต์ขนาดใหญ่ได้, Mentor น้องใหม่, ออกแบบและวางโครงสร้างระบบ AI ที่ซับซ้อน, มีบทบาทในการตัดสินใจด้านเทคนิค
      • Lead AI Engineer / AI Architect  รับผิดชอบภาพรวมทางเทคนิคของทีม AI, ออกแบบสถาปัตยกรรม AI ขององค์กร, กำหนดทิศทางเทคโนโลยี
      • Principal AI Engineer / Head of AI บทบาทเชิงกลยุทธ์, ดูแลทีม AI ขนาดใหญ่, กำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายด้าน AI ขององค์กร
    • ผู้ประกอบการ / AI Consultant ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อสร้างธุรกิจของตนเอง หรือให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ
    • ต่อยอดในสายงานอื่น ๆ  เช่น Machine Learning Engineer, Deep Learning Engineer, MLOps Engineer, Computer Vision Engineer, Natural Language Processing (NLP) Engineer, Data Scientist, AI Architect, AI Researcher ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความลึกและความซับซ้อนของสาขาอาชีพนี้
    • ความต้องการบุคลากรสูง  AI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในทุกอุตสาหกรรม ทำให้องค์กรจำนวนมากต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและนำ AI ไปใช้จริง 
    • การขยายตัวในทุกอุตสาหกรรม AI ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในบริษัทเทคโนโลยีเท่านั้น แต่กระจายตัวไปในภาคส่วนต่างๆ ทั้งการเงิน, การแพทย์, อีคอมเมิร์ซ, การผลิต, ยานยนต์, โทรคมนาคม, และภาครัฐ ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมก็มีโจทย์และความต้องการ AI ที่แตกต่างกัน ทำให้มีโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย 
    • ส่งผลกระทบเชิงบวกสำคัญ การทำงานด้าน AI เปิดโอกาสให้คุณได้สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกจริง เช่น พัฒนาระบบ AI ช่วยวินิจฉัยโรค, ระบบจัดการภัยพิบัติ, หรือระบบการศึกษาที่เข้าถึงได้มากขึ้น
  • ความท้าทายของอาชีพวิศกรปัญญาประดิษฐ์
    • การจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนและมีคุณภาพต่ำ  การทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่และหลากหลายรูปแบบ (ภาพ, เสียง, ข้อความ) ต้องใช้เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อน ซึ่งข้อมูลที่ได้รับมักมีข้อผิดพลาด, ข้อมูลที่หายไป, ค่าผิดปกติ, หรือความไม่สอดคล้องกัน ซึ่งต้องใช้เวลาและทักษะในการทำความสะอาดและเตรียมข้อมูล 
    • ความกดดันเรื่องผลลัพธ์ที่ต้องวัดผลได้  AI Engineer ไม่เพียงแค่ต้อง “เขียนโมเดลได้” แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าโมเดลช่วยเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน หรือแก้ปัญหาได้จริง
    • เรียนรู้ตลอดเวลา  เทคโนโลยี AI พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีอัลกอริทึม, Framework, และเครื่องมือใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา วิศวกร AI ต้องเรียนรู้และอัปเดตความรู้อยู่เสมอเพื่อให้ทันสมัย
    • การอธิบายแนวคิดที่ซับซ้อน  ต้องสามารถอธิบายผลลัพธ์ของ AI หรือข้อจำกัดของโมเดลให้กับผู้ที่ไม่ใช่สายเทคนิคเข้าใจได้ 
    • ข้อจำกัดด้านจริยธรรม และกฎหมาย เช่น ต้องจัดการและลดอคติใน AI เพื่อให้แน่ใจว่าระบบ AI ตัดสินใจอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ, การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย (เช่น PDPA, GDPR)
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ โปรดิวเซอร์พอดแคสต์
    • Thai PBS. (2024, May 1). “วิศวกร AI” อาชีพรายได้สูงระดับหัวแถวของโลก | เศรษฐกิจน่ารู้ | เศรษฐกิจติดบ้าน [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=YBRCJP6Gy9c 
    • Bangkok University. (2021, Aug 9). รีวิว วิศวะฯ AI เรียนอะไรบ้าง? [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=FquzSgmgbGE