สถาปนิก

BRAND'S BRAIN CAMP

สถาปนิก

ผู้ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ชีวิตของผู้คน เช่น บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล สนามบิน เป็นต้น

Architect_pana_7478f76fe1
  • เป็นงานบริการ ครอบคลุมตั้งแต่การสืบค้นวิจัย ออกแบบและเขียนแบบในออฟฟิศไปจนถึงการสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง ตรวจงานก่อสร้าง และสื่อสารกับผู้อยู่อาศัยจริงหรือผู้รับเหมา (ผู้ก่อสร้างอาคาร) ที่สถานที่ก่อสร้างจริง
  • สามารถเป็นสถาปนิกฟรีแลนซ์ได้ แต่ประเภทและขนาดของงานอาจจะถูกจำกัดให้เป็นไปตามกำลังที่สถาปนิกมี
  • รับโจทย์จากลูกค้า เจ้าของโครงการ หรือผู้ที่มีความประสงค์จะสร้างอาคาร
  • รวบรวมข้อมูลพร้อมวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ตั้งแต่ความเป็นไปได้ทางกายภาพ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง งบประมาณการก่อสร้าง ฯลฯ
  • เริ่มกระบวนการออกแบบ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลากหลายวิธี เช่น การระดมไอเดีย การสเก็ตช์ภาพ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การตัดโมเดล (หุ่นจำลอง) เป็นต้น แล้วแต่ความเหมาะสมและรูปแบบการทำงานของแต่ละบริษัท
  • เมื่อได้แนวทางตั้งต้นของแบบแล้ว อาจมีการนัดหมายเข้าไปพูดคุยนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ว่าจ้างหรือผู้ใช้อาคาร แล้วนำเอาข้อมูลที่ได้มาพัฒนาแบบต่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่นวิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบ เป็นต้น
  • เมื่อแบบลงตัวเรียบร้อย จึงทำการเขียนแบบเพื่อสื่อสารกับผู้รับเหมาก่อสร้าง
  • เมื่อการก่อสร้างเริ่มต้นขึ้น สถาปนิกจะต้องไปตรวจหน้างานเป็นครั้งคราวเพื่อให้แน่ใจว่าอาคารออกมาตามความที่ออกแบบไว้
  1. Structural engineer วิศวกรโครงสร้าง
  2. Mechanical engineer วิศวกรงานระบบ
  3. Project manager ผู้จัดการโครงการ
  4. Construction manager ผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง
  5. Contractor ผู้รับเหมาก่อสร้าง
  • สถานที่ทำงานของสถาปนิกที่สังกัดบริษัท จะมีออฟฟิศของสำนักงาน เดินทางไปประชุมกับลูกค้า และไปไซท์ก่อสร้าง
  • หากสังกัดบริษัท ปกติจะมีเวลาทำงานประมาณ 8 – 9 ชั่วโมง/วัน เช่น 09.30 – 18.30น. (อาจมีการทำงานล่วงเวลาในกรณีที่ต้องเร่งปิดงาน)
  1. มีใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก
  2. มีทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูดคุยกับลูกค้า ผู้ใช้งานอาคาร สามารถสื่อสารความตั้งใจของสถาปนิกผ่านแบบเพื่อเป็นแนวทางและข้อมูลสำหรับการก่อสร้างอาคาร
  3. มีทักษะการวาดภาพด้วยมือเพื่อนำความคิดในหัวลงมาในกระดาษได้อย่างรวดเร็ว
  4. มีทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์
  5. มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการออกแบบและผลิตแบบ 
  6. เป็นคนช่างสังเกต ชอบตั้งคำถาม รอบคอบ ใส่ใจในรายละเอียด
  • โอกาสที่สถาปนิกจะได้รับจากการทำอาชีพนี้ เช่น 
    – ได้ร่วมงานกับผู้คนในสายอาชีพอื่นๆ ทั้งวิศวกรสาขาต่างๆ คนขายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
    – มีโอกาสได้ไปเที่ยว ทำความรู้จักพื้นที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างต่างๆ ได้เห็นการใช้ชีวิตในพื้นที่และรูปแบบที่หลากหลาย
    – ได้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตทางกายภาพของผู้คน ชุมชน เมือง ผ่านการออกแบบ
  • ความท้าทายในอาชีพ คือ 
    – การหาสมดุลในงาน เนื่องจากงานออกแบบเป็นงานที่กำหนดตารางงานแน่นอนได้ยาก ไม่สามารถกำหนดแน่ชัดได้ว่าจะคิดไอเดียออกแบบได้เมื่อไร หรือต้องเจออุปสรรคและข้อจำกัดด้านใดบ้าง จึงมีโอกาสสูงที่สถาปนิกจะต้องใช้เวลากับงานเยอะเป็นพิเศษ หากจัดการบริหารเวลาไม่ดีอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและเกิดความเครียดได้
    – เรื่องที่หลายคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพนี้ คือ จริงๆ แล้วสถาปนิกมีหน้าที่ออกแบบและผลิตแบบให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสร้างตาม ไม่ได้มีหน้าที่ก่อสร้างหรือควบคุมงานก่อสร้าง
  • ผลตอบแทนของสถาปนิก จะมีในรูปแบบเงินเดือนและสวัสดิการ ขึ้นอยู่กับนโยบายและข้อตกลงของบริษัทที่สังกัด โดยเงินเดือนระดับจูเนียร์ อาจเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป หากเป็นสถาปนิกฟรีแลนซ์จะได้รับค่าตอบแทนรายโปรเจกต์ตามที่ตกลงกับผู้ว่าจ้าง

แนะนำให้ดูคลิปวิดีโอการบรรยายของสถาปนิกท่านต่างๆ ผ่าน Youtube ของมหาวิทยาลัย เช่น

     – Harvard Graduate School of Design (Harvard GSD) https://www.youtube.com/@TheHarvardGSD

     – Columbia University Graduate School of Architecture (Columbia Gsapp) https://www.youtube.com/@columbiagsapp

     – The Architectural Association School of Architecture (AA School of Architecture) https://www.youtube.com/@AASchoolArchitecture


 

2. หาหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามที่สนใจ เช่น หนังสือด้านงานออกแบบที่รวบรวมผลงานที่น่าสนใจให้ศึกษาค้นคว้า

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • บางสถาบันเปิดรับวุฒิ 
    (ปวช.) สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ช่างก่อสร้าง
    (ปวช.) ประเภทช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า
    (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม/ ช่างก่อสร้าง
    (ปวส.) ช่างเทคนิคสถาปัตยกกรม


 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม
  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม

 

ปริญญาโท เช่น

  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567