นักโบราณคดี

BRAND'S BRAIN CAMP

นักโบราณคดี

ผู้ที่ศึกษาการใช้ชีวิตในอดีตของมนุษย์ในทุกมิติ

Archaeologist_pana_9443e33214
  • ศึกษา รักษา อนุรักษ์แหล่งโบราณคดี หรือโบราณสถาน
  • สำรวจ ขุดค้น แหล่งโบราณคดีเพื่อค้นหาโบราณวัตถุ
  • วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต
  • อาจทำงานอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความ หรือเป็นมัคคุเทศก์ เป็นต้น

การทำงานของนักโบราณคดีที่ทำงานในสังกัดกรมศิลปากร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนทำงานในออฟฟิศและในส่วนลงพื้นที่ขุดค้นสำรวจ ซึ่งนักโบราณดคีแต่ละคนอาจมีสัดส่วนการทำงานในออฟฟิศและพื้นที่ขุดค้นสำรวจแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

  • รับมอบหมายงานที่ต้องทำ เช่น ได้โจทย์เป็นการศึกษาวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นต้น
  • เตรียมข้อมูล ทบทวนวรรณกรรม สืบค้นข้อมูลในอดีตที่มี
  • เตรียมการสำรวจ ว่าจะสำรวจอะไร เตรียมข้อมูล แผนที่ ดูพื้นที่ก่อนลงสำรวจขุดค้นจริง ๆ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์จุดขุดค้นที่เหมาะสม
  • ลงทำงานในภาคสนามเพื่อขุดค้น และทำงานในส่วนเก็บข้อมูลชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์ พูดคุย และคลุกคลีกับคนในชุมชน
  • ในการขุดค้นสำรวจตามวิธีต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลหลักฐาน และชิ้นส่วนโบราณวัตถุ บางทีอาจขุดไม่จบใน 1 ฤดูกาลขุดค้น อาจต้องกลบรักษาไว้หรือให้ชุมชนช่วยดูแล กลับมาทำรายงานแล้วกลับไปขุดค้นเพิ่มในฤดูกาลต่อไป
  • นำเอาโบราณวัตถุมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ว่าคืออะไร เช่น วิเคราะห์ว่าลูกกลม ๆ ที่ขุดพบ คือ ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา หรือเครื่องมืออะไร เป็นต้น
  • วิเคราะห์และเขียนเป็นรายงานการขุดค้นทางโบราณคดี

นักโบราณคดีเป็นอาชีพที่ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ต้องประสานงานกับคนมากมาย หลากหลายอาชีพ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบกันเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมของคน โดยอาชีพต่าง ๆ ที่นักโบราณคดีอาจร่วมงานด้วยมีดังนี้

  1. นักสัตววิทยา เพื่อขอความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลของกระดูกสัตว์ที่ขุดค้นพบ
  2. นักธรณีวิทยา เพื่อช่วยวิเคราะห์ดิน ประเมินอายุหินเบื้องต้น
  3. นักฟิสิกส์ นักเคมี เพื่อหาองค์ประกอบของลูกปัด หรือวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในโบราณวัตถุ
  4. นักพันธุศาสตร์ หรือนักชีววิทยา เพื่อตรวจสอบสารพันธุกรรม (DNA) ของมนุษย์
  5. ชาวบ้านและผู้คนในชุมชน

สถานที่และเวลาทำงานขึ้นอยู่ว่าสังกัดหน่วยงานใด และเป็นช่วงเวลาที่ทำงานส่วนใดอยู่ ตัวอย่างสถานที่และเวลาทำงานของนักโบราณคดีสังกัดหน่วยงานต่าง ๆ เช่น

  • สังกัดกรมศิลปากร โดยสำนักโบราณคดีส่วนกลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีสำนักศิลปากรประจำอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ 12 สำนัก ได้แก่ ราชบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา ลพบุรี สุโขทัย
    • หากอยู่ในช่วงลงพื้นที่ขุดค้นสำรวจ ก็จะทำงานอยู่ที่ตำแหน่งขุดค้นทั้งวัน ไม่มีเวลากำหนดตายตัว อาจขุดตั้งแต่เช้าถึงเย็นและวิเคราะห์ต่อถึงดึกดื่น (หากเป็นนักโบราณคดีใต้น้ำ เมื่อถึงช่วงเวลาลงพื้นที่สำรวจ สถานที่ทำงานจะเป็นใต้น้ำ)
    • เมื่อขุดได้โบราณวัตถุขึ้นมาแล้ว สถานที่ทำงานจะเป็นห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์โบราณวัตถุ
    • หากทำงานเอกสาร หรืองานเขียนรายงาน อาจทำงานที่ออฟฟิศ ช่วงเวลาทำงานปกติ ประมาณ 8:00-17:00 น.
  • สังกัดบริษัทเอกชน ทำงานประจำที่บริษัท หรือรับจ้างเป็นโปรเจค ๆ อาจไม่มีออฟฟิศตายตัว และเวลาทำงานเฉลี่ยต่อวันหากไม่ได้ไปขุดค้น มักเป็นช่วงเวลา 8:00-17:00 น.
  • มีความรู้ทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์
  • ทุกคนสามารถเป็นนักโบราณคดีได้ อาจเป็นนักโบราณคดีสมัครเล่น นักโบราณคดีท้องถิ่น แต่นักโบราณคดีจริง ๆ ต้องรู้วิธีขุดค้น รู้จักโบราณวัตถุ
  • สิ่งสำคัญของการประกอบอาชีพนี้ คือ ต้องมีใจรัก มีแรงบันดาลใจ ต้องสนใจอดีต มีความสงสัย อยากรู้ความเป็นมาของคน ที่มาที่ไป ทำไมเกิดเป็นแบบนี้ มีวิวัฒนาการแบบนี้ได้อย่างไร เป็นทั้งงานด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ
  • ใจรัก อยากอนุรักษ์ความเป็นรากเหง้าของตัวเอง
  • พร้อมที่จะศึกษาเกี่ยวกับคน เกี่ยวกับมนุษย์ในอดีต ไม่ใช่แค่ชอบของเก่า
  • มีความอยากรู้อยากเห็น มีข้อสงสัย ตั้งคำถามตลอดเวลาว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมคนจึงมาอยู่ที่ตรงนี้
  • ช่างสังเกต เกิดเป็นคำถามที่สร้างสรรค์ เช่น หินอะไร มีคราบเลือดไหม มีการซ่อมหรือเปล่า
  • คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น เชื่อมโยงข้อมูลได้ 
  • สืบค้นหลักฐานเป็น และสามารถเรียบเรียงพร้อมที่จะสื่อสารเล่าให้ผู้อื่นได้ทราบต่อ
  • มีความใฝ่รู้ อ่านค้นคว้าเพิ่มเติม ทักษะภาษาอังกฤษต้องดี เพราะมีความรู้มากมายที่เป็นภาษาอังกฤษ รักการอ่าน
  • พร้อมเปิดใจรับฟังความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่น เพราะอดีตเป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้ชัด ยังไม่แน่ว่าใครถูกหรือผิด ไม่มีใครเกิดทัน 
  • มีความซื่อสัตย์ มีจิตใจอนุรักษ์ เมื่อค้นพบโบราณวัตถุต้องไม่เก็บเอาไว้เอง ไม่นำไปขาย หรือไม่สื่อสารให้ข้อมูลที่คิดขึ้นเองโดยไม่ผ่านการวิเคราะห์หาหลักฐานที่เพียงพอ เพราะเป็นการบิดเบือนภาพประวัติศาสตร์
  • ไม่ดูถูกวิชาชีพตนเอง มีจิตวิญญาณนักโบราณคดี ที่คอยดูแลโบราณวัตถุที่นับเป็นทรัพย์สมบัติของโลก
  • เรียนจบโบราณคดีแล้วสามารถทำงานเป็นนักโบรารณคดีสังกัดกรมศิลปากร ตำแหน่งและการทำงานเป็นเหมือนข้าราชการทั่วไป โดยตำแหน่งในเส้นทางสายอาชีพอาจเป็นดังนี้
    • นักโบรารณคดีปฏิบัติการ / นักโบรารณคดีชำนาญการ / นักโบรารณคดีชำนาญการพิเศษ 
    • หลังจากนั้นจะแยกสายงานออกเป็นสองทางคือ
      • สายวิชาการ เป็นนักวิชาการทรงคุณวุฒิ
      • สายบริหาร เป็นผู้อำนวนการสำนัก เป็นรองอธิบดีและอธิบดีกรมศิลปากร
  • เงินเดือนข้าราชการ เริ่มต้นงานด้วยวุฒิปริญญาตรี ประมาณ 17,000-18,000 บาท ปริญญาโทประมาณ 20,000 บาท โดยมีเบี้ยเลี้ยงให้เวลาลงพื้นที่ มีค่าตอบแทนในการทำวิจัย
  • เงินเดือนบริษัทเอกชนขึ้นอยู่กับความยากของงาน เงินเดือนเริ่มต้นงานด้วยวุฒิปริญญาตรี ประมาณ 15,000-20,000 บาท หรืออาจเป็นงานเหมาเป็นโปรเจค เช่น โปรเจคละ 300,000 บาท เป็นต้น โดยเรทค่าตอบแทนยังไม่เป็นมาตรฐานชัดเจน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน
  • เป็นอาชีพที่ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ แต่มีชมรมนักโบราณคดี สามารถประกอบอาชีพนี้ไปได้จนอายุหกสิบ หรือเกษียณราชการ
  • หากไม่ได้เลือกประกอบอาชีพโบราณคดี อาจสามารถเลือกประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น
    • มัคคุเทศก์ เพราะได้เรียนและศึกษาเกี่ยวกับแหล่งวฒนธรรม มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ สามารถพาชมแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานได้
    • นักเขียน สร้างสรรค์งานเขียน ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ คอลัมนิสต์
    • นักอักษรศาสตร์ ทำงานที่สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
    • ครูอาจารย์ สอนเรื่องวัฒนธรรม สังคม
    • ภัณฑารักษ์ ทำงานในพิพิธภัณฑ์
    • นักวิชาการ
    • เปิดบริษัทรับขุดค้นสำรวจเป็นของตนเอง
  • ปัญหาและความเสี่ยงของอาชีพนักโบรารณคดี เช่น
    • ความปลอดภัยเมื่อออกไปสำรวจ เช่น ไปป่าเขา การเข้าไปในพื้นที่ หรือการต้องไปทำงานใต้น้ำ
    • ความเครียด จากการทำงานหรือเรื่องส่วนตัว
    • การเสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียง หากให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือการตอบโต้ที่ไม่เหมาะสม
  • ช่วงโรคระบาด สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติ เช่น ฝน พายุ ส่งผลกระทบกับอาชีพนักโบราณคดี ทำให้ออกภาคสนามเพื่อไปขุดค้นไม่ได้ บางงานต้องเลื่อนการขุดค้นออกไป
  • เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การทำงานโบราณคดีง่ายขึ้น เช่น นักโบราณคดีบางคนใช้ดาวเทียม อากาศยานไร้คนขับ (Drone) หรือเครื่องสแกน มาใช้ในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ชั้นดิน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพเขียนสี เป็นต้น
  • ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจมีส่วนช่วยในการทำงานมากกว่าทำงานแทนนักโบราณคดีทั้งหมด เช่น มาช่วยขุดค้น หรืออ่านจารึก เป็นต้น แต่น่าจะต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะต้องสร้างฐานข้อมูลที่เยอะมาก AI จึงจะสามารถอ่านได้
  • มีโอกาสร่วมงานกับนักโบราณคดีต่างชาติมาก ในการทำงานมักต้องประสานงานติดต่อกับต่างประเทศ เปรียบเทียบวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพราะข้อมูลระหว่างวัฒนธรรมบางข้อมูลสามารถเชื่อมกันได้ มีความร่วมสมัยกัน 

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Website

https://www.su.ac.th/th/faculty-archaeology.php

Facebook

https://www.facebook.com/คณะโบราณคดี-มหาวิทยาลัยศิลปากร-249520425063208/

Youtube

https://www.youtube.com/@archaeovativesilpakorn2335/videos

 

True ปลูกปัญญา

Website

https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/22045

Youtube

https://www.youtube.com/watch?v=p7q1LZkhCQ0
 

เว็บไซท์ของ ศ.ดร. รัศมี ชูคงเดช

https://rasmishoocongdej.com/

 

รายการสารคดี รากสุวรรณภูมิ Thai PBS

สารคดีนำเสนอเรื่องราวของนักโบราณคดี วิถี และวัฒนธรรม บริเวณดินแดนไทยปัจจุบันในอดีต

https://www.thaipbs.or.th/program/RakSuvarnabhumi

 

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

Website

https://www.finearts.go.th/main

Facebook

https://www.facebook.com/FineArtsDept

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา

 

ปริญญาตรี

  • คณะโบราณคดี

*ข้อมูล ณ ปี 2567