ครีเอทีฟโฆษณา

BRAND'S BRAIN CAMP

ครีเอทีฟโฆษณา

ผู้ออกแบบการสื่อสารในรูปแบบโฆษณา ให้ผู้รับชมเกิดความสนใจและต้องการสินค้า บริการ หรือลงมือทำอะไรบางอย่างตามที่ทำการโฆษณาออกไป

Creative_thinking_pana_783f4fb963
  • ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและสินค้าบริการที่ผู้ว่าจ้างกำหนด เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานให้ตอบโจทย์ทั้งด้านการขายและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ภาพรวมขั้นตอนการทำงานแต่ละโปรเจกต์ อาจสรุปได้ ดังนี้

  1. รับงาน หรือรับบรีฟ (Brief) งานจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง เช่น ลูกค้าอยากขายอะไร ลูกค้าต้องการอะไรบ้าง เป้าหมายของงานคืออะไร ระยะเวลาในการทำงาน งบประมาณ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการทำงานมีอะไรบ้าง
  2. นำข้อมูลที่ได้รับบรีฟมาตีความว่าสินค้านี้ดีอย่างไร มีข้อแตกต่างหรือจุดเด่นที่จากสินค้าบริการยี่ห้ออื่นหรือบริษัทอื่นอย่างไร ควรต้องสื่อสารออกไปอย่างไร เป็นต้น
  3. วางแผนกลยุทธ์ ซึ่งจะสัมพันธ์ข้อมูลที่มี เพื่อดูว่าจะทำโฆษณาออกมาอย่างไร ให้สามารถตอบเป้าหมายที่วางไว้
  4. คิดงาน ใส่รายละเอียดว่าจะใช้วิธีการใดเพื่อให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมกับโฆษณา เช่น ใส่อารมณ์ขัน ใช้มุกตลก ใส่ความเกินจริงหลุดโลก นำเสนอความเข้าใจมนุษย์ แล้วสื่อสารออกไปให้ผู้ชมรู้สึกว่าโฆษณาเรื่องนี้น่าสนใจ ชวนติดตาม 
  5. นำเสนองานกับลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง ปรับแก้งานตามคอมเมนท์ที่ได้ จนได้รับอนุมัติให้ดำเนินการผลิตโฆษณาต่อ
  6. ติดตามผล ทั้งการผลิตชิ้นงานโฆษณา และผลตอบรับเมื่อเผยแพร่โฆษณา เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้นต่อไป
  1. ผู้ว่าจ้าง ซึ่งอาจมีหลากหลายอาชีพ จากหลากหลายองค์กร
  2. คนวางกลยุทธ์ (Planner) ผู้ออกแบบว่างานควรจะไปในทิศทางไหน มีตารางการทำงานอย่างไร ทำหน้าที่คอยช่วยดูแลควบคุมการทำงานและรายงานความคืบหน้ากับลูกค้า
  3. ฝ่ายบริหารงานลูกค้า (Account Executive – AE) ผู้ประสานงานระหว่างครีเอทีฟ คนวางกลยุทธ์ (Planner) และลูกค้า
  4. ก็อปปี้ไรต์เตอร์ (Copywriter)
  5. ผู้กำกับศิลป์ (Art Director) 
  6. โปรดิวเซอร์ (Producer) ผู้เอาสิ่งที่เราคิดมาทำให้เกิดขึ้นจริงเป็นชิ้นงานโฆษณา
  • ครีเอทีฟโฆษณาสามารถสังกัดทำงานได้หลากหลายองค์กร ทั้งในบริษัทโฆษณา เป็นครีเอทีฟในฝ่ายทำหนังภาพยนตร์ เป็นครีเอทีฟในบริษัทที่ทำหนังสือ ฯลฯ
  • การทำงานของอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับความคิดของเราและความเร่งรีบของงาน บางงานอาจจะทำวันละนิด หรือกลับกันอาจจะต้องอดหลับอดนอนหลายวันก็เป็นไปได้ เรียกได้ว่าตารางงานสะเปะสะปะมากบางวันสบายแต่บางวันก็ต้องพร้อมรับกับตารางเวลาการทำงานที่มันโหดร้าย เช่น 1-2 วันติด
  1. อบเรียนรู้ เปิดหูเปิดตา มีคลังข้อมูลและไอเดียสะสมไว้อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยการอ่าน ฟัง สืบค้น พบเจอพูดคุยกับผู้คน
  2. มีความรู้ด้านการตลาด กลยุทธ์การตลาด ที่เป็นประโยชน์ต่อการคิดงานที่หวังผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  3. มีความสามารถในการสื่อสาร การนำเสนอและการพูดโน้มน้าว 
  4. พกปากกากับสมุด หรืออุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูลและไอเดีย ติดตัวเสมอ เพื่อให้สามารถบันทึกเรื่องสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ในการใช้ทำงานได้
  5. สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันสูงได้ เพราะจะได้รับความคาดหวังจากลูกค้าผู้ว่าจ้าง ให้ต้องคิดไอเดียที่มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการของแบรนด์และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ในงบประมาณ เวลา และทรัพยากรที่จำกัด
  • ในวงการโฆษณา การเข้ามาทำงานเป็นครีเอทีฟใหม่จะสามารถเลือกได้สองสายคือ Copywriter (คิดตัวอักษร ภาษาพูด คำโปรย tag line เป็นต้น) และ Art Director (คิดไอเดียภาพ การนำเสนอเป็นภาพโดยร่างเป็นรูปๆ เป็นฉากๆ ขึ้นมาก่อน) สองอย่างนี้เรียกรวมกันว่าครีเอทีฟ
  • เมื่อทำงานจนมีประสบการณ์มากขึ้นและได้เป็น Group Head ซึ่งสามารถแยกเดี่ยวมาสร้างทีมตัวเองได้ และเลื่อนขึ้นมาเป็น Creative Director (CD) ที่ดูแล Group Head อีกทอดหนึ่ง และเลื่อนไปเป็น Executive Creative Director (ECD) ที่นับว่าเป็นจุดสูงสุด คอยดูแลเป้าหมายของโฆษณา ดูแลทุกอย่างโดย ECD จะมี CD กี่คนก็ได้
  1. การศึกษาตัวอย่างจากงานประกวดรางวัลต่างๆ เช่น Cannes Film Festival, BAD Award 
  2. การศึกษาตัวอย่างจากงาน Print Ads โฆษณาโปสเตอร์ หรือพวกโฆษณาในหน้านิตยสาร เช่น adsoftheworld.com

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวณ
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
  • คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ 
  • คณะการสื่อสารมวลชน สาขาการผลิตสื่อสร้างสรรค์ 
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม หลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล วิชาเอกการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล (หลักสูตร 2 ภาษา) 
  • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 
  • สำนักสารสนเทศศาสตร์ สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ
  • คณะสื่อสารดิจิทัล สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัล 

 

ปริญญาโท เช่น

จบ ป.ตรีสาขาทุกสาขา แต่ต้องศึกษาเกี่ยวกับทักษะภาษาต่างประเทศ การตลาด วงการโฆษณา การใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมสินค้า ฝึกวิเคราะห์สินค้าเพิ่มเติม และหาเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเองเพิ่มเติม

  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
  • คณะวิจิตรศิลป์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสื่อและนวัตกรรมสื่อสาร) วิชาเอกภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล 
  • คณะมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร 
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ 
  • คณะวิทยาการจัดการ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • คณะวิจิตรศิลป์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ 
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต 
  • คณะวิทยาการจัดการ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์เชิงกลยุทธ์ 
  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาดดิจิทัล

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567