วิศวกรหุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ

BRAND'S BRAIN CAMP

วิศวกรหุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ

ผู้ที่ออกแบบ วิจัย พัฒนา และดำเนินการสร้างหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติต่าง ๆ โดยบูรณาการความรู้จากหลายสาขาวิศวกรรมเข้าด้วยกัน

วิศวกรหุ่นยนต์เเละระบบอัตโนมัติ
  • รับโจทย์และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า รับฟังโจทย์จากลูกค้าเพื่อเข้าใจปัญหา เป้าหมาย และข้อจำกัดของระบบที่ต้องการพัฒนา
  • ค้นคว้าวิธีการ อุปกรณ์ และเครื่องมือ ศึกษาวิธีใช้งานบอร์ดควบคุม ซอฟต์แวร์ภาษาคอมพิวเตอร์ และไลบรารีต่าง ๆ ที่เหมาะกับระบบที่ออกแบบ
  • สร้างระบบหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ วางโครงสร้างระบบ ทำแปลนเบื้องต้น และกำหนดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ เช่น เซนเซอร์ แขนกล หรือแผงวงจร ออกแบบวงจรไฟฟ้า รวมถึงเขียนโปรแกรมและพัฒนาแผงวงจร เขียนโค้ดควบคุมระบบให้ทำงานตามลำดับขั้น 
  • ทดสอบและปรับปรุงระบบ ทดลองใช้จริง ตรวจสอบข้อบกพร่อง วิเคราะห์ปัญหา และปรับปรุงจนระบบทำงานได้ตามเป้าหมาย
  • ส่งมอบระบบและอบรมลูกค้า เดินทางไปติดตั้งหน้างาน อธิบายการใช้งาน และสอนการดูแลรักษาเบื้องต้นให้แก่ผู้ใช้งาน
  1. รับฟังและวิเคราะห์ความต้องการจากลูกค้า ประชุมพูดคุยกับลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจปัญหา วัตถุประสงค์ และสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจากระบบที่พัฒนา
  2. แปลงความต้องการเป็นโจทย์ทางวิศวกรรม ถอดความต้องการให้อยู่ในรูปแบบที่วิศวกรใช้ได้ เช่น ฟังก์ชันการทำงาน ค่าทางเทคนิค ข้อจำกัดของพื้นที่ งบประมาณ หรือระยะเวลา
  3. ออกแบบแนวทางแก้ไขเบื้องต้น ค้นคว้าแนวทางการทำงานของหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ เพื่อร่างแนวทางการแก้ไขทางเทคนิคออกมาหลายแบบ พร้อมวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ความเป็นไปได้ ต้นทุน และทรัพยากรที่ต้องใช้ของแต่ละแบบ
  4. นำเสนอและเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด ประชุมร่วมกับลูกค้าและทีมพัฒนา เพื่อเลือกแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมที่สุดทั้งเชิงเทคนิคและงบประมาณ
  5. ศึกษาและเตรียมความพร้อม ค้นคว้าอุปกรณ์ โค้ด ซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้ใน solution ที่เลือก
  6. พัฒนาโปรแกรมและวงจรไฟฟ้า เขียนโค้ดควบคุม, ออกแบบแผงวงจร, ประกอบระบบให้เชื่อมโยงกันได้กับระบบกลไก
  7. รวมระบบทุกส่วนเข้าด้วยกัน ประกอบระบบไฟฟ้า ซอฟต์แวร์ และชิ้นส่วนกลไก ให้สามารถทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติ
  8. ทดสอบและแก้ไข ทดลองการทำงานทั้งระบบ ปรับแก้ข้อผิดพลาดจนได้ผลลัพธ์ที่เสถียรและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
  9. จัดทำคู่มือและเอกสารการใช้งาน เขียนคู่มือการใช้งานและวิธีดูแลรักษาสำหรับส่งมอบแก่ลูกค้า
  10. ติดตั้งและอบรมลูกค้า นำระบบไปติดตั้งที่สถานที่จริง พร้อมสอนวิธีใช้งานและดูแลระบบให้แก่ผู้ใช้งาน
  1. วิศวกรเครื่องกล
  2. วิศวกรซอร์ฟเเวร์
  3. นักวิจัยด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์
  4. ช่างสาขาต่างๆ เช่น ช่างเหล็ก ช่างไฟฟ้า ช่างกลึง ช่างติดตั้ง เป็นต้น
  5. นักการตลาดหรือ AE
  • สถานที่ทำงาน สำนักงานของบริษัทที่พัฒนาระบบอัตโนมัติ หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบหุ่นยนต์ที่เป็นหน้างานของลูกค้า เช่น สายการผลิตในโรงงาน หรือคลังสินค้า เป็นต้น
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานโดยทั่วไปคือ 9.00 – 18.00 น. จันทร์-ศุกร์ แต่หากมีกรณีเร่งด่วนหรือมีติดตั้งนอกสถานที่ อาจต้องทำล่วงเวลาและเสาร์-อาทิตย์ 
  1. ความรู้ทางฟิสิกส์ เข้าใจหลักการพื้นฐานด้านไฟฟ้า กลศาสตร์ การเคลื่อนที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้กับการออกแบบหุ่นยนต์ที่แม่นยำและปลอดภัย
  2. ความรู้ทางวิศวกรรม มีความรู้ด้านการออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมหุ่นยนต์ กลไกการเคลื่อนไหว และเทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ
  3. ความรู้ด้านโปรแกรมและซอฟต์แวร์ ใช้ภาษาเขียนโปรแกรม เช่น C, C++, Python และเครื่องมือสำหรับควบคุมหุ่นยนต์ เช่น Arduino, ROS หรือโปรแกรมจำลองการทำงาน
  4. ทักษะในการออกแบบวิศวกรรม ออกแบบระบบให้เหมาะสมกับข้อจำกัดทางเทคนิคและงบประมาณ เช่น เขียนแปลนระบบกลไก ไฟฟ้า และซอฟต์แวร์ให้ทำงานประสานกัน
  5. ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา คิดค้นวิธีใหม่ในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ยังไม่เคยมีมาก่อน พร้อมออกแบบระบบที่แตกต่างและสร้างประโยชน์ได้จริง
  6. ทักษะบริหารจัดการโครงการ วางแผนงานให้เสร็จตามกรอบเวลาและงบประมาณ กำหนดลำดับขั้นตอน และประสานงานกับทีมงานหลายฝ่าย
  • ผลตอบแทน 
    • เงินเดือนเริ่มต้น ประมาณ 25,000 – 35,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับบริษัทและทักษะ)
    • ระดับกลาง (Senior Engineer) ประมาณ 40,000 – 70,000 บาท/เดือน
    • หากทำฟรีแลนซ์หรือเจ้าของบริษัท: รายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับขนาดโปรเจกต์ (หลักแสน–ล้านบาท/โปรเจกต์)
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์เเละระบบอัตโนมัติ
    • เติบโตเป็นหัวหน้าวิศวกร (Lead Engineer), ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) หรือ ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) 
    • สามารถทำงานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร ยานยนต์ โลจิสติกส์ โรงพยาบาล เป็นต้น
    • เทรนด์ Smart Factory และ Industry 4.0 ทำให้อาชีพนี้มีความต้องการสูงในอนาคต
  • ความท้าทายของอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์เเละระบบอัตโนมัติ
    • ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดเวลา คอยอัปเดตกระแส องค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยเเละต่างประเทศ เช่น IoT, AI, Edge Computing
    • การพัฒนาระบบหนึ่งมีความท้าทายสูง ต้องทดสอบและปรับปรุงหลายครั้ง โดยระหว่างทางมักพบเจอปัญหาทั้งจากตัวงานเองและจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น 
    • ต้องอธิบายสิ่งซับซ้อนให้คนไม่ใช่สายเทคนิคเข้าใจ เช่น ลูกค้าหรือผู้ใช้ทั่วไป
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์เเละระบบอัตโนมัติ
  • พี่ต้นแบบอาชีพอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์เเละระบบอัตโนมัติ [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2568]